เหลือเชื่อ!! แค่ นวดมดลูก ก็ช่วยลดปวดประจำเดือนได้แล้ว พบกับ 5 ขั้นตอนที่คุณเองก็ทำได้ที่บ้าน
การนวดถือเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แผนตะวันออกตามตำราแพทย์แผนไทย ที่กลายเป็นที่นิยมกันเป็นอย่างมากในสมัยปัจจุบัน เช่นเดียวกับการนวดมดลูก ที่สามารถไปช่วยให้ระบบการไหลเวียนโลหิตที่ไปหล่อเลี้ยงยังมดลูก ท่อรังไข่ และรังไข่ได้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มออกซิเจนในกระแสเลือด ส่งผลให้กล้ามเนื้อมดลูกแข็งแรง และสามารถรองรับตัวอ่อนที่เกิดจากการปฏิสนธิได้เป็นอย่างดี
และแน่นอนค่ะว่า เมื่อการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงนั้นไหลเวียนดีขึ้น ก็จะช่วยส่งผลให้มีลูกง่าย นั่นเองค่ะ ยิ่งไปกว่านั้น ยังช่วยให้มดลูกสามารถบีบไล่เลือดประจำเดือนได้ดี ลดอาการปวดประจำเดือน และขับสารพิษ ของเสียหรือของตกค้างที่มีอยู่ในโพรงมดลูกได้อีกด้วย
ไม่ใช่เท่านั้นนะคะ ประโยชน์ของการนวดลักษณะนี้ยังเป็นการช่วยกระชับมดลูกที่หย่อนยานให้กลับมาอยู่ที่เดิม และแน่นอนค่ะ การนวดนั้น ทำให้เรามีความสุข ช่วยลดความเครียด อาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ และปวดประจำเดือนได้นั่นเอง
อ่านต่อวิธีการนวด >>
วิธีการ “นวดมดลูก” ด้วยตนเอง
1. ให้คุณแม่นำน้ำมันหล่อลื่นมาทาที่หน้าท้อง เพื่อให้การนวดนั้น เป็นไปได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญยังช่วยทำให้ไม่รู้สึกเจ็บอีกด้วย
2. หลังจากนั้นให้นอนหงาย ชันเข่าทั้งสองข้าง ใช้หมอนหนุนส่วนสะโพกให้ยกขึ้น
3. ใช้สองมือประสานกันแล้วกดลงไปที่ท้องน้อยบริเวณชิดกระดูกหัวหน่าว แล้วค่อย ๆ โกยขึ้นมา
4. ใช้ปลายนิ้วของทั้งสองมือกดคลึงบริเวณท้องน้อยและคลึงไปทั่ว ๆ หน้าท้อง
5. กางนิ้วมือทั้งสองข้าง โดยให้นิ้วโป้งซ้ายจรดนิ้วโป้งขวา ใช้นิ้วโป้งทั้งสองกดลงที่ท้องน้อยเหนือหัวหน่าวส่วนนิ้วมือที่เหลือกดลงบนกระดูกอุ้งเชิงกราน ค่อย ๆ ผ่อนแรงกดลง แล้วค่อย ๆ กดลงไปใหม่ตามเดิม
ข้อควรระวังในการนวดจะมีอะไรบ้าง คลิก!
ข้อควรระวัง
1. องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนปัจจุบันอธิบายว่า มดลูกที่มีขนาดปกติคือความกว้าง x ยาว x หนา อยู่ที่ 5 x 7 x 4 เซนติเมตร ไม่สามารถนวดได้ เพราะมีขนาดเล็กและตั้งอยู่ในอุ้งเชิงกรานที่มีกระดูกล้อมรอบ ในกรณีที่ตั้งครรภ์หรือมดลูกโตเพราะมีเนื้องอก จึงไม่ควรนวดเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้แท้งหรือตกเลือดได้
2. ผู้นวดมดลูกควรมีความรู้ว่า บริเวณหน้าท้องที่กำลังนวดมีอวัยวะใดอยู่ข้างใน เช่น ต้องระวังการนวดใต้ชายโครงขวาเพราะมีตับ และใต้ชายโครงซ้ายเพราะมีม้าม ไม่ควรนวดในกรณีที่มีความเจ็บป่วย เช่น เป็นโรคไตอักเสบ โรคตับอักเสบเป็นเนื้องอก เป็นถุงน้ำ ฯลฯ ในบางรายที่มีปัญหาเส้นเลือดแดงใหญ่โป่งพองการนวดตรงกลางท้องอาจทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิต
3. การนวดมดลูกเพื่อลดการปวดประจำเดือน ขณะมีประจำเดือน สามารถทำได้และได้ผลเฉพาะอาการปวดประจำแบบธรรมดาที่ไม่มีโรคเป็นสาเหตุทำให้ปวดประจำเดือนเท่านั้น หากเป็นการปวดประจำเดือนแบบมีโรคเป็นสาเหตุ จะทำให้อาการปวดประจำเดือนเป็นมากกว่าเดิมและอาการของโรคแย่ลงได้
4. ตามเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ การนวดมดลูกไม่สามารถทำให้มีลูกง่ายได้โดยตรง เพราะไม่สามารถแก้ปัจจัยที่ทำให้มีลูกยาก เช่น โพรงมดลูกตีบตันท่อนำไข่ตีบตัน เป็นโรคเนื้องอกมดลูก เป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อสุจิฝ่ายชายไม่แข็งแรงได้ แต่อาจทำให้มีลูกได้ง่ายทางอ้อม คือ ลดความเครียด ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนออกมาดีขึ้น ช่วยให้ไข่ตกดีขึ้น
อ่านต่อข้อควรระวัง >>
5. การนวดมดลูกไม่สามารถแก้ไขปัญหามดลูกต่ำ เพราะไม่สามารถแก้ไขความอ่อนแอของเอ็นพยุงมดลูกหรือกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานที่อ่อนแอ ทั้งนวดไม่ถึงตัวมดลูกที่เคลื่อนลงไปในช่องคลอด
6. โดยทั่วไปไม่ควรนวดมดลูกหลังไข่ตก หากประจำเดือนมาทุก 28 วัน ไม่ควรนวดมดลูกวันที่ 14 - 21 ของประจำเดือน เพราะการนวดที่รุนแรงอาจทำให้ไข่และอสุจิเคลื่อนไหวผิดทิศทาง เกิดปัญหาท้องนอกมดลูกได้
7. การนวดมดลูกที่เรียกว่าการโกยมดลูก เพื่อลดอาการปวดหลัง ปวดท้องน้อย และถ่วงท้องในคนตั้งครรภ์นั้นไม่ควรทำ เพราะอาจจะเกิดการแท้งลูกตกเลือด น้ำคร่ำแตก ทารกคลอดก่อนกำหนด ฯลฯ โอกาสเกิดอันตรายจากการนวดมดลูกจะสูงขึ้น หากเด็กทารกในครรภ์อยู่ในท่าไม่ปกติ เช่น ทารกท่าขวาง ท่าก้น มีภาวะรกเกาะต่ำ มีภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด เป็นต้น
8. สำหรับผู้ที่ให้ผู้อื่นนวดมดลูก ต้องระวังการนวดที่รุนแรงหักโหม หากรู้สึกเจ็บ ซึ่งเป็นการเตือนของร่างกาย ไม่ควรฝืนหรืออดทนเอา ควรบอกผู้นวดให้นวดเบา ๆ หรือหยุดนวดทันที
แต่ถ้าต้องการให้หายปวดประจำเดือนแบบถาวรละก็ คุณแม่ควรปรับอาหารการกิน และหันมารับประทานอาหารชีวจิตหรืออาหารสุขภาพ พร้อมกับออกกำลังกายควบคู่กันไปด้วยนะคะ
เครดิต: คอลัมน์เปิดห้องหมอสูติ นิตยสารชีวจิต และ Good Life Update
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่