AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่แชร์! ลูกสมองติดเชื้อ ตับ-ม้ามโต เพราะป้อนยาเกินขนาด

คุณแม่ท่านหนึ่ง ได้แชร์ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยของเธอ เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคุณแม่ท่านอื่นๆ ระวังอย่า! ป้อนยาเกินขนาด อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตลูก โดยคุณแม่เล่าว่า ลูกน้อยวัย 4 เดือนของเธอมีไข้ เธอจึงป้อนยาลดไข้สำหรับเด็กครั้งละ 1-1.5 ซีซี วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ติดกันประมาณ 4-5 วัน เพื่อให้ไข้ลด แต่หลังจากนั้น กลับเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ดังนี้

“เราจะมาบอกว่า?ถ้าหากลูกไม่สบาย แล้วเราให้ยากินแล้ว ยานั่นคือยาสำหรับเด็กหรือยาอะไรก็ตามแต่ 
เนื่องจากลูกเราไม่สบาย เราก็ให้ยาลูกครั้งล่ะ 1-1.5ซีซี ก็เราอยากให้ลูกหายจากไข้ เราให้วันล่ะ 2 รอบ เช้าเย็น 
ตอนนั้นลูกเรา. 4 เดือน ด้วยความรักความเป็นห่วงของแม่อยากให้ลูกหาย และเราก็ให้ยามาประมาณ 4-5 วัน 
ติดกัน เช้าเย็น. จนลูกไม่มีไข้แล้ว พอ2-3วันมา แค่นั้นแหล่ะคะ วันที่ 14 ธค. 59 ลูกเราร้องเป็นชั่วโมงๆ
เอาใจเท่าไหร่ก็ไม่หยุด เราก็เลยพาไป รพ หมอก็ถามว่าเป็นไรมา เราก็คิดว่าท้องอืด หมอก็สวนก้นให้ ก็ไม่มีอึ 
หมอก็เอาไปเจาะเลือด หมอว่าตัวเหลือง เจาะแล้วก็ไม่มีผลอะไร จนเอาไปเอ็กซเรย์ หมอพบว่า ลูกเราเป็นโรคตับ 
ตับโต ม้ามโต เพราะเกิดจากการที่เราให้ยาลูกเกินขนาด ตอนนี้ก็มีเรื่อง น้ำตาลต่ำ ต่อมไทรอยด์อักเสบ 
และสมองติดเชื้อตามมาอีกเยอะแยะ #สงสารลูกตอนนี้ลูกเราก็ยังอยู่ รพ อยู่เลย เป็นเดือนกว่าแล้ว 
#ฝากถึงคุณแม่ทุกคนนะคะ ถ้าลูกไม่สบาย ให้ยา2-3วันไม่หาย หรือก็นำไปหาหมอนะคะ 
#ผิดกฎบอกนะคะจะได้ลบคะ ฝากแชร์ฝากไลต์ถึงคุณแม่ที่ไม่รู้ด้วยนะคะ”

 

ขอขอบคุณคุณแม่ ที่แบ่งปันเรื่องราวอุทาหรณ์เตือนใจคุณแม่ท่านอื่นๆ ในครั้งนี้ค่ะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอให้น้องหายไวๆ กลับมาสุขภาพแข็งแรงในเร็ววันนะคะ

——————–

จากเหตุการณ์นี้ คุณแม่อาจไม่ทราบว่า ยาพาราเซตามอล มีหลายขนาดความเข้มข้นของตัวยา เช่น ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ มีทั้งแบบ 120 มก./5 ซีซี และแบบ 250 มก./5 ซีซี ซึ่งหากนำยาที่มีความเข้มข้น 250 มก. มาป้อนลูกในปริมาณเท่ากับที่ควรให้ในแบบ 120 มก. ลูกก็มีโอกาสได้รับยาเกินขนาดได้

ในกรณีที่ป้อนยาพาราเซตามอลชนิดดรอปสำหรับเด็กเล็ก ขนาด 80 มก./0.8 ซีซี นั้นมีปริมาณยาเข้มข้นกว่าแบบ 120 มก. 4-5 เท่า ดังนั้น หากป้อนยาชนิดดรอปให้ลูกในปริมาณเท่ากับที่ควรให้ในแบบ 120 มก. เท่ากับว่า ลูกจะได้รับยาเกินขนาด 4-5 เท่านั่นเองค่ะ

เพื่อความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้น เรามาทำความรู้จักประเภทของยาลดไข้สำหรับเด็กแต่ละวัย และวิธีคำนวณปริมาณยาลดไข้ที่ถูกต้องก่อนป้อนให้ลูก ซึ่งต้องคำนวณจากความเข้มข้นตัวยา และน้ำหนักของน้องร่วมกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการป้อนยาน้อยเกินไปจนไข้ไม่ลด และไม่ ป้อนยาเกินขนาด จนเป็นอันตรายต่อลูกน้อย ด้วยวิธีเลือกยาลดไข้สำหรับเด็ก และวิธีคำนวณยาลดไข้เด็ก ที่เรานำมาฝากค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> ยาพาราเซตามอลสำหรับเด็กแต่ละวัย ควรเลือกอย่างไร คลิกหน้า 2

ยาลดไข้พาราเซตามอลสำหรับเด็กแต่ละวัย ควรเลือกอย่างไร

ยาพาราเซตามอลสำหรับเด็กที่หาซื้อได้ตามร้านขายยานั้น มีหลายแบบ แบ่งเป็นแบบดรอป แบบน้ำ และแบบเม็ด ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับวัยของลูก โดยสามารถดูปริมาณความเข้มข้นของยา ว่ามีปริมาณยาเท่าไรใน 1 ช้อนชา (5 ซีซี) ได้จากฉลากข้างขวดยาค่ะ

บทความแนะนำ ยาน้ำลดไข้ ของเด็ก แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร พ่อแม่ควรรู้!

เมื่อเลือกยาที่เหมาะกับวัยของลูกแล้ว ต่อมาสิ่งที่แม่ต้องรู้ต่อมาคือ  ปริมาณยาพาราเซตามอลที่เด็กควรได้รับ คือ 10-15 มก./กก./ครั้ง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ>> แม่ต้องรู้! วิธีคำนวณยาลดไข้เด็ก ให้ถูกต้องและปลอดภัย คลิกหน้า 3

วิธีคำนวณยาลดไข้เด็ก ให้ถูกต้องและปลอดภัย

สมมติ ลูกน้ำหนัก 6 กก. เลือกใช้ยาพาราเซตมอลชนิดดรอป สามารถคำนวณปริมาณยาได้ดังนี้

ดังนั้น คุณแม่จะป้อนยาลดไข้ให้ลูกได้ตั้งแต่ 0.6-0.9 มล. (ซีซี) ทุก 4-6 ชั่วโมงตามที่ระบุข้างกล่องค่ะ

สมมติ ลูกน้ำหนัก 10 กก. เลือกใช้ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ สามารถคำนวณปริมาณยาได้ดังนี้

หากใช้ยาลดไข้เด็กที่มีความเข้มข้น 120 มก./5 มล. จะต้องป้อน (100×5)/120 = 4.16 มล.(ซีซี)

หากใช้ยาลดไข้เด็กที่มีความเข้มข้น 120 มก./5 มล. จะต้องป้อน (150×5)/120 = 6.25 มล.(ซีซี)

ดังนั้น คุณแม่จะป้อนยาลดไข้ให้ลูกได้ตั้งแต่ 4.1-6.2 มล. (ซีซี) ทุก 4-6 ชั่วโมงตามที่ระบุข้างกล่องค่ะ

หากคุณแม่ใช้ยาลดไข้ที่มีความเข้มข้นต่างไปก็ใช้วิธีคำนวณแบบเดียวกันนี้ได้เลยค่ะ

หมายเหตุ คุณแม่ควรระวังไว้เสมอว่า ยาลดไข้พาราเซตามอล ทานได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรเกินวันละ 5 ครั้ง และไม่ควรใช้ยาพาราเซตามอลติดต่อกันหลายวัน เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงต่อตับได้ค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อย่างไรก็ดี เมื่อลูกไม่สบาย เป็นไข้ตัวร้อน คุณหมอมักแนะนำให้คุณแม่ควรเช็ดตัวลดไข้ก่อนเพราะไข้อาจลดได้โดยไม่ต้องกินยาค่ะ เราจึงมีเทคนิคเช็ดตัวลดไข้ หายตัวร้อนใน 15 นาทีมาฝากค่ะ

บทความแนะนำ น้ำอุ่นผสมมะนาวลดไข้ จากผลงานวิจัยลดไข้ลูกน้อยได้ 2 เท่า

อ่านต่อ>> เทคนิคเช็ดตัวลดไข้ หายตัวร้อนใน 15 นาที คลิกหน้า 4


คลิกที่นี่ เพื่อขยายดูภาพ >> วิธี เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก

เทคนิค การเช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก

วิธีการ เช็ดตัวลดไข้ ให้ลูก อย่างถูกวิธีและเข้าใจง่าย จากสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

1. ใช้น้ำอุ่นหรือน้ำที่อุณหภูมิปกติ ไม่ใช้น้ำร้อน
2. ปิดแอร์ หรือพัดลมให้หมด ลูกจะได้ไม่หนาวนะคะ
3. ถอดเสื้อผ้าลูกออกให้หมดค่ะ จะได้เช็ดได้ทุกซอกทุกมุม โดยเฉพาะตามข้อพับต่างๆ
4. ควรเช็ดย้อนรูขุมขน เช่นจากปลายมือปลายเท้า เข้าหาลำตัวค่ะ
5. ใช้ผ้า 2-3 ผืน ดีกว่าผืนเดียว จะได้เปลี่ยนได้บ่อยๆ โดยแนะนำให้เปลี่ยนผ้าชุบน้ำทุก 2-3 นาที
6. อย่าเช็ดนานเกินไปนะคะ เดี๋ยวลูกจะหนาว ประมาณ 10-15 นาทีก็พอค่ะ
7. หากเช็ดได้ดี ไข้จะลงภายใน 15 นาทีค่ะ ถ้ายังไม่ลงก็เช็ดซ้ำได้เลย

สำหรับเด็กเล็กที่ดิ้นเก่งๆ ควรมีผู้ช่วย ช่วยกันเช็ดอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป จะได้เช็ดได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพนะคะ

หมายเหตุ : ขณะเช็ดตัวลดไข้ หากเด็กมีอาการเริ่มหนาวสั่น ให้หยุดเช็ดตัวทันที แล้วห่มด้วยผ้าห่มหรือผ้าขนหนูที่แห้ง จนกระทั่งหยุดสั่น ควรวัดอุณหภูมิของเด็กทุก 10 – 15 นาที ถ้าเป็นปรอทธรรมดา วัดทางรักแร้ 5 นาที ขณะทำการเช็ดตัว ถ้าเป็นทารกและมีอุณหภูมิกายต่ำกว่า 36.7 องศาเซลเซียส ให้ทำการห่อตัว โดยเฉพาะส่วนศีรษะ ด้วยผ้าขนหนู เนื่องจากส่วนศีรษะมีพื้นที่ผิวกายคิดเป็นสัดส่วนถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของร่างกาย ห่อตัวจนกระทั่งเด็กอุณหภูมิปกติหรือใกล้เคียงปกติ (ประมาณ 37.0 – 37.5 องศาเซลเซียส) จึงหยุดห่อ

นอกจากการเช็ดตัว และการใช้ยาเพื่อช่วยลดไข้ แก้ตัวร้อนให้แก่ลูกน้อยแล้ว ควรให้เด็กได้พักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำบ่อยๆ และมากๆ กินอาหารที่มีประโยชน์ และในกรณีที่มีไข้สูง (มากกว่า 39 องศาเซลเซียส) ควรเช็ดตัวให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีที่เด็กเคยมีประวัติชักจากไข้สูง ควรได้รับยากันชักตลอดเวลาที่เด็กมีไข้ และในกรณีที่เด็กเคยมีประวัติของโรคหืดหอบ เมื่อเป็นไข้โดยเฉพาะไข้หวัด อาจชักนำให้เด็กมีอาการจับหอบได้ จึงควรระวังในสองกรณีดังกล่าวนี้ด้วย ถ้าลูกเป็นไข้ติดต่อกันเกิน 3 วัน แล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรพาลูกไปพบคุณหมอค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก !!

วิธีใช้ลูกยางแดง ดูดน้ำมูก-เสมหะ ให้ลูกน้อยหายใจสะดวก
เช็ดตัวลดไข้ให้ลูกทารก (มีคลิป) 

ขอบคุณข้อมูลจาก :www.childrenhospital.go.th , haamor.com,  เฟซบุ๊คร้านยาก้านณรงค์ , หมอชาวบ้าน