AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ระวัง! โรคหัด ระบาด ทำเด็กตาย…แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนฟรี

โรคหัด ระบาด ใน จ. ยะลา ทำเด็กเสียชีวิตไปแล้ว 6 ราย

แม่ๆ พาลูกไปฉีด วัคซีนโรคหัด กันรึยัง? เพราะตอนนี้ โรคหัด ระบาด หนัก ใน จ.ยะลา มีผู้ป่วยพุ่งสูงเกือบ 500 ราย และมีเด็กเสียชีวิตจาก โรคหัด ระบาด นี้ไปแล้ว 6 คน

โรคหัด ระบาด ใน จ. ยะลา ทำเด็กเสียชีวิตไปแล้ว 6 ราย

โรคหัด ถือเป็น โรคไข้ออกผื่น ชนิดหนึ่งที่พบมากในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูร้อน ซึ่ง โรคหัด นี้ ก็เริ่มระบาดหนักในพื้นที่จังหวัดยะลา ตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมาแล้ว และหนักสุดในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยทางสำนักงานสาธารณสุข จ.ยะลา ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงรายงานสถานการณ์ โรคหัด ระบาด ในพื้นที่ ตั้งแต่ 1 ก.ย. – 15 ต.ค. 61 ว่า..

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

ซึ่งสถานการณ์ โรคหัด ระบาด มีกระจายทุกอำเภอใน จ.ยะลา โดยพบผู้ป่วยสูงสุด คือ

ทั้งนี้ทางสำนักงานสาธารณสุข จ.ยะลา ได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินฯ โรคหัด ขึ้น (EOC) พร้อมทั้งควบคุมการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ จ.ยะลา ด้วยมาตรการ 3 2 3 “หาให้ครบ ฉีดให้ทัน” โดยมีเครือข่ายบริการลงพื้นที่เชิงรุกฉีดวัคซีนแก่กลุ่มเป้าหมายผู้สัมผัสโรคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมามีการซีดวัคซีนไปแล้วกว่า 5,000 โดส

 

อ่านต่อ “โรคหัด ไข้ออกผื่น อันตรายที่คุกคามลูกรักได้ทุกเวลา” คลิกหน้า 2

โรคหัด ระบาด เกิดจาก?

โรคหัด (Measles) คือ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยพบว่ามีอัตราการติดต่อสูงถึงร้อยละ 90 ซึ่งสูงกว่า โรคไข้หวัดใหญ่ ซะอีก  ซึ่งเชื้อของ โรคหัด คือ ไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศ หรือการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจก่อนแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย

ซึ่ง โรคหัด ระบาด ถือเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน โดยไม่พบการแพร่เชื้อดังกล่าวในสัตว์ ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็ก รวมทั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของเด็ก ที่ถึงแม้จะมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคแล้วก็ตามอีกด้วย

Must read : โรคหัด หัดเยอรมัน ต่างกันอย่างไร

ลักษณะผื่นหัด

อาการโรคหัด

โดยทั่วไปแล้ว จะเกิดอาการของโรคภายใน 14 วันหลังจากได้รับเชื้อไวรัส  ดังนี้

สาเหตุของโรคหัด

โรคหัด จัดเป็นโรคติดต่อที่มีโอกาสติดเชื้อได้สูง การติดโรคนั้นเกิดจากการรับเชื้อไวรัสผ่านทางอากาศ จากการสัมผัสละอองน้ำลาย น้ำลาย และน้ำมูกของผู้ป่วย ซึ่งช่วง 4 วันทั้งก่อนและหลังเกิดผื่นนั้นถือเป็นระยะเวลาของการแพร่เชื้อ โดยเชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจและแพร่ไปทั่วร่างกาย ทำให้ป่วยเป็นโรคหัด โดย 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ไม่ได้รับ วัคซีนโรคหัด มีโอกาสป่วยเป็นโรคหัดได้หากอยู่ใกล้ผู้ป่วยที่เป็นโรค

ผู้ที่เสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโรคหัดนั้นมีอยู่หลายกลุ่ม โดยทั่วไปแล้ว เด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนโรคหัด มักเสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและเสียชีวิตมากที่สุด โดยเด็กที่ไม่ได้รับสารอาหารจำพวกวิตามิน A อย่างเพียงพอจะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตได้สูง  นอกจากนี้ คุณแม่ท้องที่ไม่ได้รับวัคซีนและได้รับเชื้ออาจเสี่ยงต่อการแท้งบุตรหรือคลอดก่อนกำหนดได้ ส่วนผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเนื่องจากภูมิต้านทานถูกทำลายอย่างผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV และเอดส์ รวมทั้งผู้ที่ขาดสารอาหารนั้น จะป่วยเป็นโรคหัดอย่างรุนแรงเมื่อได้รับเชื้อ

อ่านต่อ >> “โรคหัดระบาด ทำคนตายได้เพราะอะไร” คลิกหน้า 3

โรคแทรกซ้อนระหว่างเป็นหัด

เมื่อเป็นโรคหัด ภูมิต้านทานโรคในร่างกายของเราจะอ่อนแอลง เนื่องจากเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้

ระบบของร่างกายไม่ว่าระบบใด หากมีความผิดปกติขึ้นมาย่อมมีผลกระทบต่อร่างกายไม่ใช่น้อย ดังนั้นถ้าเริ่มมีอาการควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อกันไม่ให้โรคแทรกซ้อนเหล่านี้เกิดขึ้น

การรักษาโรคหัด

แม้จะยังไม่มีตัวยาหรือวิธีทางการแพทย์ ที่ได้รับการระบุว่าสามารถรักษาและกำจัดเชื้อไวรัสของโรคหัดได้อย่างเฉพาะเจาะจง …แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองให้อาการทุเลาลงได้ด้วยการ

และอาจให้วิตามินเอเสริมให้กับร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีคุณหมออาจสั่งจ่ายยาลดไข้ที่ไม่ใช่ยาแอสไพรินอย่างยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ เด็กที่เป็นโรคหัดที่เริ่มมีผื่นขึ้นควรอยู่ในบ้าน ไม่ไปโรงเรียน หรือพบปะผู้คนตามที่สาธารณะเป็นเวลาอย่างน้อย  4 วันหลังจากผื่นเริ่มปรากฏ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้คนรอบข้าง

ทั้งนี้หากลูกทารก หรือเด็กเล็ก ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรค มะเร็ง หรือโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอได้รับเชื้อไวรัสโรคหัด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลอย่างใกล้ชิดทันที ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12  ปีที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวรับประทานยาแอสไพรินเพื่อลดไข้ เพราะเด็กอาจจะเกิดอาการแพ้ยาที่เรียกว่ากลุ่มอาการราย (Reye’s Syndrome) ซึ่งทำให้ตับและสมองบวม เมื่อเกิดอาการดังกล่าว เด็กจะอาเจียนทันที อ่อนเพลีย หมดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว พูดหรือทำอะไรที่แปลกไปจากเดิม และมักนอนซม หากตับและสมองถูกทำลายไปเรื่อย ๆ เด็กจะเกิดอาการสับสนมึนงง หายใจหอบเร็ว แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดอาการชัก และหมดสติ ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจหายจากอาการได้อย่างปลอดภัย

การป้องกันโรคหัด

กรมควบคุมโรคขอแนะนำว่า โรคหัด ระบาด นี้ เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปรับวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) ได้ฟรีที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย ตามกำหนดให้ครบ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9-12 เดือน และ 2 ปีครึ่ง รวมทั้งควรให้ลูกอยู่ให้ห่าง หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคหัดด้วยจะเป็นการดีที่สุด

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลจาก : workpointnews.com , www.pobpad.com , www.sanook.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids