มะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งอีกชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นได้กับอวัยวะสืบพันธุ์ในผู้หญิง และที่น่าตกใจคือเป็นมะเร็งในผู้หญิงอันดับ 3 ที่พบว่าเกิดขึ้นได้บ่อย และก็เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่สูงมากด้วยเช่นกัน ทีมงาน Amarin Baby & Kids จะพาคุณแม่ รวมถึงสาวๆ ทุกคนไปรู้จักกับมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ชนิดนี้กันค่ะ
มะเร็งรังไข่ สาเหตุ และปัจจัยที่เสี่ยง ?
เมื่อพูดถึงมะเร็งเชื่อว่าผู้หญิงทุกคนไม่อยากป่วยด้วยโรคร้ายนี้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะ มะเร็งรังไข่ ที่ถือเป็นหนึ่งใน โรคมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ที่กลัวกันมาก เพราะในปัจจุบันพบว่าอัตราการรอดชีวิต 5 ปี ของผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้เฉลี่ยแล้วเพียง ร้อยละ 25-30 สรุปง่ายๆ คือ หากคุณแม่หรือสาวๆ ที่เป็นมะเร็งในรังไข่ จะมีโอกาสการรอดชีวิตภายใน 5 ปี เพียง 1 ใน 3 หรือ 1 ใน 4 ของจำนวนผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ทั้งหมด เห็นไหมคะว่าน่ากลัวมากแค่ไหน!!
ส่วนสาเหตุ และปัจจัยที่ผู้หญิงเสี่ยงต่อการป่วยจากมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์ชนิดนี้ มาได้จากหลายสาเหตุ นั่นคือ…
- คนในครอบครัวโดยเฉพาะมารดา พี่สาว/น้องสาว หรือลูกสาวมีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งรังไข่
- ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 63 ปีขึ้นไป พบว่าป่วยเป็นมะเร็งรังไข่ได้มากถึงร้อยละ 50
- ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
- ผู้หญิงที่ยังไม่เคยแต่งงานหรือไม่มีลูก
- ผู้หญิงที่คลอดบุตรคนแรกหลังจากอายุ 30 ปีแล้ว
- ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี
- ผู้หญิงที่เคยมีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้
- ผู้หญิงที่มีลูกแล้วไม่ได้ให้ลูกกินนมแม่ ซึ่งการให้นมลูกจะทำให้รังไข่หยุดทำงาน ส่งผลให้โอกาสป่วยมะเร็งรังไข่น้อยลง
บทความแนะนำ คลิก>> วิธีสังเกตลักษณะต้องสงสัย “มะเร็งไฝ”
และไม่ว่าคุณจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจป่วยเป็นมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์หรือไม่ก็ตาม การตรวจเช็กร่างกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างมาก เพราะถึงจะไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะไม่ป่วยเป็นมะเร็ง อันนี้รวมถึงมะเร็งทุกชนิดในผู้หญิงเลยค่ะ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงควรต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา ทานอาหารที่มีประโยชน์(บุหรี่ เหล้า ควรเลิกอย่างเด็ดขาด) ออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด เป็นต้น
อ่านต่อ เช็ก 11 สัญญาณเตือนอาจป่วยมะเร็งในรังไข่ หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
11 อาการอาจชี้ว่าป่วย “โรคมะเร็งไข่”
การรู้เท่าทันอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ถือเป็นสัญญาณเตือนให้คุณแม่ และผู้หญิงทุกคนได้ตระหนักว่าอาจกำลังป่วยด้วยโรคใดขึ้นมาก็ได้ โดยเฉพาะมะเร็งรังไข่ ที่พบว่าเป็นเหมือนภัยเงียบ เมื่อป่วยในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการเตือนให้ทราบใดๆ ออกมา จะมารู้ว่าป่วยก็เข้าสู่ระยะที่แทบจะรักษาอะไรได้ไม่มากนัก และมีอัตราเสี่ยงเสียชีวิตสูง สำหรับอาการเตือนที่อาจนำไปสู่โรคมะเร็งรังไข่ สามารถสังเกตร่างกายที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น ดังนี้…
- รู้มีอาการแน่นท้อง อืดท้องบ่อยๆ
- ไม่เจริญอาหาร ทานอาหารได้น้อยลง รู้สึกอิ่มอาหารเร็วทั้งที่ทานไปได้นิดเดียว
- ปวดท้อง (พบว่ามีทั้งปวดท้องน้อย และปวดทั่วท้อง)
- ปัสสาวะผิดปกติ เพราะก้อนมะเร็งรังไข่ทับ หรือระคายเคืองกระเพาะปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย หรือปัสสาวะไม่สุด แสบขัด
- ท้องโตขึ้นเพราะก้อนมะเร็งรังไข่ หรือมีน้ำในช่องท้อง
- รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา มีภาวะซีด รู้สึกไม่มีแรง
- ปวดหลัง (พบว่าในรายที่มะเร็งรังไข่รบกวนเส้นประสาทหลัง)
- ทุกครั้งเวลาที่มีเพศสัมพันธ์จะมีอาการเจ็บปวด
- มีอาการท้องผูก เนื่องจากมะเร็งรังไข่ไปกดทับลำไส้ใหญ่
- ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มาแบบกะปริดกะปรอย หรือมามากและนาน
- ไม่เคยปวดประจำเดือนมาก่อน แต่จู่ๆ ก็มีอาการปวดท้องประจำเดือน (ซึ่งอาจมาจากมะเร็งรังไข่ชนิดที่สร้างฮอร์โมน)
บทความแนะนำ คลิก>> มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก กับสัญญาณเตือนให้ระวัง!
สัญญาณอาการเตือนเหล่านี้หากคุณแม่ และสาวๆ พบว่าตัวเองมีความผิดปกติขึ้น ขอให้รีบไปตรวจที่โรงพยาบาลทันที เนื่องจากอาการทั้งหมดนี้ยังจะนำไปสู่โรคอื่นๆ ได้อีก เช่น เนื้องอกในรังไข่ เนื้องอกในมดูก เป็นต้น
อ่านต่อ 4 วิธีป้องกันการเกิดมะเร็งในรังไข่ หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
รู้เท่าทันป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่ ได้หรือไม่?
แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เขียนหนังสือ 100 เรื่องน่ารู้มะเร็งในผู้หญิง ได้ให้ความรู้ว่ามะเร็งรังไข่มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน แต่ก็มีวิธีปฏิบัติที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งรังไข่ได้อยู่บ้าง นั่นคือ…
1. หากต้องตัดมดลูก
เพราะสาเหตุ เช่น เนื้องอกมดลูก ควรปรึกษาแพทย์ถึงการผ่าตัดรังไข่ทั้งสองข้าง ถึงแม้ว่าบางคนอาจจะอยู่ในวัยหมดประจำเดือน รังไข่หยุดทำงานไปแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่ได้
2. พิจารณาตัดรังไข่ทิ้งทั้งสองข้าง
หากพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งที่อาจกระจายไปที่รังไข่ เช่น เป็นมะเร็งรังไข่อีกข้าง มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งมดลูก มะเร็งเต้านม ที่ต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้องอยู่แล้ว
3. ให้รังไข่มีโอกาสหยุดทำงานมากที่สุด
เช่น แต่งงานเร็ว มีลูกก่อนอายุ 30 ปี มีลูกหลายคน ให้นมลูกนานกว่า 6 เดือน หรือรับประทานยาคุมกำเนิด
4. ใช้ชีวิตที่เงียบสงบ
ไม่เครียด ไม่ปล่อยร่างกายให้น้ำหนักเกินจนอ้วน ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และควรทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ให้มากพอ
สำหรับผู้หญิงแล้วไม่ว่าจะแต่งงานมีลูก หรือยังไม่แต่งงานก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งในผู้หญิงได้เกือบทุกชนิด รวมถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงตั้งแต่อายุยังน้อยๆ เพื่อที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันดีก็จะช่วยลดความเจ็บป่วยลงได้บ้าง หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี อย่างผู้หญิงควรตรวจภายในเพิ่มเข้าไปด้วย เพื่อที่หากพบความเสี่ยงป่วยมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์จะได้รักษาตั้งแต่เริ่มต้น รักษาเร็วช่วยให้หายขาดได้ ไม่เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจคลิก
อาการมะเร็งเต้านม กับความผิดปกติของเต้านมที่แม่ควรรู้!!
9 อาหารช่วยลดความเสี่ยงการเกิด มะเร็งปากมดลูก
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
พญ.ชัญวลี ศรีสุโข.หนังสือ 100 เรื่องน่ารู้มะเร็งในผู้หญิง. หนังสือในเครืออัมรินทร์ (อัมรินทร์สุขภาพ)