AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

วัณโรคกระดูก โรคติดต่อพ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

วัณโรคกระดูก เป็นชื่อที่ฟังแล้ว คุณพ่อ คุณแม่อาจจะยังไม่คุ้นหู เพราะเคยได้ยินแต่วัณโรคปอด แต่จริงๆ แล้วโรคนี้พบได้บ่อยในคนไทย ถึงเวลาที่คุณพ่อ คุณแม่จะต้องเรียนรู้ และทำความรู้จักกับโรคติดต่อชนิดนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยต้องเจ็บป่วย กับโรคอันตรายร้ายแรงนี้กันค่ะ

วัณโรคกระดูก เกิดได้อย่างไร?

โรคนี้เกิดจากเมื่อคนไข้ได้รับเชื้อแบคทีเรีย ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส เข้าไปในปอด เมื่อรับเข้าไปแล้วปอดจะติดเชื้อ ทำให้เกิดเป็นวัณโรคปอด แต่ในบางคนประมาณ 15% เชื้อจะแทรกซึมเข้าไปในกระแสเลือด ลุกลาม ทำให้เกิดอันตรายในอวัยวะส่วนต่างๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง สมอง ไต และกระดูก

เมื่อเชื้อเข้าไปทำลายกระดูก จะเรียกว่าวัณโรคกระดูก เพราะเชื้อจะไปอยู่ที่กระดูกสันหลัง ข้อเข่า ข้อต่อต่างๆ เมื่อนานๆ เข้า เชื้อจะยุบตัว หลังโก่งงอ มีหนอง หรือเศษกระดูกหมอนรองกระดูกเลื่อน เมื่อเข้าสู่ช่องไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทไขสันหลัง และทำให้เป็นอัมพาตที่ขาได้

รู้หรือไม่? วัณโรคกระดูกคือโรคติดต่อ

โรคนี้สามารถถ่ายทอดไปยังผู้อื่นได้ เริ่มจากมีเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ด้วยการสูดละอองเสมหะ ของคนที่เป็นวัณโรคที่ไอ จาม หรือหายใจรดเข้าไป หรืออาจติดต่อจากหนองของผู้ป่วย รวมถึงการดื่มนมวัวดิบๆ จากวัวที่มีเชื้อวัณโรค หรือรับประทานอาหารในภาชนะที่มีเชื้อวัณโรคปนเปื้อน

กลุ่มเสี่ยงวัณโรคกระดูกคือทุกคน?

จริงๆ แล้ววัณโรคกระดูก สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็ก วัยรุ่น ผู้หญิง ผู้ชาย ผู้สูงอายุ มีโอกาสเสี่ยงเท่าๆ กัน แต่คนที่มีความเสี่ยงติดเชื้อได้ง่ายกว่าคือ คนที่ร่างกายไม่แข็งแรง ภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนที่มีภาวะขาดสารอาหาร หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคนี้ หรือโรคเอดส์ ก็จะติดเชื้อได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “สังเกตวัณโรคกระดูกสันหลังก่อนสายเกินไป” คลิกหน้า 2

สังเกตวัณโรคกระดูกสันหลังก่อนสายเกินไป

เมื่อเชื้อวัณโรคลุกลามไปที่ข้อต่อ และกระดูก ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัวเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งจะค่อยเป็นค่อยไป จนกระทั่งผ่านไป 1 เดือน อาการปวดจะเด่นชัด มีไข้ต่ำๆ ตอนเย็นๆ รวมถึงเบื่ออาหาร น้ำหนักลด หลายคนอาจคิดว่าเป็นอาการปวดหลังธรรมดา ถ้าปล่อยไว้นานจะทำให้กระดูกสันหลังโก่งงอ เพราะเชื้อเข้าไปทำลายกระดูก ถ้าเชื้อไปกดทับระบบประสาทจะทำให้ขาชา อุจจาระ ปัสสาวะลำบาก บางคนต่อมน้ำเหลืองโต เดินกะเผลก โรคนี้ส่วนใหญ่เกิดกับกระดูกส่วนเอว ประมาณ 30-50% จะทำให้ปวดหลังมากจนไม่สามารถยืนตรงได้

ในเด็กเล็กอาจตื่นขึ้นมาร้องไห้ตอนกลางคืน เนื่องจากกล้ามเนื้อหย่อน ข้อเสียดสีกัน ทำให้เกิดความเจ็บปวด ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ ข้อสันหลัง ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อข้างกระดูกกระเบนเหน็บ ข้อไหล่ ข้อมือ ตามลำดับ

วินิจฉัยโรค ปวดหลังไม่ใช่อาการธรรมดา

มีผู้ป่วยหลายคนคิดว่าการปวดหลังเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นทั่วไป จึงไม่เอะใจ และไม่ไปพบแพทย์ กว่าจะมาหาคุณหมอ ก็รอจนปวดมากๆ จนร่างกายทนไม่ไหว แขนขาชาอ่อนแรงไปแล้ว แต่ก็เป็นเรื่องยากที่จะบอกว่าตัวเองเป็นโรคนี้หรือไม่ เพราะอาการปวดหลังบ่งบอกได้หลายโรค ถ้าคุณพ่อ คุณแม่พบว่าปวดหลังแล้วรับประทานยา 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ อาการยังไม่ดีขึ้น ควรรีบมาหาคุณหมอเพื่อวินิจฉัยโดยเร็ว

การตรวจวินิจฉัยโรคมี 3 วิธี คือ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “การรักษา และการป้องกันวัณโรคกระดูก” คลิกหน้า 3

การรักษาวัณโรคกระดูก

จุดมุ่งหมายของการรักษาคือการกำจัดเชื้อวัณโรค และป้องกันไม่ให้มีการกดทับระบบประสาท และไม่ให้กระดูกสันหลังผิดรูป ซึ่งในปัจจุบันสามารถรักษาได้ทั้งการผ่าตัด และไม่ผ่าตัด

แพทย์จะใช้วิธีรักษาโดยไม่ผ่าตัดก่อน ถ้ามีอาการไม่มาก โดยการรับประทานยา และต้องรับประทานยาต้านวัณโรค ติดต่อกันประมาณ 1 ปี รวมทั้งพักฟื้น และใส่อุปกรณ์ประคองหลัง หรือเข้าเฝือก ก็จะสามารถกับมาเป็นปกติได้ ที่สำคัญคือต้องไม่หยุดรับประทานยา จนกว่าแพทย์จะสั่งให้หยุด เพราะจะทำให้ดื้อยา และรักษายากในอนาคต

ถ้ารักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือกลับมาเป็นซ้ำ มีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือเป็นอัมพาตจากการกดทับไขสันหลัง หรือมีกระดูกผิดรูปไป มีหนองที่เกิดจากการติดเชื้อขึ้นในบริเวณที่เป็นอันตรายต่อเส้นประสาท แพทย์จะผ่าตัดรักษาเอาหนองออก หรือเอากระดูกที่ติดเชื้อออก แล้วเชื่อมกระดูกสันหลังใหม่ รวมทั้งผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกสันหลัง โดยก่อนการผ่าตัดควรได้รับยาต้านวัณโรคมาไม่น้อยกว่า 4-6 สัปดาห์ หลังจากการผ่าตัดควรให้ส่วนที่เป็นอยู่นิ่ง โดยการดึงถ่วงน้ำหนัก เข้าเฝือก และเริ่มเคลื่อนไหวข้อเมื่อหายปวด คอยสังเกตจนกว่าจะไม่มีไข้ อัตราการนอนก้นของเม็ดเลือดแดงลดลง คอยดูแลต่อไปอีก 3 เดือน จึงจะกลับมาใช้งานได้เต็มที่ แต่ยังต้องรับประทานยาต่อไป 2-3 ปี

การป้องกันวัณโรคกระดูก

เพียงรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน พยายามอยู่ในสถานที่ที่อากาศปลอดโปร่ง เมื่อไอ หรือจาม ควรใช้ผ้า หรือกระดาษปิดปาก เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ทิ้งกระดาษที่ใช้แล้วลงถังขยะให้เรียบร้อย ถ้าในครอบครัวมีผู้ป่วยเป็นวัณโรค ทุกคนในครอบครัวควรไปตรวจสุขภาพเป็นระยะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ สำหรับลูกน้อย คุณพ่อ คุณแม่ ควรพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนบีซีจี เพื่อป้องกันโรคนี้

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

“กระดูกสันหลังคด” ผู้ร้ายทำลายบุคลิกลูกโต

ลูกกระดูกเปราะแต่กำเนิด เพราะแม่ท้องกินอาหารที่มีแต่ผงชูรส จริงหรือ?

เมื่อผ่าตัดแผลเล็กได้…การผ่าตัดกระดูกสันหลังก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่อีกต่อไป

เครดิต: health.kapook.com, www.healthcarethai.com, Siamhealth.net

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save

Save

Save