แซนวิช คุณแม่คนสวย ของน้องลีออง ลูกชายอีกคนของ เสก โลโซ ป่วยเป็น ท่อน้ำตาอุดตันในทารก ซึ่งมีอาการน้ำตาไหลตลอดเวลา หมอแจ้งต้องเฝ้าดูอาการอย่างระวังอย่างน้อย 6 เดือน
โดยคุณแม่คนสวย แซนวิช ปภาดา ได้พา น้องลีออง จอมเก้า โชติกวณิชย์ ลูกชายของ เสก โลโซ มาเปิดใจและโชว์ตัวเต็มๆ ซึ่ง น้องลีออง หน้าตาน่ารัก น่าเอ็นดูมาก ๆ
ทั้งนี้คุณแม่แซนวิช ยังได้เผยถึงอาการป่วยของ น้องลีออง ซึ่งที่ดวงตานั้นจะมีน้ำตาเอ่อคลอเบ้าและไหลออกมาเป็นพักๆ ว่า…
“น้องมีปัญหาเรื่องท่อน้ำตาตัน แล้วตาอักเสบเป็นหนอง ก็เลยยังอยู่ในระหว่างช่วงคุยกัน”
ทั้งนี้คุณแม่แซนวิช ยังบอกอีกว่า…
“หมอบอกว่าต้องเฝ้าดูอาการอย่างระวังอย่างน้อย 6 เดือน ถ้าท่อน้ำตาไม่เปิดก็ผ่าเจาะเพื่อเปิดท่อ”
แต่อย่างไรก็ดีแฟนคลับไม่ต้องตกใจว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ เพราะอาการ ท่อน้ำตาอุดตันในทารก ที่ น้องลีออง เป็นอยู่นี้ เป็นอาการที่รักษาได้ อย่างไรก็ดีทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ก็ขอให้ลูกพี่ลีอองให้เป็นปกติในเร็ววันนะคะ
ทั้งนี้ อาการ ท่อน้ำตาอุดตันในทารก เป็นภาวะของการอุดตันในท่อน้ำตา ทำให้น้ำตาไม่สามารถระบายออกได้ จึงทำให้มีน้ำตาไหลหรือน้ำตาคลอตลอดเวลา หากรุนแรงก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองหรืออักเสบ โดยภาวะนี้พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้ใหญ่
อ่านต่อ >> “ภาวะและอาการของท่อน้ำตาอุดตันในทารก ที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้!” คลิกหน้า 2
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก : www.thairath.co.th
ขอบคุณภาพจาก IG @sandwich_leon, @sek_loso_
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ภาวะท่อน้ำตาอุดตัน
โดยจะมีอาการเบื้องต้นเหมือนกันคือ มีน้ำตาไหลเอ่อคลอ มีขี้ตามาก ซึ่งอาจทำให้เยื่อตาอักเสบติดเชื้อเป็นๆ หายๆ ได้ และอาจรุนแรงถึงขั้นมีฝีหนองที่ตำแหน่งของถุงน้ำตาที่หัวตา
ลักษณะทางกายภาพของทางเดินท่อน้ำตา
น้ำตาของคนเราจะมีการหลั่งออกมาจากต่อมน้ำตาอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตา ส่วนบริเวณหัวตาจะมีรูเปิดท่อระบายน้ำตา (Lacrimal punctum) อยู่ 2 รู ที่ขอบของเปลือกตาบนและล่าง ซึ่งท่อระบายน้ำตา (Lacrimal canaliculus) นี้จะทำหน้าที่เป็นรูระบายน้ำ ท่อน้ำตาเล็ก ๆ ทั้ง 2 รูนี้จะรวมกันเป็นท่อเดียวและเชื่อมต่อกับถุงน้ำตา (Lacrimal sac) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นถังพักน้ำ และจากถุงน้ำตาจะมีท่อระบายน้ำตา (Nasolacrimal duct) ซึ่งเป็นท่อยาวที่ผ่านลงมาทางกระดูกโหนกแก้มและมาเปิดที่ภายในจมูก และไหลผ่านลงคอตามลำดับ ซึ่งท่อตรงส่วนนี้เองเป็นตำแหน่งที่พบการอุดตันได้บ่อยที่สุด และรักษาให้กลับคืนสภาพได้ยากที่สุด
ทั้งนี้ พญ.อารีย์ นิมิตรวงศ์สกุล จักษุแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า ระบบระบายน้ำตาของคนเราจะมีลักษณะคล้ายกับท่อระบายน้ำของอ่างล้างหน้าล้างมือ กล่าวคือ มีรูเปิดของท่อระบาย ส่วนของท่อระบายและปลายท่อระบาย ซึ่งถ้าหากส่วนใดส่วนหนึ่งของท่ออุดตันขึ้นมาก็จะทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเอ่อขัง
เช่นเดียวกันหากเกิดภาวะนี้ในระบบระบายน้ำตา ก็จะทำให้มีน้ำตาไหลตลอดเวลา มีขี้ตาเยอะ ตลอดจนเกิดฝีหนองที่หัวตา จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะท่อตาอุดตันได้ในที่สุด
>> ซึ่งคนไข้กลุ่มนี้มักสังเกตง่ายๆ ว่ามักเดินเข้ามาพร้อมผ้าเช็ดหน้า หรือ กระดาษทิชชู คอยซับน้ำตาอยู่ตลอด ขี้ตาจะค่อนข้างเยอะ และอาจมีประวัติเกิดถุงหนองที่หัวตา อักเสบมาก่อนได้ หรือกดที่หัวตาจะมีน้ำตา และหรือขี้ตาเอ่อทะลักออกมา
การตรวจเบื้องต้น
โดยแพทย์จะทำการแยงเข็มปลายตัดไม่แหลมคมเข้าที่ รูท่อน้ำตาที่หัวตา แล้วฉีดน้ำเกลือลงไป หากท่อน้ำตาไม่ตัน คนไข้จะรับรู้ถึงรสเค็มๆของน้ำเกลือลงคอ หากไม่ลงคอแล้วไหลย้อนกลับก็คือท่อน้ำตาตันนั่นเอง
ลักษณะอาการท่อน้ำตาอุดตัน
- ในเด็กทารกจะมีน้ำตาไหลมาก ตาแฉะ โดยที่ไม่ได้ร้องไห้
- สำหรับผู้ใหญ่จะมีน้ำตาไหลตลอดเวลา ในรายที่เป็นมากและเรื้อรังจะมีอาการระคายเคืองตลอดเวลาจากการคั่งค้างของเสีย
ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดการอักเสบจนกลายเป็นฝีหนอง ซึ่งอาจลุกลามเข้าไปในดวงตา และทำให้เกิดอาการรุนแรงหรือติดเชื้อในตาได้
อ่านต่อ >> สาเหตุและการผ่าตัด “ท่อน้ำตาอุดตันในทารก” รักษาได้ไร้แผลเป็น คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สาเหตุท่อน้ำตาอุดตัน
โดยส่วนใหญ่มักเกิดกับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด แต่ในบางครั้งก็สามารถพบภาวะนี้ในเด็กที่คลอดครบกำหนดได้เช่นกัน ซึ่งเด็กกว่า 90% จะมีอาการดีขึ้นและหายได้ในช่วง 1 ขวบปีแรก โดยมีสาเหตุจาก
- ลิ้นเปิดปิดในท่อน้ำตาไม่เปิด ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในเด็กทารก
- ความผิดปกติทางกายวิภาคที่บริเวณรูท่อน้ำตา บริเวณถุงน้ำตา หรือรูบริเวณทางเดินน้ำตา
สำหรับการรักษาท่อน้ำตาอุดตันในทารก
- การรักษา ภาวะท่อน้ำตาตันในทารก เริ่มต้นจากให้คุณพ่อคุณแม่นวดท่อน้ำตา ซึ่งโดยทั่วไป 80-90% จะหายเป็นปกติ หากยังไม่หายในช่วงขวบปีแรก แพทย์จะใช้วิธีการแยงท่อน้ำตา ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักหายขาด ในกรณีที่ยังไม่หายอาจใช้วิธีใส่ท่อซิลิโคนคาไว้ในท่อน้ำตา แต่ถ้ารักษาทุกวิธีแล้วยังไม่ได้ผล อาจต้องใช้การผ่าตัดในที่สุด
- ขณะที่ภาวะท่อน้ำตาอุดตันในผู้ใหญ่นั้น จะพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อายุเฉลี่ยที่พบคือช่วงระหว่าง 50-70 ปี โดยมักไม่ทราบสาเหตุ และอาจสัมพันธ์กับประวัติเยื่อบุโพรงจมูกอักเสบเรื้อรัง ทำให้น้ำตาเอ่อขังอยู่ในตาและมีน้ำตาไหลต้องคอยซับน้ำตาทำให้เสียบุคลิก และสร้างความรำคาญให้กับผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอักเสบเป็นฝีหนองที่ถุงน้ำตาที่หัวตา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีท่อน้ำตาอุดตันและมีภาวะอื่นๆ ทางตาที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดลูกตาเช่นการผ่าตัดต้อกระจก หรือการผ่าตัดจอประสาทตา เป็นต้น
ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงของการติดเชื้อเข้าไปในลูกตาได้สูงกว่าปกติ ดังนั้นเมื่อพบว่ามีอาการท่อน้ำตาอุดตันจึงควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
สำหรับการผ่าตัดแก้ไขท่อน้ำตาอุดตัน แพทย์ต้องทำการล้างท่อน้ำตาเพื่อหาตำแหน่งของการอุดตัน เพื่อพิจารณาเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วย ซึ่งการผ่าตัดแก้ไขท่อน้ำตาอุดตันโดยทั่วไปที่พูดถึงกันจะเป็นการผ่าตัดแก้ไขท่อน้ำตาอุดตันโดยทั่วไปที่พูดถึงกันจะเป็นการผ่าตัดแก้ไขท่อน้ำตาอุดตันที่มีการอุดตันของทางระบายออกของท่อน้ำตาในช่องจมูก การรักษามีดังนี้
- การผ่าตัดรักษาแบบมีแผลเป็น เป็นวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม โดยการผ่าตัดผ่านทางผิวหนังที่ข้างสันจมูก ส่งผลให้เป็นแผลเป็นบนใบหน้า
- อย่างไรก็ตามปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผ่าตัดรักษาภาวะท่อน้ำตาอุดตันแบบไม่มีแผลเป็น ซึ่งเป็นการผ่าตัดผ่านทางรูจมูก โดยใช้กล้องเอนโดสโคป (Endoscope) ส่องผ่านเข้าไปในจมูกเพื่อให้เห็นตำแหน่งที่ผ่าตัดอย่างชัดเจน ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของผลการผ่าตัด
ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้มีข้อดีกว่าแบบเดิมคือ ไร้แผลเป็น การฟื้นตัวของแผลเร็วกว่า แต่ต้องใช้แพทย์ที่มีความชำนาญและประสบการณ์ในการผ่าตัดส่องกล้อง เพราะการผ่าตัดท่อน้ำตาจะมีการตัดกระดูกและเชื่อมต่อเนื้อเยื่อของถุงน้ำตาและเยื่อบุโพรงจมูก เวลาผ่าตัดอาจมีเสียงดังจากการตัดกระดูก มีเลือดออกในจมูกและไหลลงคอผู้ป่วยซึ่งอยู่ในท่านอนเวลาผ่าตัด ผู้ป่วยอาจรู้สึกไม่สบายและกังวลมากในขณะผ่าดัด ดังนั้น แพทย์จึงมักแนะนำให้ดมยาสลบก่อนผ่าตัด
แต่อย่างไรก็ดีการรักษาท่อน้ำตาอุดตันในทารก แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยแต่ละราย
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- อาการผิดปกติของทารก ที่ต้องพบแพทย์
- ทารกร้องไห้มีน้ำตาตอนกี่เดือน
- นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน จนถึงอายุ 1 ขวบ
- เช็ดดวงตา และใบหูลูกน้อยทารก
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th , www.bumrungrad.com