ระวัง! โรคหัด ระบาด ทำเด็กตาย...แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนฟรี - Page 3 of 3 - Amarin Baby & Kids
โรคหัด ระบาด

ระวัง! โรคหัด ระบาด ทำเด็กตาย…แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนฟรี

event
โรคหัด ระบาด
โรคหัด ระบาด

โรคแทรกซ้อนระหว่างเป็นหัด

เมื่อเป็นโรคหัด ภูมิต้านทานโรคในร่างกายของเราจะอ่อนแอลง เนื่องจากเชื้อไวรัสเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสสูงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนได้

  • ระบบทางเดินอาหาร อุจจาระร่วง ไส้ติ่งอักเสบ ตับอักเสบ
  • ระบบทางเดินหายใจ
  • กล่องเสียงอักเสบ
  • หูส่วนกลางอักเสบ มักเกิดในเด็กเล็ก อาจมีผลต่อการได้ยินของเด็กได้
  • ระบบประสาท
  • สมองอักเสบ ถึงโอกาสเกิดจะมีน้อย แต่ถ้าเกิดขึ้นอาจทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้

ระบบของร่างกายไม่ว่าระบบใด หากมีความผิดปกติขึ้นมาย่อมมีผลกระทบต่อร่างกายไม่ใช่น้อย ดังนั้นถ้าเริ่มมีอาการควรรีบพบแพทย์โดยด่วน เพื่อกันไม่ให้โรคแทรกซ้อนเหล่านี้เกิดขึ้น

โรคหัด ระบาด

การรักษาโรคหัด

แม้จะยังไม่มีตัวยาหรือวิธีทางการแพทย์ ที่ได้รับการระบุว่าสามารถรักษาและกำจัดเชื้อไวรัสของโรคหัดได้อย่างเฉพาะเจาะจง …แต่ผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองให้อาการทุเลาลงได้ด้วยการ

  • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
  • พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันร่างกาย
  • อยู่ในที่แห้งอุณหภูมิพอเหมาะเพื่อลดอาการไอบ่อยและเจ็บคอ

และอาจให้วิตามินเอเสริมให้กับร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีคุณหมออาจสั่งจ่ายยาลดไข้ที่ไม่ใช่ยาแอสไพรินอย่างยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาพาราเซตามอล (Paracetamol) เพื่อช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ เด็กที่เป็นโรคหัดที่เริ่มมีผื่นขึ้นควรอยู่ในบ้าน ไม่ไปโรงเรียน หรือพบปะผู้คนตามที่สาธารณะเป็นเวลาอย่างน้อย  4 วันหลังจากผื่นเริ่มปรากฏ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้คนรอบข้าง

ทั้งนี้หากลูกทารก หรือเด็กเล็ก ผู้ที่ป่วยเป็นวัณโรค มะเร็ง หรือโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอได้รับเชื้อไวรัสโรคหัด ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการดูแลอย่างใกล้ชิดทันที ที่สำคัญไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12  ปีที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าวรับประทานยาแอสไพรินเพื่อลดไข้ เพราะเด็กอาจจะเกิดอาการแพ้ยาที่เรียกว่ากลุ่มอาการราย (Reye’s Syndrome) ซึ่งทำให้ตับและสมองบวม เมื่อเกิดอาการดังกล่าว เด็กจะอาเจียนทันที อ่อนเพลีย หมดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว พูดหรือทำอะไรที่แปลกไปจากเดิม และมักนอนซม หากตับและสมองถูกทำลายไปเรื่อย ๆ เด็กจะเกิดอาการสับสนมึนงง หายใจหอบเร็ว แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เกิดอาการชัก และหมดสติ ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจหายจากอาการได้อย่างปลอดภัย

การป้องกันโรคหัด

กรมควบคุมโรคขอแนะนำว่า โรคหัด ระบาด นี้ เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกน้อยไปรับวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (MMR) ได้ฟรีที่โรงพยาบาลหรือสถานีอนามัย ตามกำหนดให้ครบ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9-12 เดือน และ 2 ปีครึ่ง รวมทั้งควรให้ลูกอยู่ให้ห่าง หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโรคหัดด้วยจะเป็นการดีที่สุด

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก :


ขอบคุณข้อมูลจาก : workpointnews.com , www.pobpad.com , www.sanook.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up