ฟันแท้หลุด ใส่คืนได้ หรือไม่? …หากลูกวัยซนของคุณแม่ ประสบอุบัติเหตุ ทำให้ฟันแท้ที่เพิ่งขึ้นไม่นาน ต้องหลุดออกจากเบ้าฟันขึ้นมา เชื่อไหมคะว่า หากเก็บและดูแลอย่างถูกต้อง สามารถนำฟันกลับมาต่อให้เหมือนเดิมได้ค่ะ เรื่องนี้ ทพญ.อาทิตยา กายพันธุ์เลิศ ทันตแพทย์สำหรับเด็กจะมาให้ความรู้ที่ถูกต้อง เมื่อลูกรักมีเหตุให้ฟันแท้หลุดออกมาทั้งซี่ โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติ และปฏิบัติดังนี้ค่ะ
รู้หรือไม่? ลูก ฟันแท้หลุด ใส่คืนได้
ก่อนอื่นถ้าคุณแม่พบว่า ลูกฟันแท้หลุด อย่าตกใจ รีบสำรวจในช่องปาก ถ้าพบว่าฟันหลุดออกมาจากเบ้ากระดูก รีบหาฟันให้พบโดยเร็ว โดยจับฟันอย่างเบามือและพยายามจับที่ตัวฟัน ห้ามจับรากฟัน เพราะอาจทำให้เซลล์เสียหาย ซึ่งจะทำให้การปลูกฟันไม่ประสบความสำเร็จ แล้วให้ปฏิบัติดังนี้
- หาฟันให้เจอ เมื่อเจอแล้วให้ใช้นิ้วจับที่ตัวฟัน (ส่วนสีขาว) ไม่จับที่รากฟัน (ส่วนสีเหลือง)
- ให้ใส่ฟันกลับเข้าที่ทันที ถ้าเป็นไปได้
- ในกรณีฟันมีสิ่งสกปรกติดอยู่ จับตัวฟันที่หลุดแล้วรีบนำไปล้าง โดยให้เปิดก๊อกน้ำ แล้วนำฟันไปผ่านน้ำสะอาดเบาๆ ประมาณ10 วินาทีและใส่ฟันกลับเข้าที่เดิม ซึ่งขั้นตอนนี้สามารถทำได้โดยตัวเด็กเองหรือผู้ใหญ่ กรณีนี้เวลาล้างห้ามขัด ถู ฟันซี่นั้นเด็ดขาด เนื่องจากการขัดถูจะทำอันตรายเซลล์ที่ผิวรากฟัน แค่ผ่านน้ำสะอาดเบาๆ ก็พอ
- ใส่ฟันให้เข้าที่เดิมและให้เด็กกัดผ้าเช็ดหน้าเพื่อให้ฟันคงอยู่ในตำแหน่งและรีบไปพบทันตแพทย์ทันที
อ่านต่อ >> “วิธีใส่ฟันแท้ให้ลูก เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุดออกมา” คลิกหน้า 2
อ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ คลิก!
- ประโยชน์จากฟันน้ำนมของลูกน้อยที่พ่อแม่ไม่เคยรู้มาก่อน!
- ฟันน้ำนมหลุดช้า เป็นเพราะอะไร
- ลูกฟันผุ เสี่ยงโรคหัวใจ ป้องกันด้วยการแปรงฟัน
- ถ้าไม่สามารถใส่ฟันกลับคืนที่ได้ ให้เก็บฟันใน “นมจืด” ยี่ห้อใดก็ได้ (ไม่ใช้นมหวาน นมเปรี้ยว โยเกิร์ต หรืออื่นๆ) เนื่องจากนมจืดมีคุณสมบัติสามารถคงความมีชีวิตของเซลล์ที่ผิวรากฟันได้และหาได้ง่าย
- ถ้าไม่สามารถหานมได้ น้ำเกลือล้างแผลจะมีคุณสมบัติดีรองลงมา
- ในกรณีไม่สามารถหานมและน้ำเกลือล้างแผลได้จริง ๆ ให้ลูกอมฟันที่หลุดไว้ในปากบริเวณกระพุ้งแก้มไว้ก่อน แล้วรีบไปพบทันตแพทย์ทันที
- กรณีลูกยังเล็ก หรือเด็กไม่ให้ความร่วมมือในการอมฟันไว้ในปาก สามารถบ้วนน้ำลายใส่ถุงพลาสติกไว้ แล้วนำฟันมาแช่ จากนั้นพาลูกและถุงเก็บฟันไปพบทันตแพทย์ทันที
- หลีกเลี่ยงการเก็บฟันที่หลุดแช่ในน้ำเปล่า
- รีบไปพบทันตแพทย์ทันทีภายใน 2 ชั่วโมง ถ้าให้ดีคือภายใน 30 นาทีหลังเกิดเหตุ “ ยิ่งไปพบทันตแพทย์เร็วมากเท่าไร โอกาสเก็บฟันไว้ได้ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น“
ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กอมฟันไว้ในปาก เพราะเด็กอาจจะกลืนฟันลงไป ถ้าไม่มีถ้วยหรือภาชนะสะอาด และอมไว้ในปากไม่ได้ ให้บ้วนน้ำลายใส่ชายเสื้อหรือผ้าจนเปียกดี แล้วห่อไว้ อย่าให้ฟันแห้ง อวัยวะภายในของคนเราแห้งไม่ได้ ถ้าแห้งแล้วส่วนนั้นจะตาย
ทั้งนี้การใส่ฟันที่หลุดกลับคืนไปมักจะต้องทำการรักษาช่องรากฟัน (root canal treatment) และใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อให้เอ็นขนาดจิ๋วบริเวณโคนฟันยึดฟันติดกับขากรรไกรได้ดี แต่โอกาสที่จะใส่ฟันกลับคืนได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ ฯลฯ เด็กที่อายุน้อยมีโอกาสใส่ฟันกลับคืนให้ดีดังเดิมมากกว่าผู้ใหญ่
>> แต่หากฟันที่หลุดออกมาเป็นฟันน้ำนม จะไม่สามารถนำกลับใส่เบ้าฟันได้ แต่ผู้ป่วยยังจำเป็นต้องได้รับการตรวจเช่นกัน ว่ามีอันตรายเกิดขึ้นกับหน่อฟันแท้ข้างล่างหรือฟันข้างเคียงหรือไม่
อ่านต่อ >> “วิธีรักษาฟันให้ลูก เมื่อเกิดอุบัติเหตุหลุดออกมา จากคุณหมอ” คลิกหน้า 3
อ่านบทความน่าสนใจอื่นๆ คลิก!
- พ่อแม่ไม่บังคับลูกแปรงฟัน สุดท้ายต้องถอนฟัน
- 7 STEP หนูน้อยฟันสวยด้วยมือคุณแม่ (มีคลิป)
- เตือนลูกฟันผุ พัฒนาการล่าช้า-เตี้ยแคระแกร็น
คุณหมอฟัน ช่วยรักษาได้
ข้อสำคัญคือ เมื่อลูกฟันหลุด ต้องมาพบทันตแพทย์ทันที หลังจากที่คุณพ่อคุณแม่พาลูกมาพบทันตแพทย์ พร้อมนำฟันที่หลุดของลูกมาด้วย คุณหมอฟันจะทำการตรวจฟันและถ่ายภาพรังสีเพื่อวินิจฉัยการบาดเจ็บของฟันและกระดูกรองรับรากฟันและทำการรักษา โดยทำความสะอาดฟันที่หลุดออกมาและใส่กลับคืนเบ้าฟัน ซึ่งทันตแพทย์จะยึดฟันไว้ชั่วคราว ร่วมกับรักษารากฟันและติดตามผลการรักษาเป็นระยะต่อไป บางครั้งอาจต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักด้วย ถ้าฟันสกปรกมากหรือมีบาดแผลที่สัมผัสกับสิ่งสกปรก ซึ่งผู้ปกครองควรทำตามคำแนะนำของทันตแพทย์และมาติดตามดูอาการตามนัด เพื่อให้ฟันซี่ที่หลุดสามารถกลับมาใช้งานได้ดังเดิมค่ะ
แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานความสำเร็จของการปลูกฟันกลับสู่เบ้าฟันของฟันที่โยกอยู่ก่อนที่จะได้รับอุบัติเหตุ หรือฟันที่หลุดออกจากเบ้าฟันด้วยสาเหตุจากปริทันต์อักเสบ เนื่องจากอวัยวะปริทันต์ที่จำเป็นต่อการยึดฟันเกิดความเสียหายไปมากแล้ว ดังนั้น ทันตแพทย์อาจพิจารณาไม่ปลูกฟันกลับคืนสู่เบ้าฟันในกรณีนี้
Good to know อวัยวะปริทันต์ คือ กลุ่มของเนื้อเยื่อที่ทำหน้
โรคปริทันต์ (periodontal disease) คือ โรคที่มีการอักเสบของอวัยวะ
แต่อย่างไรก็ดี แนะนำคนไข้เข้าพบทันตแพทย์เ
เพราะอุบัติเหตุ คือสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน และเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เป็นสิ่งที่ป้องกันได้ หรือหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว หากรู้วิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง ก็จะทำให้อุบัติเหตุนั้นคลี่คลายด้วยดีที่สุดได้
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- หมอฟันอึ้ง! เด็ก 3 ขวบ ฟันผุแทบหมดปาก มาดูกันว่าเป็นเพราะอะไร..
- 15 ประโยชน์ ของ ยาสีฟัน ที่ใช้ได้สารพัดอย่าง
- ฝึกลูก เลิกขวดนมง่ายๆ ภายใน 1 ขวบ!! ป้องกันฟันผุ
เอกสารอ้างอิง
- http://www.aapd.org/media/Policies_Guidelines/E_Avulsion.pdf
- https://www.iadt-dentaltrauma.org/1-9%20%20iadt%20guidelines%20combined%20-%20lr%20-%2011-5-2013.pdf
- http://dentaltraumaguide.org/Permanent_Avulsion_Treatment.aspx
- http://www.iadt-dentaltrauma.org/for-patients.html
- http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3198546/