แพทย์ย้ำ! กินยาแก้ปวดมากเกินไป เสี่ยงไตเสื่อมจริงหรือ มั่วนิ่ม!?
ยาแก้ปวด ถือเป็นยาพื้นฐานสามัญประจำบ้านที่ทุกคนต้องมีติดบ้านและติดตัวไว้ เพราะเมื่อไรก็ตามที่มีอาการปวดหัว ตัวร้อน จะได้หยิบขึ้นมารับประทานได้ทัน จากกรณีที่มีข่าวแชร์กันถึงหัวข้อที่ว่า ‘กินยาแก้ปวดพร่ำเพรื่อ เสี่ยงไตเสื่อมถึงตายได้’ นี่จะจริงหรือไม่นั้น วันนี้ นายแพทย์สิทธิโชค หทัยสงวน แพทย์ประจำสาขาอายุรกรรมโรคไต โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ จะมาไขข้อข้องใจให้เราได้ฟังกันค่ะ
โดยคุณหมอกล่าวว่า การกินยาแก้ปวดในกลุ่ม เอ็นเสด เช่น ยาแก้ปวดประจำเดือน สามารถเพิ่มความเสี่ยงการเกิดไตวายเฉียบพลันได้ ในกรณีที่กินเข้าไปในปริมาณที่มาก ติดต่อกันเป็นะยะเวลานานเกินไป คือกินติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือ 1 สัปดาห์ หากมีการทานยาและอาการยังไม่ทุเลาก็ควรเดินทางไปพบแพทย์จะเป็นทางที่ดีที่สุด
อ่านต่อ เนื้อหาเพิ่มเติมพร้อมชมคลิป คลิก!
นายแพทย์สิทธิโชค ได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ยาแทบทุกชนิดล้วนมีผลข้างเคียงต่ออวัยวะภายในร่างกาย บางชนิดอาจมีผลต่อตับ บางชนิดอาจมีผลต่อไต อย่างยาแก้ปวดยอดฮิตอย่าง พาราเซตามอล อยู่ในกลุ่มยาแก้ปวดอีกประเภท ซึ่งมีความปลอดภัยในระดับ แต่ถ้าหากกินในปริมาณมากและนานเกินไปก็ส่งผลเสียต่อตับได้เช่่นกัน
สำหรับภาวะไตวายในระยะแรก จะไม่แสดงอาการใด ๆ ต้องใช้การเจาะเลือดตรวจจึงจะพบ แต่ถ้าหากเป็นมากแล้วจะมีอาการปัสสาวะออกน้อยลง ขาบวม ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น
ชมคลิปของคุณหมอ
อ่านต่อคำเตือนขององค์การอาหารและยา คลิก!
เครดิต: AMARIN TV
อย. ออกโรงเตือน กินยาแก้ปวดมากเกินไป เสี่ยงโรคไตวาย!
นายแพทย์พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า จากข้อมูลการใช้ยาแก้ปวดของคนไทย โดยเฉพาะ พาราเซตามอล เมื่อมีอาการปวด พบว่า มีการใช้ในปริมาณมากและเกินความจำเป็นจนเข้าขั้นอันตรายต่อการดื้อยา และส่งผลข้างเคียงต่ออวัยวะภายในร่างกาย จึงขอประชาชนเพิ่มความระมัดระวังการใช้ยาแก้ปวดให้มากขึ้น ควรรับคำปรึกษาจากแพทย์มากกว่าหาซื้อมารับประทานเอง
ทั้งนี้ยาแก้ปวดแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ยาแก้ปวดที่ใช้ระงับปวดรุนแรงถึงรุนแรงมากที่สุด แต่ไม่มีฤทธิ์ลดไข้ เช่น มอร์ฟีน และทรามาดอล ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการข้างเคียงสูง โดยเฉพาะ ทรามาดอล ทำให้มีอาการคลื่นไส้ มึนงง อาเจียน กดระบบหายใจ อีกทั้งยังอาจมีอาการทางจิตประสาท และหากได้รับยาเกินขนาด จะเกิดภาวะอื่นตามมา เช่น ระบบหัวใจและหลอดเลือดล้มเหลว ชักและระบบหายใจทำงานช้าจนถึงขั้นหยุดหายใจ
ส่วนยาแก้ปวดอีกกลุ่ม คือ กลุ่มยาแก้ปวดที่ใช้สำหรับอาการปวดไม่รุนแรง เช่น พาราเซตามอล แอสไพริน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวด ลดไข้ และต้านการอักเสบ แต่ไม่ควรใช้ติดต่อกันนาน ๆ โดยเฉพาะยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เนื่องจากจะมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทั้งระบบทางเดินอาหาร หากใช้ยาเกินปริมาณจะเป็นพิษต่อตับ จนเกิดภาวะตับวาย และเสียชีวิตในที่สุด
อันตรายเหลือเกินนะคะ หากคุณพ่อคุณแม่พบว่าตัวเองทานบ่อยเกินไปแล้วละก็แนะนำให้ หาวิธีอื่นแก้ไขแทน ไม่ว่าจะเป็นการหากิจกรรมที่สามารถพักผ่อนหย่อนใจ หรือเปลี่ยนบรรยากาศพาตัวเองและครอบครัวไปเที่ยวที่ไหนดูบ้างก็ได้นะคะ
เครดิต: องค์การอาหารและยา
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่