เด็กตัวเหลือง หลังคลอด อันตรายอย่าป้อนน้ำเด็ดขาด - amarinbabyandkids
เด็กตัวเหลือง

เด็กตัวเหลือง หลังคลอด อันตรายอย่าป้อนน้ำเด็ดขาด!!

Alternative Textaccount_circle
event
เด็กตัวเหลือง
เด็กตัวเหลือง

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีกี่ประเภท?  

สำหรับอาการ เด็กตัวเหลือง ที่เกิดขึ้นในเด็กทารกนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ภาวะดังนี้คือ…

1. ภาวะตัวเหลืองปกติ (physiologic jaundice)

ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีจำนวนของเม็ดเลือดแดงมากกว่าและมีอายุสั้นกว่าของผู้ใหญ่เพราะทำหน้าที่รับออกซิเจนผ่าน  ทางสายรกที่ส่งผ่านมาจากเลือดของแม่ เมื่อทารกคลอดจากครรภ์ของแม่จะเริ่มหายใจด้วยปอด เม็ดเลือดแดงชนิดเดิมของ  ทารกจะแตกสลายและเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารบิลิรูบินมากกว่าปกติจนเกินกว่าความสามารถในการกำจัดของร่างกาย   เพราะตับของทารกยังทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้การกำจัดบิลิรูบินด้วยตับยังไม่สมบูรณ์ ทารกจึงเกิดภาวะตัว  เหลืองจากการสะสมของสีบิลิรูบิน ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองปกติจะสามารถหายเองได้ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์และไม่  ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของทารก

บทความแนะนำ คลิก>> ลูกตัวเหลือง เพราะกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากับแม่ (เรื่องจริงจากแม่)

2. ภาวะตัวเหลืองผิดปกติหรือตัวเหลืองเนื่องจากเป็นโรค (pathologic jaundice)

เด็กที่มีภาวะเหลืองผิดปกติ ก็ยังสามารถแยกย่อยสาเหตุที่เกิดขึ้นได้อีกนั่นคือ…

  • เกิดภาวะการบกพร่องเอนไซม์ G6PD (Glucose-6-Phosphate Dehydrogenase) ส่งผลทำให้เกิดการสะสมของอนุมูลอิสระซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ จะพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง
  • เกิดจากหมู่เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน เช่น แม่ที่มีหมู่เลือด Rh ลบกับลูกหมู่เลือด Rh บวก หรือ แม่ที่มีหมู่เลือดโอกับลูกที่มีหมู่เลือดเอบี มีแนวโน้มความรุนแรงมากขึ้นในลูกคนที่สอง เนื่องจากร่างกายแม่จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อหมู่เลือดที่ไม่เข้ากันกับทารก อย่างไรก็ตามสาเหตุนี้พบได้น้อยในประเทศไทย
  • ภาวะตัวเหลืองที่สัมพันธ์กับการดื่มนมแม่ พบในทารกที่ได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียว สามารถแบ่งได้เป็นสองลักษณะอาการย่อยคือ

ทารกได้รับนมแม่ปกติ : พัฒนาการด้านน้ำหนักตัวขึ้นดี ส่วนมากจะพบภาวะตัวเหลืองชัดเจนในช่วงท้ายสัปดาห์แรกเป็นต้นไป

ทารกได้รับนมแม่น้อยกว่าปกติ : น้ำหนักตัวน้อยไม่เป็นไปตามพัฒนาการ พบในทารกที่แม่ขาดประสบการณ์ในการให้นม เช่นท่าอุ้มให้นมลูกไม่ถูกต้อง หรืออาจเกิดจากปัจจัยของตัวทารกเอง เช่นคลอดก่อนกำหนดหรือมีภาวะดูดนมยาก ภาวะลิ้นติด[3]

พอจะทราบสาเหตุของภาวะเหลืองที่เกิดขึ้นกับลูกวัยทารกกันแล้วนะคะ ทีนี้จะไปดูกันต่อค่ะว่าแล้วควรจะดูแลรักษาหากลูกมีอาการเหลืองได้ด้วยวิธีใดกันบ้าง

อ่านต่อ วิธีการดูแลรักษาเมื่อลูกตัวเหลือง หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up