โรคหัดในเด็ก เป็นโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 6 ปี รวมถึงผู้ใหญ่ หรือคนท้องบางคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีน ป้องกันโรคหัดมาก่อนก็มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน เพราะการติดต่อของโรคสามารถติดต่อกันได้ง่ายเพียงแค่การสัมผัสกัน โดยตรงกับผู้ป่วยโรคหัด ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลของ “หัด” โรคที่พ่อแม่ควรระวังในลูกเล็กๆ มาฝากกันค่ะ
โรคหัดในเด็ก ภัยสุขภาพที่ต้องระวังในเด็กเล็ก
เป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจกันอย่างเนื่องกับการเจ็บป่วยด้วย โรคหัดในเด็ก ที่ทางสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคหัด ที่มีผู้ป่วยเกินครึ่งเป็นเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 ปี และจังหวัดที่มีการเจ็บป่วยด้วย โรคนี้มากที่สุดก็คือ นราธิวาส ยะลา ปัตตานี ภูเก็ต และกรุงเทพมหานคร
บทความแนะนำ ไข้เลือดออกเดงกี โรคระบาดที่มากับฤดูฝน
สำหรับโรคหัด หรือที่เรียกว่าโรคไข้ออกผื่น สามารถพบได้บ่อยในเด็กเล็ก และถ้าหากเด็กๆ ที่ป่วยมี อาการแทรกซ้อนของ โรคก็อาจทำให้ได้รับอันตรายร้ายแรงทางสุขภาพจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ค่ะ คุณพ่อคุณแม่หลายๆ ครอบครัวที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่าเพราะอะไรเด็กๆ ถึงเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ได้ โรคหัดในเด็กเล็กนั้นเกิดจากเชื้อไวรัส measles ซึ่งเป็นไวรัสที่พบได้ในจมูก และลำคอของผู้ป่วย
ซึ่งจะมีอาการแสดงของโรคให้ทราบได้ดังนี้ค่ะ
มีไข้ น้ำมูกไหล ไอ ตาแดง ตาแฉะ และกลัวแสง
มีไข้สูงขึ้นเมื่อมีผื่นขึ้นส่วนใหญ่จะปรากฎอาการในวันที่ 4 ของการป่วย
มีผื่นนูนแดงติดกันเป็นปื้นๆ ขึ้นที่หน้า บริเวณชิดขอบผม แล้วแผ่กระจายไปตามลำตัว แขน ขา
อ่านต่อ อาการแทรกซ้อนจากโรคหัด ที่ต้องระวังให้ลูก คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โรคหัดในเด็ก กับอาการแทรกซ้อนที่ต้องระวัง!
อย่างที่เกริ่นให้คุณพ่อคุณแม่ทราบกันไปในเบื้องต้นแล้วว่าโรคหัดนั้นสามารถติดต่อกันได้เพียงแค่อยู่คลุกคลี หรือสัมผัสกับผู้ป่วยโรคนี้ และเมื่อเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่ยังมีภูมิคุ้มกันโรคที่ไม่แข็งแรง เมื่อเป็นหัดแล้วอาจเกิดอาการแทรกซ้อนขึ้นได้ ซึ่งที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ก็คือ
1. ทางระบบทางเดินหายใจ คือ หูส่วนกลางอักเสบ (otitis media), หลอดลมอักเสบ croup และปอดอักเสบ
2. ทางระบบทางเดินอาหาร พบอุจจาระร่วง ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะทุพโภชนาการ
3. สมองอักเสบพบได้ประมาณ 1 ใน 1000 ราย ซึ่งจะทำให้มีความพิการเหลืออยู่ ถ้าไม่เสียชีวิต
4. ในเด็กที่มีภาวะขาดวิตามินเอ อาการจะรุนแรงและอาจทำให้มีตาบอด[1]
และสำหรับโรคหัดในเด็ก ส่วนใหญ่แล้วจะให้การรักษาอาการของโรค ดังนี้…
- ให้การรักษาตามอาการ ถ้าไข้สูงมากให้ยาลดไข้เป็นครั้งคราว ร่วมกับการเช็ดตัว ให้ยาแก้ไอที่เป็นยาขับเสมหะได้เป็นครั้งคราว
- ไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ นอกจากรายที่มีโรคแทรกซ้อนเช่น ปอดอักเสบหูอักเสบ
- ให้อาหารอ่อน ให้วิตามินเสริมโดยเฉพาะวิตามินเอ องค์การอนามัยโลกและ unicef แนะนำให้วิตามินเอแก่เด็กที่เป็นหัดทุกรายในพื้นที่ที่มีอุบัติการณ์ของการขาดวิตามินเอสูง และอัตราป่วยตายของโรคหัดเกิน 1% เนื่องจากผลของการศึกษาในประเทศด้อยพัฒนาหลายแห่งแสดงให้เห็นว่าให้วิตามินเอเสริมแก่เด็กที่เป็นหัดจะช่วยลดอัตราตายจากหัดลงได้[2]
บทความแนะนำ ไข้ดำแดง คืออะไร น่ากลัวแค่ไหน พ่อแม่ต้องรู้
คุณพ่อคุณแม่เตือนไว้เสมอว่า หากลูกเล็กๆ หรือคนอื่นๆ ในครอบครัวป่วยเป็นหัด สิ่งที่ต้องทำคือการแยกคนป่วยออกจากคนอื่นในบ้านอย่างน้อย ประมาณ 4 วัน โดยมากแล้วมักจะพักรักษาอาการจนหายเป็นปกติที่โรงพยาบาล เพื่อจะได้รับการดูแลรักษาอาการให้ทุเลา จนหายป่วยดีแล้ว จึงค่อยกลับมาพักฟื้นร่างกายต่อที่บ้านค่ะ
อ่านต่อ การป้องกันโรคหัดที่ดีที่สุดต้องให้ลูกได้รับฉีดวัคซีน คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การป้องกันสุขภาพลูกจากโรคหัด ต้องให้ได้รับฉีดวัคซีนนะ!
การดูแลสุขภาพของลูกให้ห่างไกลจากการเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อต่างๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมให้สุขภาพของลูกๆ ดีได้ด้วยการให้ทานนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด หลังจากนั้นก็ให้ทานอาหารตามวัยที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่อย่างเหมาะสม ที่สำคัญต้องให้ลูกได้รับวัคซีนป้องกันโรคด้วย ที่สามารถรับได้ต้องแต่วัยทารกแรกเกิดเป็นต้นไปจนถึงอายุ 15 ปี หรือตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้สำหรับวันซีนของเด็กไทยค่ะ
วัคซีนหัด-เยอรมัน-คางทูม ต้องได้รับอย่าให้ลูกพลาดเด็ดขาด โดยเริ่มที่…
- ให้วัคซีนครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 2 ½ ปี ในพื้นที่ที่มีรายงานโรคหัดจำนวนน้อย อาจให้ลูกฉีดเข็มแรกหลังอายุ 12 เดือน และฉีดครั้งที่ 2 อายุ 2 ½ – 4 ปี
- ในกรณีที่มีการระบาดหรือสัมผัสโรค อาจฉีดเข็มแรกได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนเป็นต้นไป ในกรณีที่เข็มแรกได้รับก่อนอายุ 9 เดือนให้ฉีดซ้ำเข็มที่ 2 ที่อายุ 12 เดือน และเข็มที่ 3 ที่อายุ 2 ½ -4 ปี
- ในกรณีที่ฉีดเข็มที่ 1 แล้ว และเกิดการระบาดของโรคขึ้น เข็มที่ 2 สามารถให้ก่อนอายุ 2 ½ ปีได้ แต่ต้องให้ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน
- ในกรณีที่ต้องการฉีดวัคซีน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม และอีสุกอีใสในเวลาเดียวกัน สามารถใช้วัคซีนรวม หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม-อีสุกอีใส (MMRV) แทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็มได้ทุกครั้งในเด็กอายุตั้งแต่ 1-12 ปี การใช้วัคซีนรวม MMRV ที่อายุ 2 ½ – 4 ปี แทนการฉีดวัคซีนแบบแยกเข็ม พบมีอาการข้างเคียงไม่แตกต่างกัน
- การใช้วัคซีนรวม MMRV ในเด็กอายุ 12-23 เดือนโด๊สแรกมีโอกาสเกิดการชักจากไข้มากกว่าการฉีดแยกเข็ม สำหรับกรณีที่เคยได้วัคซีน MMR หรือ VZV มาก่อน แนะนำให้วัคซีนรวม MMRV ห่างจากวัคซีน MMR และ VZV ครั้งก่อน อย่างน้อย 3 เดือน
บทความแนะนำ Update! ตารางวัคซีน ประจำปี 2560 สำหรับเด็กไทย
ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลาจะช่วยลดเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ได้มากค่ะ และการป้องกันโรคหัดในเด็กที่ได้ผลดีที่สุด คือ การพาเด็กๆ ไปรับการฉีดวัคซีนให้ครบตามเกณฑ์ 2 ครั้ง ส่วนพ่อแม่ รวมทั้งผู้ใหญ่คนอื่นๆ ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนหัดมาก่อน ก็สามารถฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันได้เช่นกันค่ะและหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคหัดสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
โรคหน้าฝนในเด็ก ที่พ่อแม่ควรระวัง
ไข้เลือดออกเดงกี โรคระบาดที่มากับฤดูฝน
โรคมือเท้าปาก สาเหตุ อาการ และการรักษาที่ถูกต้อง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
[1],[2]สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข