ผิวลูกไหม้แดด พอถึงเดือนมีนาคมเป็นที่รู้กันว่าประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงฤดูร้อน และก็จะร้อนยิ่งยาวไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี นอกจากนี้หน้าร้อนยังมาตรงกับช่วงปิดเทอมของเด็กๆ อีกด้วย ซึ่งแน่นอนว่ากิจกรรมที่สนุกสำหรับเด็กทุกคนก็คือกิจกรรมกลางแจ้ง ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีวิธีรับมือ และการดูแล ผิวลูกไหม้แดด มาฝากกันค่ะ
ผิวลูกไหม้แดด แสงแดดช่วงไหนอันตรายกับผิวลูกมากที่สุด?
เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงเคยได้ยินกันบ้างว่า วิตามิน D จากแสงแดดมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง และควบคุมแคลเซียมของร่างกาย ซึ่งแสงแดดคือแหล่งวิตามินดีธรรมชาติชั้นเยี่ยมสำหรับเด็กๆ แต่ในประโยชน์ของแสงแดดก็ยังซ่อนอันตรายไว้มากด้วยนะคะ
Must Read >> แม่แทบช็อก!! ลูกน้อยเล่นกลางแดดจนผิวไหม้สยอง
ความร้อนแรงของแสงแดด ที่เป็นอันตรายต่อผิวของทุกคน ไม่ว่าจะเด็ก หรือผู้ใหญ่ คือช่วงเวลาตั้ง 9.00-14.00 น. ซึ่งจะมีค่าชี้วัดความเข้มของแสง(UV Index) สูง(1) จึงแนะนำว่าควรทาครีมกันแดดให้ทั่วผิวหน้า และผิวกายก่อนออกแดด รวมถึงเมื่อต้องอยู่กลางแดดเป็นเวลานานควรมีอุปกรณ์กันแดด เช่น หมวก ร่มUV ใส่เสื้อผ้าให้ปกปิดผิวจากการถูกแสงแดดเผาไหม้ และควรจิบน้ำบ่อยๆ
อ่านต่อ >> “ผิวลูกไหม้แดด ช่วงหน้าร้อน” หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ผิวลูกไหม้แดด ช่วงหน้าร้อน
ผิวไหม้แดด(Sunburn) เด็กๆ มักเป็นกันมากในช่วงหน้าร้อนที่จะมีกิจกรรมกลางแจ้งให้ทำกันในช่วงปิดภาคเรียน อย่างเวลาที่ครอบครัวพาไปเที่ยวพักผ่อนที่ชายทะเล เด็กๆ ก็จะสนุกอยู่กับการเล่นน้ำทะเล เล่นก่อกองทราย และกิจกรรมชายหาดอื่นๆ ที่สนุกตื่นเต้น เช่น การเล่นว่าว การขี้ม้าเดินเลียบชายหาด เล่นเรือกล้วย เล่นบอล ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าเด็กๆ มักจะเล่นสนุกกันได้ครึ่งค่อนวันถึงแม้แดดจะร้อนก็ตาม แต่การปล่อยให้ลูกเล่นกลางแดดจ้าเป็นเวลานาน ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพผิวของลูกเลย เพราะการที่ลูกอยู่กลางแดดจัดเพียง 15 นาทีก็สามารถส่งผลให้ผิวไหม้แดดได้ เด็กที่ตากแดดบ่อยๆ สะสมมากๆ เป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การเจ็บป่วยเป็นมะเร็งผิวหนังได้ รวมทั้งในผู้ใหญ่ก็สามารถเกิดฝ้า กระ และมะเร็งผิวหนัง
อาการของผิวหนังที่ไหม้จากแดด
ช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่เด็กจะได้สนุกกันอย่างเต็มที่ เพราะอยู่ในช่วงปิดเทอม และเด็กๆ จะไม่ใส่ใจกับแสงแดดจัดจ้า หรืออากาศที่ร้อนอบอ้าวก็ไม่เคยหวั่น คือพร้อมตลอดเวลาที่จะพุ่งไปหาความสนุกจากกิจกรรมกลางแจ้ง จนบางครั้งคุณแม่ก็ไม่ทันได้ปกป้องผิวลูกจากแสงแดด หรือปกป้องแล้ว แต่ด้วยแสงแดดที่จัดจ้าก็ไม่สามารถเอาอยู่ จนส่งผลให้ผิวลูกถูกแสงแดดสะสม และทำให้เกิดอาการผิวหนังไหม้แดดขึ้น ซึ่งอาการผิวหนังไหม้แดด คุณแม่สามารถสังเกตได้ดังนี้
- ผิวหนังมีอาการแดง บวม และพอง
- รู้สึกแสบร้อน ไม่สบายเนื้อตัว
- รู้สึกเจ็บที่ผิวหนัง หรือรู้สึกชาๆ
- ผิวที่ตากแดดนานจนแดงพอง พอผ่านไปได้ประมาณ 2-3 วัน ผิวจะค่อยๆ ลอกออกมาเป็นแผ่น และสีผิวจะไม่สม่ำเสมอ แดงๆ ดำคล้ำเป็นบริเวณไป
- ช่วงที่อยู่กลางแดดนานๆ เด็กบางคนจะมีอาการเวียนศีรษะ หรืออยากอาเจียน เพราะลมแดด
อ่านต่อ >> “วิธีป้องกันผิวลูกก่อนออกแดด” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีป้องกันผิวลูกก่อนออกแดด เพื่อไม่ให้เกิดอาการผิวหนังไหม้แดด
การป้องกันดีกว่าการแก้ไขรักษา หากไม่อยากให้ผิวลูกเสียจากการถูกเผาไหม้จากแสงแดด คุณแม่ควรป้องกันผิวลูกก่อนให้เด็กๆ ออกไปทำกิจกรรมเล่นสนุกกลางแจ้ง ซึ่งมีหลากหลายวิธีที่จะช่วยให้ผิวลูกไม่เสีย หรือลดการที่ผิวจะถูกทำลายจากแสงแดดลงได้ ดังนี้
- หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกออกแดด ในช่วงเวลาตั้งแต่ 00-14.00 น. เพราะเป็นช่วงที่แสงแดดแรงจัดจ้ามาก
- ก่อนออกนอกบ้าน หรือก่อนออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้งที่ต้องอยู่ท่ามกลางแสงแดด คุณแม่ควรทาครีมกันแดดสำหรับเด็กให้กับลูก ด้วยการเลือกครีม หรือโลชั่นกันแดดที่มีค่า SPF15 ขึ้นไป จากนั้นทาให้ทั่วผิวหน้า ใบหู จมูก ผิวกาย มือ และเท้า แนะนำว่าควรทาครีมกันแดดให้ลูกก่อนออกแดดอย่างน้อย 30 นาที และระหว่างที่ทำกิจกรรมกลางแสงแดดควรทาครีมกันแดดให้ซ้ำทุก 1-2 ชั่วโมง
- ช่วงที่ลูกเล่นน้ำทะเล เล่นทราย หรือทำกิจกรรมกลางแจ้งท่วมกลางแสงแดด นอกจากการทาครีม ทาโลชั่นกันแดดให้ลูกแล้ว ควรหาหมวกปีกกว้าง หรือจัดเสื้อผ้าให้ลูกส่วมใส่ที่อาจเลือกเป็นชุดเสื้อผ้าแขนขายาว แต่เนื้อผ้าควรเป็นแบบเบาสบาย ลูกใส่แล้วไม่ร้อนจนเหงื่อออกเป็นลม
- ระหว่างที่อยู่กลางแจ้ง ควรหมั่นจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ เพื่อป้งกันการสูญเสียน้ำ และการอ่อนเพลียจากแสงแดด
อ่านต่อ >> “การดูแลผิวลูกไหม้แดด” หน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ผิวลูกไหม้แดด ช่วงหน้าร้อน ดูแลอย่างไรดี?
ถึงแม้ว่าจะป้องกันผิวลูกจากแสงแดดแล้วก็ตาม แต่ก็อาจมีบ้างที่ผิวลูกเสียจากแสงแดด ซึ่งการดูแลฟื้นฟูผิวลูกจากแสงแดด ให้กลับมาแข็งแรง มีสุขภาพดีได้อีกครั้ง สามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น
การดื่มน้ำ
ในระหว่างวันที่ลูกต้องอยู่กลางแจ้งนานๆ หรือในวันที่อากาศร้อนอบอ้าวมากๆ คุณแม่ควรให้ลูกดื่มน้ำมากขึ้นจากปกติ การดื่มน้ำอย่างเหมาะสมจะช่วยให้ผิวไม่แห้งกร้าน และมีความชุ่มชื้นอยู่ตลอดเวลา
อาบน้ำเย็น
ผิวลูกที่ไหม้จากแดด หากเป็นไม่มาก คุณแม่สามารถช่วยฟื้นฟูผิวให้ลูกได้ด้วยการปรับน้ำที่ให้ลูกอาบ คือควรให้อาบน้ำเย็นมากกว่าการให้อาบน้ำอุ่น หลังจากอาบน้ำเสร็จ ให้ใช้ผ้าขนหนูนิ่มๆ ชุบน้ำเย็น แล้วบิดพอหมาด จากนั้นวางประคบบนบริเวณผิวที่ไหม้ ประมาณ 15 นาที ไม่แนะนำให้ขัดหรือถูผิวลูกแรงๆ เวลาอาบน้ำนะคะ
ทาผิวด้วยว่านหางจระเข้
วุ้นของหว่านหางจระเข้ถือเป็นยาสมานผิวและฟื้นฟูผิวที่ไหม้จากแดดได้อย่างดี คุณลองหาซื้อหว่านหางจระเข้สดมาแล้วปอกเอาเปลือกเขียวๆ ออก จากนั้นให้ใช้วุ้นใสๆ มาทาบริเวณผิวที่เสียจากการถูกเผาไหม้ ให้ทำทุกวันจนกว่าผิวลูกจะหายจากการไหม้
ทาผิวด้วยน้ำมะพร้าว
การใช้ธรรมชาติในการรักษาฟื้นฟูผิว คุณแม่สามารถใช้น้ำมันมะพร้าวได้ด้วยนะคะ ด้วยการนำน้ำมะพร้าวที่สกัดบริสุทธิ์มาทางตรงบริเวณผิวที่ไหม้จากแดดให้ลูก ซึ่งน้ำมันมะพร้าวจะช่วยทำรักษารอยไหม้จากแดดให้จางลงอย่างเป็นธรรมชาติค่ะ
ทาครีมกันแดด
การรักษาผิวให้หายจากการถูกไหม้ด้วยแสงแดด ก็ยังจำเป็นต้องทาครีม ทาโลชั่นกันแดดให้ผิวด้วยทุกครั้งก่อนที่ลูกจะออกนอกบ้าน และควรหลีกเลี่ยงผิวไม่ให้ถูกแสงแดดซ้ำตรงผิวที่ไหม้เสียจากแสงแดด เพราะจะยิ่งทำให้ผิวลูกเสียมากขึ้นค่ะ
ช่วงเวลาปิดเทอมเป็นเวลาแห่งความสุขของเด็กๆ แต่ก็อย่าให้แสงแดดของฤดูร้อนมาทำลายสุขภาพของลูกๆ กันนะคะ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือคุณพ่อคุณแม่ควรต้องปกป้องดูแลลูกไม่ให้เจ็บป่วย เพื่อที่ลูกจะได้เริ่มต้นการเปิดเทอมด้วยพลังที่เปี่ยมล้น และได้มีช่วงเวลาความทรงจำของความสนุกสนานในช่วงปิดเทอมที่ผ่านมากันค่ะ อ่อ!!! แล้วอย่าลืมปกป้องผิวใสๆ ของเด็กๆ ให้มีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลจากการถูกเผาไหม้จากแสงแดดด้วยการทาครีม หรือโลชั่นกันแดดที่ผิวลูกด้วยนะคะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
โรคลมแดด วายร้ายหน้าร้อนของเด็กเล็ก
โรคท้องร่วง ช่วงหน้าร้อน เด็กเล็กควรระวัง!
ไวรัส RSV วายร้ายต่อสุขภาพของเด็กเล็ก!!
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลอ้างอิงจาก
1 พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล หรือคุณหมอผิง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลรักษาผิวหนัง. รับแสงแดดช่วงไหน ถึงได้ประโยชน์. www.thaihealth.or.th
แสงแดดวายร้ายทำลายผิวลูก. child.haijai.com
ผิวหนังไหม้แดด ภาวะโรคจากแดดที่คุณต้องระวัง. www.healthandtrend.com