กระดูกหัก เพราะใส่กระโปรงยาว อุบัติเหตุไม่คาดฝันที่ทำให้ลูกสาววัยหัดเดินขาขวาหักทันที ต้องเข้าเฝือก นอนถ่วงน้ำหนัก นานนับเดือน แม่โพสต์เตือนอุ้มเด็กเล็กต้องระวัง อันตรายอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด
เตือนแม่ ใส่กระโปรงยาว สะดุดล้ม ทำลูก 10 เดือนขาหักทันที
ใครจะคิดว่า ชุดโปรดหรือเสื้อผ้าของคุณแม่จะทำให้ลูกได้รับบาดเจ็บร้ายแรงได้ แต่แค่เราประมาทเพียงนิด อุบัติเหตุก็เกิดขึ้นง่ายๆ แบบไม่ทันตั้งตัว เหมือนกับเรื่องที่เกิดขึ้นคุณแม่ท่านหนึ่งที่ใช้ชื่อเฟสบุ๊กว่า Memory Love โพสต์เล่าเรื่องราวเป็นอุทาหรณ์ไว้ในกลุ่ม “คุณแม่ลูกอ่อน” ว่า
#สงสารลูกสาวมากๆค่ะ ไม่รู้จะบรรยายยังไง ทำไมต้องเกิดกับลูกเรา ลูกเเม่เเค่ 10 เดือน 21 วันเองค่ะ เเต่อุบัติเหตุก้อไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น
ป้าน้องอุ้มน้อง สะดุดกระโปรงล้มทั้งป้าทั้งหลาน จังหวะทีล้มลงป้าทับขาหลาน ทำให้หลานขาหัก ต้องใส่เฝือก 1 เดือนค่ะเเม่ๆทุกคนไม่อยากให้เกิด เเต่มันเกิดขึ้นเเล้วก็ต้องยอมรับมัน #ไว้เป็นอุทาหรณ์ให้เเม่ๆค่ะเเค่เสี้ยววินาทีเดียว
คุณแม่ได้เล่าให้ฟังทาง Amarin Baby & Kids เพิ่มเติมว่า เหตุการณ์การเกิดขึ้นที่บ้านของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ลูกสาวอยู่กับป้าที่บ้าน หลังคุณพ่อกลับจากการละหมาดที่มัสยิดมารับลูกสาว จึงขอให้ป้าอุ้มลูกมาหาหน้าบ้าน ด้วยความเร่งรีบบวกกับชุดกระโปรงยาวในแบบผู้หญิงมุสลิม จึงสะดุดล้มลงพร้อมกับลูกสาว ตอนแรกลูกไม่ร้องเลย ก็ไม่คิดว่าจะทำให้ กระดูกหัก เพราะป้องรับตัวน้องไว้ทัน แต่ผ่านไปเพียง 5 นาทีถึงเอามือจับที่ขาแล้วร้องไม่หยุด พอไปถึงโรงพยาบาลถึงรู้ว่า กระดูกหน้าแข้งหัก
คุณหมอสั่งแอดมิททันที ต้องเข้าเผิอกครึ่งตัว ทั้งขาสองข้างมาจนถึงช่วงเอว และมีไม้ด้ามด้านหน้าไว้เพื่อไม่ให้ขยับ โดยต้องนอนอยู่นิ่งๆ เพื่อถ่วงน้ำหนักเอาไว้นานถึง 7 วัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลยสำหรับเด็กอายุเพียง 10 เดือน ที่กำลังอยู่ในวัยหัดเดิน แถมยังต้องอยู่กับเฝือกไปอีก 1 เดือนเต็ม
แม้น้องจะไม่มีอาการผวาหลังเกิดเหตุการณ์ แต่รู้สึกกลัวทุกครั้งที่คุณป้าเข้ามาใกล้หรือขออุ้ม เพราะจำได้ว่าเป็นคนทำให้เขาเจ็บ ถึงวันนี้น้องถอดเฝือกออกแล้ว แต่ยังไม่กล้าลุกเดินใช้วิธีคลานเหมือนกลัวเจ็บ
รู้ได้อย่างไรว่าลูก กระดูกหัก
เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและไม่รุนแรงมาก อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตได้ยากว่าลูก กระดูกหัก หรือไม่ เนื่องจากเด็กๆยังไม่สามารถบอกความรู้สึก บอกอาการได้อย่างถูกต้อง โดยเฉพาะเด็กวัยทารกที่ยังพูดไม่ได้ จึงจำเป็นต้องเช็กอาการเบื้องต้นของกระดูกหักได้ดังต่อไปนี้
*เจ็บบริเวณที่ถูกจับหรือบีบ ถ้าเป็นเด็กเล็กที่ทนความเจ็บไม่ได้ มักร้องงอแงเป็นเวลานาน
*บริเวณที่กระดูกหักจะมีอาการบวมแดง มีรอยช้ำหรือห้อเลือด
*สีผิวตรงจุดที่หักคล้ำขึ้นอย่างชัดเจน อาจรู้สึกชาซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เส้นประสาทใกล้กระดูกได้รับความเสียหายด้วย
*เด็กจะไม่ยอมลุกขึ้น หรือขยับส่วนที่เจ็บ เช่น ยืนไม่ได้ เดินไม่ได้ หรือยืดแขนตรงไม่ได้
*ถ้าประสบอุบัติเหตุรุนแรง กระดูกจะบิดเบี้ยวผิดรูป หรือโผล่ออกนอกผิวหนัง
*ได้ยินเสียง กระดูกหัก “แกร๊บ” อย่างชัดเจน
อย่างไรก็ตาม การสังเกตด้วยตาเปล่าอาจระบุชัดเจนไม่ได้ว่ากระดูกหักหรือไม่ หากมีอาการบ่งชี้ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าสังเกตอาการของลูกหลังประสบอุบัติเหตุอย่างใกล้ชิด เพื่อจับสัญญาณผิดปกติได้ทันท่วงที
อ่าน วิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกกระดูกหัก หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ตามปกติกระดูกของเด็กจะมีความยืดหยุ่นสูง รองรับแรงกระแทกได้ดีกว่าผู้ใหญ่ แต่ขณะเดียวกันมวลกระดูกยังเจริญไม่เต็มที่จึงเปราะบางและแตกหักได้ง่าย ลักษณะของกระดูกหักวัยเด็ก มีหลายรูปแบบต่างๆ เช่น กระดูกหักมีแผล กระดูกหักไม่มีแผล กระดูกหักแต่ไม่ขยับ กระดูกหักและขยับ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้
- กระดูกเดาะ เป็นกระดูกที่หักเฉพาะส่วนที่ถูกกระแทกด้านเดียว ทำให้อีกด้านโก่งขึ้น
- กระดูกหักแบบโดนแรงอัด เกิดจากการกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้กระดูกย่นเข้าหากันแต่ไม่ขยับออกจากกัน
- กระดูกโก่งงอ จะไม่มีรอยหักหรือแตก มักไม่พบในเด็กเล็ก
- หัวกระดูกหัก ซึ่งเป็นกระดูกอ่อนที่แผ่นการเจริญเติบโต (Growth Plate) ซึ่งยังไม่สมบูรณ์ หากกระดูกส่วนนี้ของเด็กหักและได้รับการรักษาไม่ถูกต้อง กระดูกส่วนนี้ก็จะโตช้ากว่าส่วนอื่นของร่างกาย
วิธีปฐมพยายามเมื่อลูกกระดูกหัก
หลังเกิดอุบัติเหตุและสังเกตอาการแล้วมีเกณฑ์ว่าลูกกระดูกหัก ให้รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ห้ามรักษาด้วยตัวเอง หรือปล่อยทิ้งไว้ให้หายเองเป็นอันขาด เพราะจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างกระดูกของลูกเมื่อโตขึ้น โดยสามารถปฐมพยาบาลตามลำดับดังต่อไปนี้
พยายามให้ลูกอยู่นิ่งๆ มากที่สุด2.ประคบเย็นบริเวณที่คาดว่ากระดูกหัก พร้อมกับยกส่วนนั้นให้สูงขึ้น อาจรองด้วยหมอนสูง เพื่อช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวม
ถ้าเป็นลูกเบบี๋ไม่ควร “ประคบด้วยน้ำแข็ง” เป็นอันขาดเพราะความเย็นจัดสามารถทำลายผิวบอบบางของลูกได้
ถ้าจำเป็นห้องถอดเสื้อผ้าเพื่อดูแผล ควรใช้กรรไกรตัดให้ขาดแทนการถอดปกติ เพื่อป้องกันการขยับตัว
ถ้ากระดูกหักที่ขาหรือแขน ควรดามด้วยวัสดุแข็งแรง เช่น ไม้ หรือกระดาษม้วนเป็นแท่งโดยกะความยาวเกินส่วนที่กระดูกหักออกไปเล็กน้อย แล้วใช้ผ้าพันจนแน่นไม่ให้ขยับตัว
ถ้าเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ คอ และหลัง หากเคลื่อนย้ายโดยเด็ดขาด หากมีแผลใช้ผ้าสะอาดห้ามเลือดก่อน
อย่าจัดกระดูกเข้าที่ด้วยตัวเองโดยเด็ดขาด
อย่าให้ลูกกินยาลดปวด งดดื่มน้ำไว้ล่วงหน้าเผื่อจำเป็นต้องผ่าตัด
เสื้อผ้าแบบนี้ต้องระวัง อาจทำลูกเจ็บตัว
ในช่วงวัยเบบี๋ที่คุณแม่ใกล้ชิดกับลูกตลอดเวลา การเลือกใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญเพราะส่วนประกอบบนเสื้อผ้า เนื้อผ้า หรือความยาวอาจทำให้เเกิดอุบัติเหตุจนลูกเจ็บตัวได้ ลักษณะเสื้อผ้าที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่
ชุดกระโปรงที่ยาวเกินไป ซึ่งยาวจนถึงตาตุ่ม อาจทำให้สะดุดล้มขณะอุ้มลูก หรือกรณีใส่ขับขี่รถจักรยานยนต์ ชายกระโปรงอาจเข้าไปติดในซี่ล้อจนเกิดอุบัติเหตุได้
เสื้อผ้าที่มีการปักเลื่อม ปักหมุน อาจครูดใบหน้าของลูกขณะอุ้มได้ หรือมีชิ้นส่วนเล็กๆที่หลุดออกได้ง่าย คุณแม่ต้องระวังให้ดี เพราะหากมีส่วนใดหลุดเข้าปากลูกแบบไม่รู้ตัว
เสื้อที่เป็นผ้าตาข่าย ลูกไม้ หรือกางเกงยีนมีรูขาด อาจเกี่ยวกับนิ้วมือเล็กๆของลูกจนบาดเจ็บได้
ทางที่ดีคุณแม่ควรเลือกใส่เสื้อผ้าเรียบๆ ไม่มีส่วนประดับตกแต่งมากเกินไป โดยเฉพาะบริเวณหน้าอกซึ่งเสี่ยงสัมผัสกับลูกมากที่สุด ถ้าเป็นชุดมีกระดุมควรเลือกขนาดเม็ดให้ใหญ่สักหน่อยก็จะปลอดภัยขึ้น
บทความน่าสนใจอืิ่นๆ
อุทาหรณ์! หมอเตือนดัดขาลูกจนขาหัก
เมื่อแม่ ละสายตาจากลูก ทำให้ของเล่นทับจนเสียชีวิต!
แทรมโพลีนมรณะ ยิ่งโดด ยิ่งสนุก ยิ่งสูง ยิ่งตาย
แหล่งข้อมูล www.pobpad.com medthai.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่