ไข้ทับระดู ไม่ใช่อาการป่วยไข้ทั่วไป แต่อันตรายถึงชีวิต! - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ไข้ทับระดู

ไข้ทับระดู ไม่ใช่อาการป่วยไข้ทั่วไป แต่อันตรายถึงชีวิต!

Alternative Textaccount_circle
event
ไข้ทับระดู
ไข้ทับระดู

ไข้ทับระดูห้ามกินอะไร?

อาหารที่ทานในขณะที่เป็นไข้ทับระดู มีส่วนทำให้อาการไข้แย่ลงหรือดีขึ้นได้ 5 อาหารนี้ ควรหลีกเลี่ยงเมื่อเป็นไข้ทับระดู

  1. น้ำเย็น และน้ำแข็ง เพราะอาจจะทำให้ประจำเดือนหยุดไหล หรืออาจทำให้เกิดอาการช็อกได้ เพราะร่างกายอ่อนแอ และปรับอุณหภูมิไม่ทัน
  2. น้ำมะพร้าว น้ำมะพร้าวไม่ได้มีผลกระทบใด ๆ ต่อประจำเดือน เพียงแต่การทานยาเพื่อบรรเทาอาการไข้หรืออาการปวดนั้น หากกินพร้อมกับน้ำผลไม้ โดยเฉพาะน้ำมะพร้าว อาจลดประสิทธิภาพยาที่กินเข้าไปได้ นอกจากนี้ ในช่วงที่มีประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง การดื่มน้ำมะพร้าวที่ทำให้ให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิงเพิ่มขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายปั่นป่วนมากขึ้นได้
  3. แตงกวา มีฤทธิ์เย็น การที่ร่างกายได้รับอาหารที่มีฤทธิ์เย็นในช่วงที่ร่างกายแปรปรวนนั้น อาจทำให้เกิดอาการช็อกได้
  4. ลำไย ขนุน เป็นผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อนมาก การทานผลไม้ที่มีฤทธิ์ร้อน เป็นการไปเสริมให้อุณหภูมิของร่างกายที่สูงอยู่แล้วจากอาการไข้ยิ่งสูงหนักขึ้น และไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ นอกจากนี้ยังคงมีผลต่อระบบการย่อยอาหารอีกด้วย
  5. อบเชย นอกจากจะทำให้ร่างกายร้อนกว่าเดิมแล้ว ยังทำให้ประจำเดือนออกมามากกว่าปกติอีกด้วย

ไข้ทับระดูต้องกินยาอะไร?

สำหรับสาว ๆ ที่เป็นไข้ทับระดูชนิดที่ไม่มีภาวะอื่นแอบแฝง การรักษา การกินยา และการดูแลตัวเองนั้น ก็เหมือนการรักษาตัวเองในขณะที่เป็นไข้หวัดทั่วไป คือ รักษาตามอาการ โดยทานยาแก้ไข้เมื่อมีอาการปวดศีรษะหรือตัวร้อน ทานยาแก้ปวดประจำเดือนเมื่อมีอาการปวดท้องน้อย นอกจากนี้การดูแลรักษาความสะอาดอวัยวะเพศด้วยการเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ ทุก 4 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ การดื่มน้ำอุ่นเพื่อขับพิษไข้ จะได้ระบายออกมาทางเหงื่อและปัสสาวะ และใช้ถุงน้ำร้อนประคบที่ท้อง เพื่อให้เลือดประจำเดือนขับออกมาได้คล่องตัวขึ้น ก็จะช่วยบรรเทาอาการไข้ทับระดูได้เช่นกัน

ไข้ทับฤดู
ไข้ทับฤดู

และสำหรับสาว ๆ ที่สงสัยว่าจะเป็นไข้ทับระดูที่มีสภาวะโรคแอบแฝงนั้น ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อสอบถามซักประวัติผู้ป่วยและประวัติการใช้ยา รวมถึงประวัติการมีเพศสัมพันธ์ โดยแพทย์จะทำการตรวจภายในเพื่อตรวจดูตกขาวที่ผิดปกติ และเก็บเชื้อจุลินทรีย์จากสารคัดหลั่งที่อยู่ภายในช่องคลอดและปากมดลูก เพื่อตรวจหาชนิดของเชื้อโรค ร่วมกับการตรวจเลือดกับปัสสาวะ ตรวจอัลตราซาวด์ว่าตั้งครรภ์หรือไม่ สำหรับประกอบคำวินิจฉัยโรค เมื่อทราบถึงแนวทางการรักษาแล้ว ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด รวมถึงงดมีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะรักษาหายขาด

ไข้ทับระดู ป้องกันได้อย่างไร?

การป้องกันที่ดีที่สุดคือการใส่ใจสุขภาพในช่วงที่มีประจำเดือน เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรงแล้ว ก็จะเป็นเกราะป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดโรคร้ายตามมาได้ ดังนั้น ในช่วงที่มีประจำเดือน ควรปฏิบัติดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ลดกิจกรรมประจำวันลง
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ย่อยง่าย เช่น พืชผักพลไม้ต่าง ๆ
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ละเว้นการสูบบุหรี่
  • เปลี่ยนผ้าอนามัยไม่ต่ำกว่า 2 ชิ้นในหนึ่งวันเพื่อความสะอาดของสุขอนามัยส่วนตัว
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน เพราะมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อร้ายสูง เนื่องจากเวลาที่มีประจำเดือน ปากมดลูกจะเปิด เลือดจึงเป็นอาหารชั้นดีหล่อเลี้ยงแบคทีเรียให้เจริญเติบโต เมื่อเกิดการติดเชื้อจึงทำให้โรคค่อนข้างรุนแรง เกิดเป็นไข้ทับระดูขึ้น

อย่างที่ทราบกันดีว่าช่วงที่มีประจำเดือนเป็นช่วงที่ร่างกายอ่อนแอ สามารถเจ็บป่วยได้ง่าย หากเป็นการเจ็บป่วยจากเชื้อโรคทั่ว ๆ ไป ก็ยังสามารถรักษาให้หายได้ภายในไม่กี่วัน แต่หากเจ็บป่วยจากเชื้อโรคชนิดที่ร้ายแรง ก็อาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น สาว ๆ จึงควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองทุกครั้งที่มีประจำเดือน หากมีอาการผิดแปลกไปจากเดิม ร่วมกับการมีไข้ ก็ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะการรู้และรักษาแต่เนิ่น ๆ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ดียิ่งขึ้น

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

10 สัญญาณเตือน มะเร็งปากมดลูก

เตือน!! ผักดิบ 9 อย่าง กินมากไปอาจได้โทษ พร้อมวิธีลวกผักให้เขียวกรอบน่ากิน

เตือนแม่!! 11 ภาชนะ ห้ามใส่อาหารเข้าอุ่นไมโครเวฟ อันตรายต่อสุขภาพลูกน้อย

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : รศ.นพ.วิชัย เติมรุ่งเรืองเลิศ อาจารย์ประจำภาควิชาสูติศาสตร์-นารีเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Mthai, Honestdocs

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up