ลูกหายใจดัง หายใจมีเสียงครืดคราด ไม่ใช่เรื่องปกติในทารก! แชร์อุทาหรณ์จากคุณแม่ที่ลูกหายใจดัง จนตรวจพบว่าลูกเป็น โรค Laryngomalacia หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคหลอดลมอ่อนตัว ทำให้หายใจเหนื่อยหอบจนต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
แม่แชร์! ลูกหายใจดังจาก “โรค Laryngomalacia” หลอดลมอ่อนตัว
ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอแชร์อุทาหรณ์จากคุณแม่ Supattra Salungjan ที่ได้เล่าเรื่องราวของ น้องนิวตัล ลงบนเฟสบุ๊คว่า น้องนิวตัลในวัย 2 เดือน มีอาการหายใจเสียงดังเหมือนคนนอนกรน เมื่อไปพบแพทย์ ก็ได้รับการวินิจฉัยว่าปอดบวม พยาบาลจึงทำการรักษาโดยการดูดเสมหะ แต่ในขณะที่ดูดเสมหะอยู่นั้น น้องนิวตัลได้มีอาการน็อค จึงได้รับการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง จนพบว่าน้องนิวตัลเป็น โรค Laryngomalacia หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคหลอดลมอ่อนตัว โรคหลอดลมหย่อน ภาวะกล่องเสียงอ่อนยวบ ท่อลมอ่อน และ กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง ทำให้ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเป็นเวลานานถึง 16 วันด้วยกัน เพราะมีอาการเหนื่อยหอบ
#ผิดกฏลบได้นะคะ
#แม่อาจจะเล่างงไปหน่อยค่ะ
ผมชื่อ น้องนิวตัลคับ อายุ 2เดือน 21 วัน
วันนี้ผมมีเรื่องจะมาเล่าให้แม่ ๆ ฟังคับ
แม่คลอดผมวันที่ 4 ก.ย. 61 ผมสมบูรณ์ดีทุกอย่างคับ แต่มีหายใจเร็วตอนคลอด ผมอยู่ NICU สามวันและกลับบ้านพร้อมแม่คับ
ผมกลับมายุ่บ้านได้ 1 เดือน
จนวันที่ 12 ต.ค. #ผมเริ่มมีอาการหายใจดัง เสียงเหมือนคนนอนกรน หมอ รพ.แห่งหนึ่งวินิจฉัยว่าผมเปน #ปอดบวมคับ ทำการดูดเสมหะผมอยู่ 4 วัน วันที่ 17 ต.ค. ขณะที่พี่พยาบาลดูดเสมหะให้ผม #ผมน็อคคับ วันนั้นผมถูกส่งตัวเข้า รพ.จังหวัดโดยใส่ท่อช่วยหายใจ หมอที่ รพ.ตรวจแล้วพบว่าผมเป็น #หลอดลมอักเสบ ผมใส่ท่อช่วยหายใจตั้งแต่วันที่ 17-29 ต.ค.คับ
#หลังถอดท่อช่วยหายใจ ผมยังมีอาการหายใจดังอยู่ #หมอเฉพาะทางมาตรวจบอกเปนหลอดลมหย่อนคับ
#โรคนี้จะหายเองในอายุ 1 ขวบครึ่งถึง 2 ขวบ
ผมได้กลับบ้านวันที่ 6 พ.ย.61
วันที่ 9 พ.ย ผมมีอาการหอบเหนื่อยอีก
แม่พาผมไป รพ.หมอสั่งแอดมิด ทำการส่องกล้องดูหลอดลม พบว่าหลอดลมผมอ่อน ทำหั้ยหลอดลมตีบ หายใจเองไม่สะดวกต้องใส่ #ท่อช่วยหายใจอีกครั้ง
#โรคหลอดลมอ่อนตัวหรือหลอดลมหย่อนเปนโรคที่ผมเปนมาแต่กำเนิด
แต่มันเพิ่งมาแสดงอาการตอนที่ผมเริ่มใช้แรงเยอะขึ้นคับ
#ตอนนี้ ผมเข้ารพ.รอบสอง อยู่มา 16 วันแล้วคับ
รวม ๆ แล้วผมยุ่ รพ.เยอะกว่าบ้านอีกคับ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ โรค Laryngomalacia คืออะไร?
โรค Laryngomalacia คืออะไร?
โรค Laryngomalacia เรียกเป็นชื่อไทยว่า โรคหลอดลมอ่อนตัว, โรคหลอดลมหย่อน, ภาวะกล่องเสียงอ่อนยวบ, ท่อลมอ่อน, และ กระดูกอ่อนของหลอดลมยังไม่แข็งแรง เป็นความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของทารก โดยปกติแล้วกระดูกอ่อนจะช่วยเสริมความแข็งแรงของท่อหลอดลมทำให้ไม่แฟบแบนขณะมีลมหายใจผ่านเข้าออก (เหมือนหลอดกาแฟที่นิ่มมากเกินไปจะแฟบตัวเวลาที่เราดูดน้ำ) แต่จะคงความเป็นท่ออยู่ได้ ทว่าทารกบางคนอาจมีการพัฒนาส่วนกระดูกอ่อนช้ากว่าปกติ ดังนั้นเวลาหายใจเข้าออก ท่อหลอดลมจะแฟบทำให้เกิดเสียงครืดคราดในลำคอได้ ยิ่งเวลาดูดนมต้องหายใจแรงขึ้น เสียงจึงดังชัดเจนยิ่งขึ้น หากจัดให้นอนคว่ำเสียงจะเบาลง ภาวะนี้วินิจฉัยได้จากการตรวจดูการเคลื่อนไหวของท่อหลอดลมโดยคุณหมอ หู คอ จมูก การรักษาส่วนใหญ่ไม่ต้องทำอะไร เพราะหายได้เองเมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 1-2 ปี แต่หากอาการรุนแรงต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมหลายอย่าง บางคนรุนแรงมากอาจต้องเจาะคอ
โรคหลอดลมอ่อนตัว หรือภาวะหลอดลมหย่อน มีสาเหตุมาจากอะไร?
ปัจจุบัน ยังไม่สามารถหาสาเหตุที่แน่นอนว่าทำไมทารกบางคนถึงมีภาวะนี้ แต่เชื่อได้ว่าภาวะนี้อาจได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรม (แต่ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนมารองรับทฤษฎีนี้) โดยภาวะหลอดลมอ่อนตัวนี้ มักจะเกี่ยวข้องกับโรคที่ถูกถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ภาวะต่อมเพศไม่เจริญ โรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 11 (Costello Syndrome) เป็นต้น
การวินิจฉัยโรคหลอดลมอ่อนตัว
การสังเกตอาการจากคุณพ่อคุณแม่จะช่วยคุณหมอวินิจฉัยโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น เนื่องจากจะต้องคอยสังเกตเสียงหายใจ ทั้งในขณะตื่นและขณะหลับ สำหรับการตรวจที่ละเอียดยิ่งขึ้น คุณหมอจะใช้กล้องขนาดเล็ก ส่องเข้าไปในรูจมูก ไปที่ลำคอ แพทย์สามารถดูการเคลื่อนไหวของท่อหลอดลม กล่องเสียง และเนื้อเยื่อโดยรอบ ได้ละเอียดยิ่งขึ้น หากตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดลมอ่อนตัว อาจมีการตรวจร่างกายในด้านอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เช่น การเอ็กซเรย์ทรวงอก การตรวจดูลำไส้ว่ามีการกลืนกันหรือไม่ เป็นต้น
โรค Laryngomalacia หรือโรคหลอดลมอ่อนตัว แยกความรุนแรงออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับไม่รุนแรง ระดับปานกลาง และระดับรุนแรง 99% ของทารกแรกเกิดที่มีภาวะนี้มักจะเป็นอยู่ในระดับปานกลาง
- ในระดับไม่รุนแรงนั้นมักจะมีอาการทางด้านการหายใจเสียงดังเท่านั้น แต่ไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ
- ระดับปานกลาง มักจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ดูดนมไม่สะดวก โรคลิ้นหัวใจเสื่อม ภาวะกรดไหลย้อน ภาวะหายใจผิดปกติ (หายใจอกบุ๋ม) เป็นต้น
- ระดับรุนแรง จะมีปัญหาในการดูดกลืนอาหาร มีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย ได้แก่ โรคหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะเขียวคล้ำ (เพราะเนื้อเยื่อต่างๆขาดออกซิเจนจึงส่งผลให้สีของเนื้อเยื่อคล้ำ
ลง)
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ โรคหลอดลมอ่อนตัว รักษาได้อย่างไร?
โรค Laryngomalacia รักษาได้อย่างไร?
โดยส่วนมาก ทารกที่เป็นโรคหลอดลมอ่อนตัว หากไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย มักจะไม่ต้องทำการรักษาอะไร เพราะจะสามารถหายได้เองเมื่ออายุ 1-2 ปี อย่างไรก็ตาม ในทารกที่มีอาการอยู่ในระดับรุนแรง จนถึงขั้นมีปัญหาในการทานอาหาร หรือดูดกลืนนม จนทำให้น้ำหนักขึ้นน้อย หรือ ทารกที่มีภาวะเขียวคล้ำ อาจจะได้รับการพิจารณาให้รักษาโดยการผ่าตัด
อัพเดท อาการล่าสุดของน้องนิวตัล
ล่าสุด คุณแม่ได้อัพเดทอาการของน้องนิวตัลว่า วันนี้ (29 พ.ย. 2561) น้องมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจอกบุ๋ม จึงต้องกลับมาใช้เครื่องช่วยหายใจอีกครั้ง โดยคุณหมอได้แจ้งว่า น้องเป็นโรคหลอดลมอ่อนตัวขั้นรุนแรง ควรรักษาด้วยการผ่าตัด มาร่วมเอาใจช่วยให้น้องนิวตัล หายป่วยจากโรคนี้ไว ๆ กันนะคะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจ ให้การผ่าตัดผ่านไปด้วยดีค่ะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
น้ำหนักเด็กแรกเกิด ลูกน้ำหนักตัวน้อยเป็นอะไรไหม?
ทารกหายใจเสียงดัง หายใจเสียงดังครืดคราด เกิดจากอะไร?
พ่อแชร์ประสบการณ์! ลูกนอนกรน จนหยุดหายใจ สุดท้ายต้องผ่าตัด
ข้อมูลอ้างอิงจาก : Supattra Salungjan, ป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, www.healthline.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่