ลูกเป็นปอดอักเสบ โรคร้ายอันตรายถึงชีวิต ที่พ่อแม่ต้องรู้จัก - Amarin Baby & Kids
สัญญาณ"ปอดอักเสบ"

ลูกเป็นปอดอักเสบ 1 ในโรคร้ายอันตรายถึงชีวิต ที่พ่อแม่ต้องรู้จัก

event
สัญญาณ"ปอดอักเสบ"
สัญญาณ"ปอดอักเสบ"

วิธีการรักษา โรคปอดอักเสบในเด็ก แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ

◊ การรักษาแบบทั่วไป

  • เมื่อ ลูกป่วยเป็นปอดอักเสบ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกดื่มน้ำมากๆ สำหรับในรายที่มีอาการหอบมาก ท้องอืด กินนมหรือข้าวไม่ได้ คุณหมออาจพิจารณาให้สารน้ำทางเส้นเลือดดำ และงดอาหาร
  • จะมีการให้ออกซิเจนในรายที่มีอาการตัวเขียว หายใจเร็ว หอบ ชายโครงบุ๋ม กระวนกระวายหรือซึม
  • ใช้ยาขยายหลอดลมในรายที่ได้ยินเสียงหลอดลมตีบ
  • ในกรณีที่ให้สารน้ำที่เหมาะสมแล้ว ยังมีเสมหะเหนียวอยู่ อาจใช้ยาขับเสมหะ

นอกจากนี้สำหรับเด็กเล็ก จะมีการทำกายภาพบำบัดทรวงอก เคาะปอด เพื่อลดเสมหะถูกขับออกจากปอดและหลอดลมได้ดีขึ้น พร้อทรักษาอื่นๆ ตามอาการ ได้แก่ การให้ยาลดไข้ ส่วนสำหรับผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจ แพทย์จะพิจารณาถึงการใส่ท่อหลอดลม และเครื่องช่วยหายใจ

โรคไมโคพลาสมา

♦ การรักษาจำเพาะ

สำหรับเด็กที่ป่วยเป็น โรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส จะไม่มียารักษาจำเพาะ ยกเว้น ไข้หวัดใหญ่ที่มียาต้านเชื้อไวรัส ส่วนไวรัสชนิดอื่นๆ จะให้การรักษาตามอาการ >> ทั้งนี้จะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอย่างเร็วที่สุด หลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

คำแนะนำในการป้องกันเพื่อไม่ให้ลูกเป็น ปอดอักเสบ

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ที่แออัด ในช่วงโรคระบาด
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรค เช่น ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากไอรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
  • คุณพ่อคุณแม่ ผู้เลี้ยงดู และลูกน้อย ต้องหมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจล
  • ไม่ควรให้ลูกน้อยที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ไปคลุกคลีกับผู้ป่วย
  • ควรให้ลุกดื่มน้ำมากๆ และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  • ใช้ช้อนกลางรับประทานอาหาร ไม่ใช้หลอดดูดน้ำร่วมกับผู้อื่น หรือผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น
  • อย่าลืมพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน วัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไอพีดี หรือวัคซีนฮิบ หากสงสัยว่าลูกมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

คำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกน้อย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง คือ เด็กสุขภาพดีที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่า คือ เด็กที่พ่อแม่ต้องพาไปอยู่เนอสเซอรี่หรือสถานเลี้ยงเด็กกลางวัน หรือเด็กที่มีโรคประจำตัวที่เกี่ยวข้องกับภูมิต้านทานที่ต่ำ เช่น โรคเลือด ม้ามทำงานได้ไม่ดี หรือเด็กที่เป็นหวัดบ่อยๆ เป็นภูมิแพ้ เป็นต้น

การเสริมภูมิคุ้มกันที่ดีสำหรับลูกน้อย อันดับแรกคือ การส่งเสริมให้ลูกน้อยได้กินนมแม่ได้นานที่สุด ต่อมา คือ ไม่ควรให้ลูกน้อยอยู่ในที่แออัด และถ้าเป็นไปได้ก็อย่ารีบส่งลูกไปอยู่เนอสเซอรี่ หรือสถานเลี้ยงเด็กกลางวันเร็วเกินไป เพราะโอกาสติดเชื้ออาจมีมากขึ้น สำหรับเด็กที่อยู่กับพี่เลี้ยง ก่อนที่จะรับพี่เลี้ยงเด็ก ก็ควรพิจารณาถึงสุขลักษณะ ความสะอาด และเช็คสุขภาพของพี่เลี้ยงด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยขณะอยู่กับพี่เลี้ยง

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก : 


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.siphhospital.com , www.vejthani.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up