AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

กลุ่ม 14 โรคยกเว้นที่ไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้

 มีคุณพ่อคุณแม่หลายคนวัยทำงานที่เป็นพนักงานกินเงินเดือน รวมไปถึงผู้ที่ไม่มีครอบครัว กว่า 9 ล้านคนทั่วประเทศ ที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสำนักงานประกันสังคม 5% ของเงินเดือน เพื่อแลกกับการได้รับสิทธิประโยชน์ทางการแพทย์

และแม้ว่าพรบ.ประกันสังคมฉบับใหม่ (ฉบับที่ 4 พ.ศ.2558) จะเพิ่มสิทธิ์ในการรักษาโรคมากขึ้น ค่อนข้างจะครอบคลุมให้กับผู้ประกันตนแล้ว อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากการรักษาพยาบาลซึ่งเรามีสิทธิใช้กองทุนประกันสังคมแล้วนั้น เรารู้หรือไม่ว่า มีโรคบ้างโรค หรือการใช้บริการทางการแพทย์ ทีกองทุนประกันสังคมไม่คุ้มครองซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิได้…ซึ่งโรคและบริการทางการแพทย์ที่ประกันสังคมไม่คุ้มครองจะมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

ข้อควรรู้

สถานพยาบาลต่าง ๆ จะให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาแก่ผู้ประกันตนตามมาตรฐานทางการแพทย์ รวมถึงรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในกรณีที่ทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้บริการได้ และต้องมีการส่งตัวไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่นที่มีศักยภาพสูงกว่า

คือ การที่ผู้ประกันตนได้รับบัตรรับรองสิทธิฯ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

โรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ (กลุ่ม 14 โรคยกเว้น) ดังนี้

  1. โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
  2. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล ประเภทคนไข้ในเกิน 180 วันใน 1 ปี
  3. การบำบัดทดแทนไตกรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น
    – กรณีไตวายเฉียบพลันที่มีระยะเวลารักษาไม่เกิน 60 วัน ให้มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์
    – กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้สิทธิได้รับบริการทางการแพทย์ โดยการบำบัดทดแทนไตด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ด้วยวิธีล้างช่องท้องด้วย น้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนดในประกาศสำนักงานประกันสังคม
  1. การกระทำใดๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
  2. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง
  3. การรักษาภาวะมีบุตรยาก

อ่านต่อ >> โรคและบริการที่ไม่มีสิทธิได้รับบริการทางการแพทย์จากประกันสังคม” ข้อที่ 7-14 คลิกหน้า 2

  1. การตรวจเนื้อ เยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะยกเว้น การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูกของผู้ประกันตน ให้จ่ายค่าตรวจเนื้อเยื่อเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 7,000 บาทต่อราย ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด
  2. การตรวจใดๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น
  3. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น
    (ก)การปลูกถ่ายไขกระดูก ให้ จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 บาทต่อราย แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูก ถ่ายไขกระดูกโดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน กรณีการปลูกถ่ายไขกระดูกตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
    (ข) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 20,000 บาทและให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 5,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
  4. การเปลี่ยนเพศ
  5. การผสมเทียม
  6. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น
  7. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำ เป็น แต่ไม่เกิน 300 บาทต่อครั้ง และไม่เกิน 600 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่าย จริงไม่เกิน 1,500 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี
  8. แว่นตา

ข้อสังเกต

สำหรับผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบในส่วนของกรณีเจ็บป่วยครบตามเงื่อนไขแล้วแต่ยังไม่มีบัตรรับรองสิทธิประกันสังคม สามารถเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ หากประสบอันตรายจากอุบัติเหตุสามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ตามอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยกรณีอุบัติเหตุ  ส่วนการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ สามารถเบิกค่าบริการทางการแพทย์ได้ในอัตราเดียวกับการเจ็บป่วยกรณีฉุกเฉิน

ให้ผู้ประกันตน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง แจ้งสำนักงานประกันสังคมในท้องที่ที่เกิดเหตุทราบทันที เพื่อให้สำนักงานประกันสังคมดังกล่าว กำหนดสถานพยาบาลให้ผู้ประกันตนใช้บริการทางการแพทย์ต่อไป

สิทธิประกันสังคมน่ารู้

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!!!

1 เบิกค่าคลอดประกันสังคม พร้อมขั้นตอนและวิธีการยื่น

2 ทำฟันประกันสังคม เพิ่มวงเงินเป็น 900 บาทต่อปี

3 สิทธิทันตกรรม ที่พ่อแม่ และทุกครอบครัวควรรู้

4 ข่าวดี! สปส. นำร่องทำฟันไม่ต้องสำรองจ่าย เริ่ม 1 ก.ค. วงเงิน 600 บาท

5 เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เรื่องดีๆ ที่พ่อแม่ต้องรู้ 

6 ค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์ ตั้งแต่ฝากครรภ์จนถึงตอนคลอด ต้องจ่ายเท่าไร? 


ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม