AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

เด็กตัวเหลือง หลังคลอด อันตรายอย่าป้อนน้ำเด็ดขาด!!

Credit Photo : Google, shutterstock, Drama-addict

เด็กตัวเหลือง เป็นภาวะหนึ่งที่เกิดขึ้นได้กับลูกหลังคลอด ซึ่งในปัจจุบันยังพบว่ามีการให้กินน้ำเพื่อช่วยลดอาการตัวเหลือง จากข้อมูลทางการแพทย์การเด็กที่มีภาวะตัวเหลือง แล้วให้กินน้ำไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้น แต่กลับจะเป็นผลเสียต่อร่างกายเด็กจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อเท็จจริงเรื่องลูกกินน้ำเพื่อช่วยให้หายตัวเหลือง มาฝากกันค่ะ

 

เด็กตัวเหลือง ในทารกแรกเกิดคืออะไร?

เมื่อวานมีโอกาสได้อ่านเรื่องที่เพจDrama-addict มีคุณพ่อท่านหนึ่งเล่าว่า เด็กตัวเหลือง แล้วญาติแอบเอาน้ำให้กินเพราะอาการตัวเหลืองจากได้หายเร็วขึ้น ถามว่าหายเร็วขึ้นไหม ไม่นะคะ แต่จะเป็นอันตรายกับเด็กมากกว่า ซึ่งคุณพ่อเก่งมากที่พยายามคัดค้านและหาข้อมูลมาเสริมความมั่นใจว่าการให้ลูกกินน้ำไม่ได้ช่วยเรื่องตัวเหลืองแต่อย่างใด  ซึ่งเคสนี้ถือเป็นการให้ความรู้กับพ่อแม่มือใหม่อีกหลายๆ ครอบครัวได้ดีมากๆ ค่ะ และเพื่อเป็นการให้พ่อแม่ที่เพิ่งคลอดลูก และที่กำลังจะคลอดเร็วๆ นี้ เข้าใจเกี่ยวกับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่ถูกต้อง ผู้เขียนมีข้อมูลมาให้ตามนี้ค่ะ

Credit Photo : Drama-addict

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายถึงภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด  นั้นมีสาเหตุมาจากการที่มีสารสีเหลือง คือ “บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ บิลิรูบินนี้เกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาในร่างกายของคนปกติ บิลิรูบินในเลือดจะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ตับให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำมากขึ้นและถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ[1]

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสงสัยว่าแล้วถ้าลูกมีภาวะตัวเหลืองขึ้นเนี่ยจะเป็นอันตรายหรือเปล่า ซึ่งคุณหมอได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้ค่ะ

เด็กทารกแรกเกิดที่ยังมีระดับของบิลิรูบินในเลือดสูงมาก ผลกระทบคือ บิลิรูบินจะเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อสมองและก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท เรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (kernicterus) ถ้าหากเกิดขึ้นเฉียบพลัน ทารกจะมีอาการซึม ดูดนมน้อยลง ตัวอ่อนปวกเปียก หรือ อาจเกิดอาการเกร็งหลังแอ่น ชัก มีอาการไข้ และอาจร้องไห้เสียงแหลม หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที[2]

บทความแนะนำ คลิก>> ลูกแรกเกิดมีตาขาวสีเหลือง ใช่ตัวเหลืองหรือไม่?

รู้แบบนี้แล้ว เด็กตัวเหลือง นี่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ ที่จะปล่อยไว้ได้เลยค่ะ ผู้เขียนขอแชร์ประสบการณ์ของครอบครัวเล็กน้อยค่ะ คือช่วงที่หลานสองคนคลอดก็มีภาวะตัวเหลืองเหมือนกัน หลานชายนี่ตัวเหลืองตั้งแต่วันแรกที่ยังอยู่โรงพยาบาล ทำให้คลอดมาต้องถูกส่งเข้าตู้อบส่องไฟค่ะ ส่วนหลานสาวคลอดกลับมาบ้านแล้ว 2-3 วันเพิ่งเห็นว่าตัวเหลืองๆ ซึ่งสิ่งแรกที่ครอบครัวเราทำกันคือพาไปหาคุณหมอเด็กที่ดูแลมาตั้งแต่วันแรกคลอดค่ะ คำแนะนำที่แสนจะง่ายจากคุณหมอคือ “ให้กินนมแม่” ต่อไป แล้วเดี๋ยวอาการเหลืองก็จะค่อยๆ ลดลงและหายเป็นปกติ

คำถามที่ตามมาคือแล้วภาวะเหลืองในเด็กทารกเนี่ย เป็นเพราะอะไร คือทำไมเด็กบางคนต้องส่องไฟอาการเหลืองถึงหาย แล้วทำไมเด็กอีกคนแค่ให้กินนมแม่ก็รักษาอาการเหลืองได้แล้ว อย่าเก็บความสงสัยกันไว้ค่ะ แนะนำว่าถ้าลูกๆ ของคุณพ่อคุณแม่มีปัญหาตัวเหลืองให้ถามจากคุณหมอว่าเป็นเพราะอะไร ซึ่งการรักษาอาจแตกต่างกันบ้างค่ะ เอาเป็นว่าเพื่อให้เข้าใจอาการเหลืองที่เกิดขึ้นกับลูกวัยทารก ผู้เขียนมีข้อมูลมาให้เพิ่มเติมดังนี้ค่ะ…

อ่านต่อ ประเภทของภาวะตัวเหลืองในเด็กทารก หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีกี่ประเภท?  

สำหรับอาการ เด็กตัวเหลือง ที่เกิดขึ้นในเด็กทารกนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ภาวะดังนี้คือ…

1. ภาวะตัวเหลืองปกติ (physiologic jaundice)

ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีจำนวนของเม็ดเลือดแดงมากกว่าและมีอายุสั้นกว่าของผู้ใหญ่เพราะทำหน้าที่รับออกซิเจนผ่าน  ทางสายรกที่ส่งผ่านมาจากเลือดของแม่ เมื่อทารกคลอดจากครรภ์ของแม่จะเริ่มหายใจด้วยปอด เม็ดเลือดแดงชนิดเดิมของ  ทารกจะแตกสลายและเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารบิลิรูบินมากกว่าปกติจนเกินกว่าความสามารถในการกำจัดของร่างกาย   เพราะตับของทารกยังทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การกำจัดบิลิรูบินด้วยตับยังไม่สมบูรณ์ ทารกจึงเกิดภาวะตัว  เหลืองจากการสะสมของสีบิลิรูบิน ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองปกติจะสามารถหายเองได้ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์และไม่  ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของทารก

บทความแนะนำ คลิก>> ลูกตัวเหลือง เพราะกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากับแม่ (เรื่องจริงจากแม่)

2. ภาวะตัวเหลืองผิดปกติหรือตัวเหลืองเนื่องจากเป็นโรค (pathologic jaundice)

เด็กที่มีภาวะเหลืองผิดปกติ ก็ยังสามารถแยกย่อยสาเหตุที่เกิดขึ้นได้อีกนั่นคือ…

ทารกได้รับนมแม่ปกติ : พัฒนาการด้านน้ำหนักตัวขึ้นดี ส่วนมากจะพบภาวะตัวเหลืองชัดเจนในช่วงท้ายสัปดาห์แรกเป็นต้นไป

ทารกได้รับนมแม่น้อยกว่าปกติ : น้ำหนักตัวน้อยไม่เป็นไปตามพัฒนาการ พบในทารกที่แม่ขาดประสบการณ์ในการให้นม เช่นท่าอุ้มให้นมลูกไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดจากปัจจัยของตัวทารกเอง เช่นคลอดก่อนกำหนดหรือมีภาวะดูดนมยาก ภาวะลิ้นติด[3]

พอจะทราบสาเหตุของภาวะเหลืองที่เกิดขึ้นกับลูกวัยทารกกันแล้วนะคะ ทีนี้จะไปดูกันต่อค่ะว่าแล้วควรจะดูแลรักษาหากลูกมีอาการเหลืองได้ด้วยวิธีใดกันบ้าง

อ่านต่อ วิธีการดูแลรักษาเมื่อลูกตัวเหลือง หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีการดูแลรักษา เด็กตัวเหลือง

เชื่อว่าไม่เฉพาะคนรุ่นย่ายายเท่านั้น ที่พอเห็นลูกหลานคลอดออกมาตัวเหลือง ก็จะเอาน้ำให้กิน เพราะในพ่อแม่สมัยใหม่นี้ในบางครอบครัวก็ยังมีความเชื่อที่ว่าที่ลูกเหลืองเพราะขาดน้ำ กินน้ำน้อย ถ้าได้กินน้ำอาการเหลืองก็จะหายไป ตามความจริงนะคะ การให้เด็กที่มีภาวะเหลืองกินน้ำ ไม่ได้ช่วยรักษาอาการเหลืองให้หายไปได้นะคะ แต่ที่อันตรายคือเด็กอาจเสียชีวิตได้ และนี่คือข้อเสียของการป้อนน้ำให้เด็กก่อน 6 เดือนค่ะ

– น้ำเป็นสสารที่ไม่ให้พลังงาน ดังนั้นทำให้เปลืองท้องและทำให้น้ำหนักขึ้นช้า11%

– จุกและขวดอาจไม่สะอาด ส่งผลให้ปากเป็นเชื้อราได้

– ในน้ำอาจมีเชื้อหรือสารเคมีปนเปื้อน เช่นสารหนู[4]

แล้วถ้าไม่ให้ลูกกินน้ำ อาการตัวเหลืองจะหายไปไหม หายซิค่ะ เพราะต่อให้มีวิธีการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่คุณหมอจะย้ำให้แม่ทำควบคู่กันคือ การให้ลูกกินนมแม่ เพราะน้ำนมแม่นี่แหละที่เป็นยารักษาอาการเหลืองให้กับลูกได้อย่างดีเลยค่ะ ยิ่งช่วง 1-2 วันแรกคลอดน้ำนมแม่เรียกว่าน้ำนมส่วนหน้าที่มี คอลอสตรัม (Colostrum) อุดมด้วยสารอาหารครบถ้วน แล้วยังมีวิตามิน เป็นยาธรรมชาติ มีสารภูมิคุ้มกันป้องกันลูกเจ็บป่วยได้อย่างดีเยี่ยมอีกด้วย ฉะนั้นถ้าลูกมีภาวะเหลือง น้ำนมแม่นี่แหละช่วยได้ แต่หลังกินนมแม่อิ่มแล้วก็ไม่ต้องให้ลูกกินน้ำตามนะคะ นอกจากนี้การให้ลูกกินนมแม่ยังต้องทำควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของคุณหมอว่าควรต้องเป็นการรักษาด้วยรูปใด ซึ่งการรักษาจะมีดังนี้ค่ะ…

การส่องไฟรักษา

จะเป็นการรักษาด้วยหลอดไฟชนิดพิเศษที่มีความยาวคลื่นแสงเหมาะสมกับการรักษาเท่านั้น หากระดับของบิลิรูบินในเลือดสูงเกิน 12-15 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ต้องนำทารกมาเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเท่านั้น

การถ่ายเลือดร่วมกับการส่องไฟรักษา

หากระดับของบิลิรูบินในเลือดสูงมากจนอาจจะเกิดการสะสมในเนื้อเยื่อสมอง หรือแสดงอาการเฉียบพลันทางสมอง แพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยการถ่ายเลือดร่วมกับวิธีการส่องไฟรักษาเพื่อลดระดับของบิลิรูบินในร่างกายของทารก

การรักษาด้วยยา

ยาที่รักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้คือยาชีววัตถุ เช่น อิมมูโนโกลบูลินชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (Intravenous immunoglobulin)[5]

ไม่ว่าลูกจะเจ็บป่วยด้วยภาวะอาการใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่ไม่ควรทำคือเข้าใจและรักษากันเอง เพราะนั่นจะไม่ได้ช่วยให้ลูกหายป่วยแล้ว ยังจะเป็นการทำให้ลูกเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ ง่ายๆ ค่ะถ้าลูกแรกเกิดมีอาการผิดปกติขึ้น ให้รีบพาไปพบคุณหมอที่โรงพยาบาลทันที  เหมือนอย่างกับอาการตัวเหลือง ลูกหายเหลืองได้ถ้าให้กินมแม่ และรักษาควบคู่ไปกับวิธีทางการแพทย์ค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

อาหาร 6 อย่างนี้ “ห้ามให้ลูกน้อยต่ำกว่า 6 เดือน” กินเด็ดขาด!
ลูกตัวเหลือง อันตรายใกล้ตัว!! ที่คุณแม่อาจไม่รู้


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1,2,3,5ผศ.ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. ลูกตัวเหลือง เรื่องไม่เล็กของเด็กเปลี่ยนสี
4นมแม่แฮปปี้
ข้อขอบคุณเรื่องอ้างอิงจาก
เพจ Drama-addict