AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ระวัง! ให้ลูกน้อยนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ อันตราย…เสี่ยงตายกว่าที่คุณคิด

ให้ ลูกนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์  รู้หรือไม่ว่า จากสถิติอุบัติเหตุโดยรถมอเตอร์ไซด์  มีเด็กอายุ 0-15 ปีได้รับบาดเจ็บ มีเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีที่บาดเจ็บจากรถจักรยานยนต์มากถึง 15,000 ราย และมีราวๆ 700 รายที่เสียชีวิตจากการบาดเจ็บดังกล่าว ซึ่งมากกว่าโรคไข้เลือดออกหลายเท่าตัว

ในแต่ละวันเด็กเล็กๆ ตั้งแต่วัยอนุบาลไปจนถึงชั้นประถม นั่งซ้อนท้าย หรือนั่งข้างหน้ารถจักรยานยนต์กันจนชินตา กลายเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในต่างจังหวัด พ่อแม่มักนิยมใช้รถมอเตอร์ไซค์ไปส่งลูกๆ ที่โรงเรียนในตอนเช้า โดยไม่รู้เลยว่า เด็กเล็กซ้อนมอเตอร์ไซค์ อันตรายกว่าที่คิด

ลูกนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ อันตราย…เสี่ยงตายกว่าที่คุณคิด

ซึ่งหนึ่งในพาหนะยอดนิยมของคนไทยก็คือรถจักรยานยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ จากข้อมูลการจดทะเบียนของรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยพบว่า มีมากกว่ารถทุกชนิดรวมกัน นั่นคือ มากกว่า 60% ของรถทั้งหมด เนื่องจากมีราคาถูกกว่ารถยนต์ คล่องตัวกว่า ค่าดูแลรักษาต่ำกว่า ทำให้รถจักรยานยนต์เป็นขวัญใจของชาวไทยได้ไม่ยากเลย

แต่ในข้อมูลอีกด้านของรถจักรยานยนต์ก็พบว่า

การบาดเจ็บและเสียชีวิตบนท้องถนนของประเทศไทยนั้นราว ๆ 80% เกิดกับผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร ก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดการบาดเจ็บจากการใช้รถจักรยานยนต์ด้วยกันทั้งสิ้น

โดยปีหนึ่ง ๆ มีเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปีที่บาดเจ็บจากรถจักรยานยนต์มากถึง 15,000 ราย และมีราว ๆ 700 รายที่เสียชีวิตจากการบาดเจ็บดังกล่าว ซึ่งมากกว่าโรคไข้เลือดออกหลายเท่าตัว ลองคิดดูเล่นๆ ว่าเราสูญเสียทรัพยากรที่สำคัญในอนาคตถึงปีละ 700 คนเลยทีเดียว หลายครั้งอุบัติเหตุและการบาดเจ็บที่ก็แทบจะเข้าข่าย “ไม่น่าจะเป็นไปได้” ดังเช่นที่เคยมีข่าวในปี 2558   “น้องม่อน” เด็กชายวัย 2 เดือน ต้องมาเสียเสียชีวิตเพราะถูกอุ้มซ้อนท้ายไปกับรถมอเตอร์ไซค์ โดยรถมอเตอร์ไซค์คันนี้ก็เป็นพาหนะคู่ใจของครอบครัวตั้งแต่พาคุณแม่ของน้องม่อนไปฝากครรภ์ที่โรงพยาบาล พาไปคลอด ตลอดจนพาน้องม่อนกลับจากโรงพยาบาลหลังคลอด

โดยวันที่เกิดเหตุ คุณแม่อาบน้ำแต่งตัวให้น้องม่อน เพื่อเตรียมตัวจะไปรับวัคซีนที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (สถานีอนามัย)ตามนัด  แม่ของน้องม่อนจึงเลือกที่จะให้คุณพ่อขับรถมอเตอร์ไซค์พาไปรับวัคซีน  เมื่อนัดแนะกับคุณพ่อเรียบร้อย  ก่อนออกเดินทางคุณแม่ก็ห่อน้องม่อนห่อตัวด้วยผ้าขนหนู   โดยที่ไม่รู้เลยว่าผ้าขนหนูที่ห่อตัวนี้เองที่ทำให้เกิดเหตุน่าเศร้าใจ

ระหว่างการเดินทางไปกับรถมอเตอร์ไซค์ ในระยะทางสั้นๆ นั้น ปลายผ้าขนหนูที่ห่อตัวของน้องม่อนถูกซี่ล้อของรถจักรยานยนต์คู่ใจดึงเข้าไป  แรงดึงทำให้ตัวน้องม่อนหลุดจากอ้อมแขนของคุณแม่ที่อุ้มอยู่เข้าไปอยู่บริเวณล้อหลังของรถมอเตอร์ไซค์ คุณพ่อหยุดรถทันทีด้วยความตกใจในเสียงร้องของคุณแม่ ก็พบว่าตัวของน้องม่อนติดอยู่กับซี่ล้อหลังของรถจักรยานยนต์ ตามตัวมีเลือดเปรอะเปื้อนพร้อมกับผ้าขนหนูที่คุณแม่ห่อตัวให้ขมวดอยู่กับแกนล้อแน่น ชาวบ้านที่เห็นเหตุการณ์ก็เข้ามาช่วยกันพยายามเอาตัวน้องม่อนออกจากซี่ล้อรถแล้วนำส่งโรงพยาบาลแต่ก็ช้าเกินไป  น้องม่อนเสียชีวิตในที่เกิดเหตุตรงนั้นเอง

และรวมไปถึงล่าสุด ได้มีคลิปวีดีโอที่เผยแพร่ลงทาง Facebook ซึ่งเป็นภาพของคุณแม่คนหนึ่งที่กำลังขับรถมอเตอร์ไซค์โดยมีลูกชายตัวน้อยนั่งซ้อนท้ายอยู่ข้างหลัง แต่ด้วยเสื้อแขนยาวที่ผูกเอวของแม่อยู่นั้น ห้อยโบกสะบัดไปมา และมีจังหวะการพัดจนแขนเสื้อเข้าไปพันที่ล้อรถ ทำให้เสื้อนั้นเกี่ยวกระชากเอาลูกชายตัวน้อยตกลงไปด้วย!!…..

>> ชมคลิปเหตุการณ์จริง เด็กน้อยถูกเสื้อกระชากเข้ากงล้อรถ
พร้อมวิธีให้ลูกนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์อย่างไรให้ปลอดภัย” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โพสต์โดย สนุกดี ภาพ Vs คลิป บน 11 พฤษภาคม 2017

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : สนุกดี ภาพ Vs คลิป

จากคลิปจะเห็นได้ว่า ผู้เป็นแม่ไม่ได้ทันระวังเลย เมื่อลูกถูกเกี่ยวกระชากลงไปทำให้รถติดขัด ขับขี่ไปไม่ได้ จึงหันมาดูและพบว่าลูกน้อยได้ลงไปห้อยแขนติดกับล้อรถ จึงรีบหยุดรถแล้วลงมาช่วยดึงตัวลูกออกจากล้อทันที ซึ่งนับว่าโชคดีที่เด็กน้อยไม่เสียชีวิต แต่อย่างไรก็ได้รับบาดเจ็บอยู่ไม่น้อย

จากเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงหลายๆ ครั้งดังตัวอย่างข้างต้น รวมถึงเหตุที่คาดการณ์ได้อีกหลาย ๆ ครั้ง เช่น เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย ล้วนส่งผลให้หลายหน่วยงานแสดงความกังวลเกี่ยวกับการให้เด็กทารกโดยสารบนรถจักรยานยนต์เนื่องด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย อย่าง องค์การอนามัยโลกสำนักงานภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ก็เคยออกคำแนะนำเรื่องการโดยสารรถจักรยานยนต์ว่า “ไม่แนะนำให้ทารกโดยสารรถจักรยานยนต์ ควรมีการออกกฎหมายควบคุม” รวมถึง “ควรมีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนถึงหมวกนิรภัย ที่นั่งโดยสารที่ปลอดภัย ความเร็วที่เหมาะสม รวมถึงระบบยึดเหนี่ยวที่ปลอดภัยสำหรับเด็กทารก” เรียกง่าย ๆว่า ควรจะหยุดใช้ไปก่อนจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าปลอดภัยมากพอ

องค์การอนามัยโลกสำนักงานภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้  เคยออกคำแนะนำเรื่องการโดยสารรถจักรยานยนต์ว่า “ไม่แนะนำให้ทารกโดยสารรถจักรยานยนต์ ควรมีการออกกฎหมายควบคุม”

ลูกนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์ อย่างไรให้ปลอดภัย?

1. วัยทารก ไม่แนะนำให้นั่งรถจักรยานยนต์ ถึงแม้จะอุ้มไว้

อย่าลืมว่าผู้ที่อุ้มทารกต้องใช้มือของตัวเองหาที่จับ เมื่อซ้อนท้าย ทำให้มีโอกาสเสียสมดุล และมักจะมีอุปกรณ์พะรุงพะรัง เคยมีข่าวเด็กทารกเข้าไปติดในล้อรถเพราะผ้าห่อตัวถูกดูด ยิ่งเสี่ยงอันตรายมาก

2. วัยเด็กเล็ก ควรใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็ก

โดยต้องมีอุปกรณ์เสริมติดแน่นทั้งด้านหน้าและหลัง มีเบาะพิเศษสำหรับเด็กที่มีระบบยึดเหนี่ยวที่แข็งแรง เลือกรถจักรยานยนต์ที่มีที่กั้นล้อรถป้องกันการบาดเจ็บที่เท้า เพราะเท้าของเด็กไม่อยู่นิ่งมีโอกาสแกว่งไปมา และพลาดโดนล้อ และควรสวมหมวกนิรภัย สำหรับเด็กที่มีขนาดพอดี

3. วัยเด็กโต สอนให้ลูกนั่งรถจักรยานยนต์อย่างปลอดภัย

ซึ่งท่านั่งคร่อมจะปลอดภัยที่สุด หาที่จับให้มั่นคง ติดตั้งที่วางเท้าให้มีความยาวพอดีกับเด็ก และอย่าลืมสวมหมวกนิรภัยที่พอดี

 

อ่านต่อ >> “การเลือกขนาดของหมวกนิรภัยที่เหมาะสมกับลูกน้อย” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ขอบคุณภาพจาก : http://www.7-percent.org

ลดเจ็บ ลดตาย หันมาใส่หมวกกันน็อค!!

ทั้งนี้การใส่หมวกกันน็อคเป็นการป้องกันที่ดีวิธีหนึ่ง แต่หากจะปลอดภัยจริงๆ นั้น เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรโดยสารรถมอเตอร์ไซด์ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนหนูน้อยวัยมากกว่า 2 ปี หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยงค่ะ แต่ถ้าจำเป็นจริงๆ ก็ควรสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง คุณพ่อคุณแม่ที่รู้ว่าเจ้าตัวน้อยของตนต้องเดินทางด้วยรถมอเตอร์ไซด์ ควรจะลงทุนเลือกหมวกันน็อคที่มีคุณภาพไว้ให้เจ้าตัวเล็ก ซึ่งการหลักการเลือกหมวกกันน็อคที่ดี จะต้องเลือกให้พอดีกับขนาดศรีษะของลูก ไม่ควรซื้อเผื่อโต เพราะอาจเป็นอันตรายต่อศรีษะและกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอของลูกได้ คุณควรพาลูกไปซื้อและลองหมวกกันน็อคด้วยกัน วิธีการลองคือ เมื่อสวมหมวกดีแล้ว ให้ลูกเหลือบตามองด้านบน ว่าเห็นขอบหมวกด้านหน้าหรือไม่ ถ้าไม่เห็นแสดงว่าหมวกลอยสูงเกินไป ต้องปรับสายรัดให้พอดี รวมทั้งถ้าก้มๆ เงยๆ แล้วหมวกหลุดก็ต้องปรับสายคาดใหม่ ถ้าปรับเท่าไรไม่พอดี ควรลองใบที่เล็กลง

ลูกซ้อนมอเตอร์ไซค์ ควรใช้ขนาดหมวกนิรภัยที่เหมาะสมกับลูกน้อยไซส์ใด?

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรคำนึงถึงในการเลือกหมวกกันน็อค คือ

ข้อคิดก่อนพา ลูกนั่งซ้อนมอเตอร์ไซค์

ถึงแม้ว่าหลายคนจะตระหนักถึงความเสี่ยงของการให้เด็กโดยสารรถจักรยานยนต์ แต่ว่าหลายพื้นที่ในประเทศไทยก็ยังไม่มีระบบขนส่งสาธารณะที่ดีพอที่จะทำให้ทุกๆ คนสามารถเข้าถึงได้ เด็กๆ รวมถึงผู้ปกครองจึงยังจำเป็นต้องใช้จักรยานยนต์เป็นประจำ อย่างไรก็ตามหากปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น ไม่ขับขี่เกินความเร็วที่กำหนด สวมหมวกนิรภัยเพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่ศีรษะ ตรวจสอบสภาพรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ก็จะพอลดความเสี่ยงลงได้บ้าง

แต่ทางที่ดีที่สุด! คงจะเป็นการให้ทารกและเด็กเล็กหลีกเลี่ยงการโดยสารจักรยานยนต์นั่นเองค่ะ ด้วยความปรารถนาดีจาก Amarin Baby & Kids

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


นพ.ฉัตรชัย อิ่มอารมย์ กุมารแพทย์ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก และ อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จากนิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับเดือน มีนาคม 2017 Column : Kid Safety

เครดิต: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพผู้จัดการออนไลน์96.5 FMvoice TVok nationsave the childrenPPTV