แม่หลังคลอด ต้องได้รับการคนดูแลเป็นพิเศษทั้งเรื่องร่างกายและอารมณ์

รู้ไหม “แม่หลังคลอด” ต้องได้รับการคนดูแลเป็นพิเศษทั้งเรื่องร่างกายและอารมณ์

Alternative Textaccount_circle
event

นอกจากนี้ ผู้หญิงหลังคลอดอาจมีภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด
มาดูกันว่าเป็นอย่างไร?

โดยทั่วไปผู้หญิงหลังคลอดใหม่ๆ ภายในสัปดาห์แรก อาจมีอาการร้องไห้ง่าย อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด หรือวิตกกังวล ซึ่งพบได้ราว 85% ของผู้หญิงหลังคลอด ภาวะนี้จะเรียกว่า ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum Blues) โดยภาวะนี้จะเป็นอยู่เพียงชั่วคราวและมักดีขึ้นได้เองในเวลาไม่เกิน 2 สัปดาห์

อารมณ์เศร้าหลังคลอดเกิดจากอะไร?

ในปัจจุบันยังไม่มีการอธิบายสาเหตุที่แน่นอนของภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด(Postpartum Blues)ว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรนอย่างมากในช่วงหลังคลอด ซึ่งภาวะนี้จำเป็นต้องแยกจากโรคซึมเศร้าที่เกิดหลังคลอด (Postpartum Depression) ซึ่งเป็นโรคที่รุนแรงกว่าและส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงดูทารกอย่างมาก และมีผลต่อพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของทารก

shutterstock_360504917
อารมณ์เศร้าหลังคลอดจัดว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่? 

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด (Postpartum Blues)จัดว่าเป็นปัญหาสุขภาพจิตจากปรับตัว ที่ยังไม่ถึงขั้นจะจัดว่าป่วยจะมีแค่อาการอารมณ์แปรปรวน ร้องไห้ง่ายขึ้น หงุดหงิด วิตกกังวลเล็กน้อย หรือนอนหลับยากขึ้นเท่านั้นโดยอาการจะเกิดขึ้นตั้งแต่วันแรกๆหลังคลอด และจะสามารถดีขึ้นได้เองภายในเวลาไม่เกิน2 สัปดาห์
แต่ถ้าเป็นโรคซึมเศร้าที่เกิดหลังคลอด (Postpartum Depression) ที่จัดว่าเป็นความป่วยจะมีอาการที่รุนแรงกว่าและ โดยผู้ป่วยจะมีอารมณ์เศร้าอย่างมาก วิตกกังวลจนเกินเหตุ กลัวว่าจะเกิดอันตรายกับทารก หรือมีอาการย้ำคิดย้ำทำ บางรายถึงขั้นโทษตัวเอง หรือคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ ซึ่งอาการจะเริ่มเกิดช้ากว่าภาวะแรก โดยจะเกิดหลังจากคลอดไปแล้ว 2-4 สัปดาห์
shutterstock_63452323

ภาวะนี้จำเป็นต้องมารักษาหรือไม่ อย่างไร?

ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดนั้นมีอาการไม่รุนแรง และสามารถดีขึ้นได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องได้รับยาต้านเศร้า เพียงแค่ได้รับการปลอบโยนและประคับประคองจิตใจจากคนรอบข้าง โดยเฉพาะ สามี สมาชิกในครอบครัว และเพื่อนๆ ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ส่วนโรคซึมเศร้าที่เกิดหลังคลอดเป็นโรคที่รุนแรงกว่าและไม่สามารถหายได้เอง การปลอบโยนและประคับประคองจิตใจจากคนรอบข้างดังเช่นในภาวะแรกก็ยังจำเป็น แต่ควรต้องได้รับการรักษาโดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และจำเป็นต้องได้รับยาต้านเศร้าร่วมกับทำจิตบำบัด คนรอบข้างต้องช่วยเหลือผู้ป่วยโดยการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของผู้ป่วยในการดูแลทารก งานบ้านและการงานอื่นๆ บ้าง เพราะผู้ป่วยทำอะไรได้ไม่มากนักขณะที่ป่วย
shutterstock_110115233

จะป้องกันและดูแลตนเองได้อย่างไร?

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอด และโรคซึมเศร้าที่เกิดหลังคลอด มีเพียงการศึกษาถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้เท่านั้น โดยพบว่า ถ้าผู้ป่วยเคยมีประวัติโรคซึมเศร้ามาก่อน เคยมีภาวะอารมณ์แปรปรวนในช่วงก่อนมีรอบเดือน เคยมีอารมณ์เศร้าในขณะตั้งครรภ์ หรือเคยมีภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดในครรภ์ก่อนๆ ร่วมกับมีปัญหากับคู่สมรส และมีความเครียดในช่วงตั้งครรภ์ ก็จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้เพิ่มขึ้น

shutterstock_314288354

บทความโดย : กองบรรณาธิการ AMARIN Baby & Kids, เรื่อง “ซึมเศร้าหลังคลอด”จากเว็บไซต์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up