เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าฝน อาจทำให้มีอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง เนื่องจากฝนที่ตกทำให้ถนนลื่น การติดคาร์ซีท ในรถให้ลูกนั่ง จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ส่วนมากช่วงหน้าฝน ก็จะเป็นช่วงที่เด็กๆ เปิดเทอม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีรถส่วนตัว ซึ่งต้องคอยไปรับไปส่งลูก เรื่องความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนในหน้าฝนจึงเป็นสิ่งที่ต้องคอยระมัดระวังมากที่สุด เพราะล่าสุดคุณแม่ นานา ไรบีนา ก็โดนเต็มๆ เมื่อรถของเธอจอดติดไฟแดงอยู่บนถนน ขณะที่ฝนตก ถนนลื่น จึงทำให้รถสิบล้อเบรกไม่อยู่พุ่ง และชนท้ายอย่างจัง
การติดคาร์ซีท ในรถให้ลูกนั่ง สำคัญมาก
‘แม่นานา’ฝากเตือน หลังลูกรอดชีวิต จากการถูกรถบรรทุกชนท้าย
ซึ่งภายในในรถก็มีลูกน้อย 2 ฝาแฝด ทั้งบีนา และ บรู๊คลิน นั่งอยู่ในรถด้วย แต่เด็กๆ ก็ไม่ได้รับอันตรายใดๆ เพราะนั่งรัดเข็มขัดในที่นั่งสำหรับเด็ก เพียงแต่ร้องกรี๊ดเสียงดังด้วยความตกใจเท่านั้น
โดยทางคุณแม่นานา ได้โพสต์ภาพอุบัติเหตุลงในไอจี และเตือนภัยคุณแม่ ที่มีเด็กเล็กๆ ว่าการให้เด็กๆ นั่ง Car Seat เป็นสิ่งที่สำคัญ และปลอดภัยที่สุด
“อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา” คำนี้ขอให้ตระหนัก เหตุเกิดขึ้นเมื่อวานนี้แต่แม่คนนี้ขอรวบรวมสติเล่าให้ทุกคนฟังตอนนี้ เหตุการณ์คือรถเราจอดติดไฟแดงแล้วมีรถบรรทุก (ใช่ค่ะ รถบรรทุก) พุ่งมาแบบเบรคไม่ทัน ถนนลื่น ฝนตก ชนเข้าไปท้ายรถแบบจังๆ กระจกด้านหลังแตกลงมาหมด ลูกๆบีน่าบรู๊คลินอยู่ในรถ เสียงกรีดร้องของลูกดังมาก ด้วยความตกใจ แต่น้องสองคนปลอดภัย เราได้พาน้องๆไปตรวจเช็คที่โรงพยาบาลเรียบร้อย เนื่องจากแรงกระแทกค่อนข้างแรงมาก แต่สิ่งนึงที่ขอใช้คำว่า “จำเป็น” และเป็นสิ่งที่เราต้องใช้อย่างยิ่งคือ Car seat ทำให้สองบีไม่ตกไปไหนนั่งติดเก้าอี้ ไม่เจ็บตรงไหน ก่อนหน้านี้ยอมรับตรงๆว่ามีบ้างที่เราเห็นว่าเดินทางใกล้ๆนั่งตักเราสะดวกดี แต่ตอนนี้คงต้องนั่ง car seat อย่างสม่ำเสมอแล้ว ยอมรับว่าเหตุการณ์นี้มันน่ากลัวจริงๆ นึกภาพไม่ออกว่าถ้าเด็กสองคนไม่ได้นั่ง Car seat จะเป็นยังไง เมื่อคืนก่อนหลับยังร้องไห้ ตอนนอนยังนอนผวา ร้องไห้ น่าสงสารที่สุด ฝากมาเล่าเพื่อแม่ๆทุกคนที่รักลูกสุดหัวใจได้ระมัดระวังเรื่องนี้นะคะ ด้วยหัวใจของคนเป็นแม่ค่ะ #benbrooklynguy #besafe
อ่านต่อ >> “ความสำคัญของคาร์ซีทกับลูกน้อย และวิธีติดตั้งที่ถูกต้อง” คลิกหน้า 2
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ไม่ติดคาร์ซีท! รถเสียหลักชนที่กั้นขอบทาง ทารกวัย 8 เดือน กระเด็นตกเสียชีวิต
- ลูกรอดชีวิต จากรถสิบล้อชน เพราะนั่งคาร์ซีท
- ลูกน้อยได้รับอันตราย เพราะนั่งคาร์ซีทผิดวิธี
ขอบคุณภาพและคลิปจาก nanarybena
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
งานนี้ แม้เด็กๆ จะตกใจมาก แต่ก็ไม่ได้รับบาดเจ็บอะไร แถมตอนนี้ยังกลับมาร่าเริงเหมือนเดิมแล้ว ซึ่ง คุณแม่นานา ก็ขอมายืนยันด้วยคลิปน่ารักๆ เพื่อให้แฟนคลับหายห่วง กันอีกด้วยค่ะ
จากเรื่องราวที่เกิดขึ้น ก็เป็นดังเช่นที่คุณแม่นานาบอก เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะบนท้องถนน และจะเป็นอันตรายร้ายแรงสำหรับเด็กทารกที่กำลังเดินทางเป็นอย่างมาก เพราะถึงแม้ตัวเราจะระวังแล้ว แต่ถ้าคนอื่นไม่ได้คอยระวังด้วยอุบัติเหตุก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการใช้คาร์ซีท โดยการเลือกคาร์ซีทที่ดีที่สุด ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับลูกน้อย ถ้าคุณพ่อ คุณแม่จะซื้อคาร์ซีทมือสอง อย่าเลือกซื้อที่มีอายุการใช้งานนานเกิน 5 ปี หรือมีประวัติการชนมาก่อน เพราะอาจจะมีการชำรุด หรือมีอุปกรณ์ไม่ครบ พร้อมควรใช้และติดตั้งคาร์ซีทให้ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย
ประเภทของคาร์ซีทสำหรับลูกน้อย
คาร์ซีทมี 3 ชนิด
1.ชนิดสำหรับเด็กทารก (infant car seat)
ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 16 กิโลกรัม ข้อดีคือ มีน้ำหนักเบา สามารถถอดและนำออกจากรถได้ขณะที่ลูกยังหลับอยู่โดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายตัวลูกออก ใช้ถือเพื่อพาลูกไปไหนมาไหนได้ (carrier) หรือนำคาร์ซีทวางไว้ในรถเข็นเด็กได้เลย (stroller) รุ่นนี้ต้องหันไปทางด้านหลังรถเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยของศีรษะ คอและลำตัว อย่างน้อยอายุ 2 ปี หรือจนกว่าน้ำหนักตัวเกิน 16 กิโลกรัม เพื่อป้องกันปัญหากระดูกคอเคลื่อนหากเกิดอุบัติเหตุรุนแรง
งานวิจัยยืนยันว่า เด็กเล็กยังมีกระดูกคอไม่แข็งแรง การหันคาร์ซีทไปด้านหลังจะช่วยลดอันตรายจากแรงกระแทก เพราะเบาะของคาร์ซีทจะช่วยกระจายแรงกระแทกต่อกระดูกคอ ช่วยลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตและเป็นอัมพาตได้อย่างมากเมื่อเทียบกับการหันคาร์ซีทไปทางด้านหน้า
2.ชนิดหมุนได้ (convertible seat)
ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 36 กิโลกรัม โดยหากลูกยังเล็กน้ำหนักแรกเกิด-18 กิโลกรัม จะหันไปทางด้านหลังรถ หากเกิน 18 กิโลกรัม ให้หันคาร์ซีทไปทางด้านหน้าได้ คาร์ซีทชนิดนี้มีน้ำหนักมากและยกขึ้นลงไม่สะดวก ข้อดีคือประหยัดเงิน เพราะใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิดจนโต แต่ข้อเสียคือหากนำมาใช้ในเด็กทารกแรกเกิด อาจดูใหญ่เกินไปต้องหาอุปกรณ์มาประคองลำตัวและคอของทารกให้อยู่ในท่าที่สบายขึ้น
3.ชนิดบู๊สเตอร์ซีท (Booster Seat)
เป็นที่นั่งสำหรับเด็กที่โตเกินกว่าคาร์ซีทชนิดหมุนได้แต่ยังไม่โตพอสำหรับการใช้เข็มขัดนิรภัยแบบผู้ใหญ่ (อายุที่ใช้เข็มขัดนิรภัยแบบผู้ใหญ่คือ อายุเกิน 8 ปีขึ้นไป)
อ่านต่อ >> “วิธีการติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้อง และเคล็ดลับฝึกให้ลูกน้อยนั่งคาร์ซีท” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีการติดตั้งคาร์ซีทที่ถูกต้องของแต่ละไซส์
ทั้งนี้การเลือกคาร์ซีท ก็ควรจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับอายุ น้ำหนัก ส่วนสูงของลูกน้อยด้วย รวมถึงต้องติดตั้งอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก และคุณพ่อ คุณแม่สามารถศึกษาได้จากคลิปวิดีโอนี้
ติดตั้งคาร์ซีทให้เบบี๋อย่างถูกต้อง
วิธีติดตั้งคาร์ซีทคุณหนูวัยซน
♥ เคล็ดลับฝึกให้ลูกน้อยนั่งคาร์ซีท
คาร์ซีทสำหรับเด็ก มีหน้าที่เช่นเดียวกับเข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่ ซึ่งในต่างประเทศ มีกฎข้อบังคับให้ใช้คาร์ซีทอย่างชัดเจน การหัดให้ลูกน้อยนั่งคาร์ซีทนั้น ต้องทำตั้งแต่ยังเล็ก คุณพ่อ คุณแม่ต้องมีความอดทน เพราะลูกน้อยอาจจะร้องไห้ งอแงมากๆ ไม่เป็นอันตราย แต่ถ้าไม่นั่งคาร์ซีทอาจเกิดอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิตได้
เพราะโดยปกติแล้ว เด็กจะร้องไห้ต่อเนื่องนาน 90 นาที แต่ผู้ใหญ่มักจะทนได้แค่ 5 นาที จึงต้องหาตัวช่วยที่เป็นของเล่น หรือของที่จะมาหลอกล่อ หรือนั่งข้างๆ เป็นเพื่อนลูกน้อย เพื่อให้เขายอมนั่ง อาจจะใช้วิธีร้องเพลง พูดคุย หรือสิ่งที่ลูกน้อยชอบแล้วแต่เทคนิคของแต่ละครอบครัว
ควรงดลูกนั่งตัก หรือห้ามให้ลูกวิ่งเล่นในรถ เมื่อฝึกปฏิบัติจนเคยชินแล้ว ลูกน้อยจะเรียนรู้ว่าคาร์ซีทคือที่นั่งของตัวเอง และต้องรัดเข็มขัดให้ปลอดภัยทุกครั้ง เมื่อเกิดความเคยชิน ถ้าวันไหนขึ้นรถแล้ว ไม่มีคาร์ซีทอยู่ ลูกน้อยก็จะถามถึงทันที ทั้งนี้ หากจะนำลูกออกมาจากคาร์ซีท ต้องจอดรถก่อนทุกครั้ง ใกล้ไกลเพียงใด
ควรเลิกใช้ คาร์ซีท เมื่อไหร่ ?
- ในการเลิกใช้คาร์ซีทคุณพ่อและคุณแม่ควรที่จะพิจารณาตามข้อบังคับดังต่อไปนี้
- เมื่อลูกของเรามีความสูงพอที่จะนั่งห้อยขาแล้วยาวถึงพื้นพอดี หรือโตพอที่จะนั่งตั้งตัวตรงได้แล้วเพราะจะสามารถที่จะทรงตัวได้เองในรถ
- เข็มขัดนิรภัยสามารถที่จะรัดตรงส่วนกระดูกเชิงกรานของได้พอดี จะต้องไม่รัดอยู่ที่ช่วงหน้าท้อง ขณะเดียวกันหากต้องขาดเข็มขัดนิรภัยส่วนบ่าจะต้องพาดตรงส่วนหน้าอก ไม่ผ่านบริเวณตรงแขนหรือบริเวณคอของลูก
- เมื่อลูกอายุ 8 ขวบหรือมีความสูงเกิน 150 เซนติเมตรขึ้นไป และสามารถรัดเข็มขัดได้อย่างถูกต้องแล้ว
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- เตือนพ่อแม่ นั่งเบาะหลังไม่คาดเข็มขัดอันตราย
- บูสเตอร์ซีท สำคัญกับชีวิตลูกกว่าที่คิด
- กิจกรรมการเล่นสร้างความสัมพันธ์กับลูกตอนอยู่ในรถ
- Kid Safety รักลูก..อย่าให้ลูกนอนเบาะนอนสำหรับเด็กในรถยนต์
บทความโดย: พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด