แม่ระวัง! ลูกไม่กินข้าวเช้า เสี่ยงเป็นโรคต่อร่างกาย เป็นภัยร้ายกับสมอง …เพราะอาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญกว่ามื้ออื่น ๆ การกินอาหารเช้าจะช่วยเติมท้องของลูกน้อยที่ว่างมาทั้งคืนให้เต็ม ทำให้ลูกมีพลังที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะพลังสมองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความจำ การเรียนรู้ และความกระตือรือร้น
อาหารมื้อเช้า เป็นอาหารมื้อที่สำคัญที่สุด ซึ่งร่างการของลูกน้อยต้องการสารอาหารในช่วงเวลา 07.00 – 09.00 น. มากที่สุด เพราะเป็นช่วงตารางนาฬิกาชีวิตของมนุษย์เรา เนื่องจากเวลานี้สมองของคนเราต้องการเลือดและออกซิเจน เป็นอาหารบำรุง ถ้าไม่รับประทานอาหารเช้า ก็จะไม่มีเลือดมารับออกซิเจนส่งขึ้นไปเลี้ยงสมองนั่นเอง
ซึ่งถ้าเลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอหรือส่งไปได้น้อยแล้วล่ะก็ จะเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้ ผมร่วง หน้าแก่เร็ว คออักเสบง่าย นอนไม่ค่อยหลับ นอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ ฝันบ่อย ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดศีรษะ ปวดหู ปวดกระบอกตา ปวดข้อเท้า กระดูกสะโพกจะเคลื่อนได้ง่าย เหงือกบวม เจ็บคอ เจ็บลิ้น เป็นไซนัส หรือ วิตกกังวล …โดยอาการเหล่านี้ อาจเกิดขึ้นทีละอย่าง หรือหลายอย่างพร้อมกันก็ได้ จนเป็นสาเหตุที่นำไปสู่อาการสมองเสื่อมต่อไปในอนาคต
ลูกไม่กินข้าวเช้า เสี่ยงโรคภัยรุม–สมองล้า
หากลูกน้อยที่อยู่ในวัยเรียน ไม่ได้ทานอาหารเช้าก่อนเข้าเรียน จะทำให้ขาดสมาธิง่าย ส่งผลต่อสติปัญญา การเรียน เพราะอาหารเช้าจะช่วยเติมพลังสมองที่เกี่ยวข้องกับความจำ การเรียนรู้ และความกระตือรือร้น ทำให้การทำกิจกรรมในแต่ละวันมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสำหรับเด็กที่อดอาหารเช้าเป็นประจำ ก็จะทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้ร่างกายไม่แข็งแรง การเจริญเติบโตไม่เป็นไปตามเกณฑ์อีกด้วย
ทั้งนี้จากผลเสียที่กล่าวมาข้างต้น ก็ยังทำให้เสี่ยงต่อโรคต่างๆ ตามมา ดังนี้
1. โรคอ้วน
เพราะการที่เด็กอดอาหารมื้อเช้า จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ อาจส่งผลให้มื้อต่อๆ ไปกินหนักขึ้นและเผลอกินของหวานเข้าไปก็เป็นได้ แถมอัตราการเผาผลาญยังลดลงอีกด้วย
2. โรคเบาหวาน
เมื่อลูกไม่รับประทานมื้อเช้าบ่อยๆ ก็จะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งถ้าหากรับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ จะช่วยลดภาวะผิดปกติดังกล่าวที่เป็นสาเหตุของโรคเบาหวานได้ถึงร้อยละ 35-50 เลยล่ะค่ะ
3. โรคอัลไซเมอร์
อย่างไรก็ดีการรับประทานอาหารเช้าจะช่วยไปกระตุ้นพลังให้กับสมองและทำให้มีความจำที่ดีได้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากลูกไม่ได้ทานอาหารมื้อเช้า ก็จะทำให้ร่างกายไม่สดชื่น ไม่กระปรี้กระเปร่า มีอาการหลงลืม ความจำไม่ดี ไม่มีสมาธิ ซึ่งหากทำเป็นประจำต่อเนื่องนานๆ อาจนำมาซึ่งโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างแน่นอน
อ่านต่อ >> “โรคที่ลูกน้อยต้องเสี่ยง เพราะไม่กินอาหารเช้า” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
4. โรคเส้นเลือดในสมองและโรคหัวใจ
เพราะตอนเช้าหลังจากที่ลูกน้อยตื่นนอนนั้น เลือดจะมีความเข้มข้นสูง ซึ่งทำให้เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงสมอง หรือหัวใจอุดตันได้ โดยจากผลการวิจัยของสมาคมแพทย์โรคหัวใจในอเมริกา พบว่า การรับประทานอาหารเช้าอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคดังกล่าวได้
5. โรคกรดไหลย้อน
การเกิดกรดไหลย้อน ปัจจัยหนึ่งมาจากพฤติกรรมที่เด็กๆ รับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม และการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลาก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น บางรายไม่ชอบรับประทานอาหารเช้า แต่หันไปพึ่งพาเครื่องดื่มเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะในกรณีของผู้ใหญ่ ที่ชอบทาน ชา กาแฟ ซึ่งเครื่องดื่มเหล่านี้จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้น้ำย่อยหลั่งออกมามากขึ้น
6. โรคนิ่ว
อาจดูไม่น่าเป็นไปได้ที่การไม่รับประทานอาหารเช้าจะทำให้เป็นนิ่ว แต่การไม่รับประทานอาหารนานกว่า 14 ชั่วโมง (นับจากช่วงเวลานอน 20.00 ถึงเวลาตื่น 09.00 น.) จะทำให้คอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีจับตัวกัน และหากปล่อยทำเป็นประจำไปนานๆ จะทำให้กลายเป็นก้อนนิ่วได้ ซึ่งการรับประทานอาหารเช้าเป็นประจำจะช่วยให้ตับปล่อยน้ำดีออกมาละลายไม่ให้คอเลสเตอรอลจับตัวกัน สามารถป้องกันการเกิดโรคนิ่วได้
♥ วิธีการสร้างแรงจูงใจให้เด็กๆหันมาสนใจมื้อเช้าและสนุกกับการกิน!
การทำให้ลูกกินมื้อเช้าได้นั้น สิ่งสำคัญคือ สมาชิกทุกคนในบ้าน (หรือเท่าที่พอจะทำได้) ต้องนั่งกินอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน มื้อเช้าจะได้เป็นช่วงเวลาพิเศษของครอบครัว และอบอวลไปด้วยกลิ่นหอมหวนยวนใจที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กๆ เกิดความอยากอาหารขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
หรือคุณแม่อาจจะลองเตรียมอาหารเพื่อให้ลูกหยิบไปนั่งกินในรถก็ได้ แต่ถึงจะเป็นเมนูที่ทำง่ายและใช้เวลาน้อยก็ต้องไม่ลืมเรื่องคุณค่าทางโภชนาการ คือต้องทั้งสะดวกและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของลูกด้วย เพียงเท่านี้มื้อเช้าก็เป็นมื้อโปรดของลูกได้แล้วล่ะค่ะ
♥ บทความแนะนำ : หมอแนะ! 4 เทคนิค ฝึกลูกกินข้าวเก่ง
Amarin Baby & Kids จึงขอแนะนำให้คุณแม่เตรียมอาหารมื้อเช้าไว้ให้เจ้าตัวน้อยสำหรับวัยอนุบาลให้สามารถตื่นมาทานอาหารเช้าได้ตลอดทุกวันเป็นประจำแบบไม่ต้องอด โดยให้คุณแม่เข้าครัวเตรียมอาหารง่ายๆ เหล่านี้ไว้กันตั้งแต่ตอนเย็นนั่นเอง พอเช้าตื่นขึ้นมาก็นำออกมาอุ่นร้อนๆ ใช้เวลาแป็ปเดียวลูกก็สามารถหยิบไปนั่งกินบนรถได้อย่างอร่อย จะมีเมนูอาหารสำหรับวัยอนุบาลก่อนไปโรงเรียน อะไรบ้างไปดูกันค่ะ
อ่านต่อ >> “เมนูอาหารเช้าง่ายๆ เตรียมพร้อมรับวันใหม่ให้เจ้าตัวน้อย” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
เมนูอาหารเช้าง่ายๆ เตรียมพร้อมรับวันใหม่ให้เจ้าตัวน้อย
1. โจ๊กหรือข้าวต้ม เพียงแค่คุณแม่ทำข้าวต้มหมูหรือกุ้งหรือทำโจ๊กกันทิ้งไว้ตั้งแต่ตอนกลางคืนก่อนเข้านอน จากนั้นแช่ตู้เย็นเอาไว้ ตอนเช้าก็ลุกมาอุ่น โรยหน้าเล็กน้อยด้วยต้นหอมและผักชี เพียงเท่านี้ก็จะได้อาหารเช้าแสนอร่อยอิ่มท้องสำหรับเจ้าตัวน้อยกันแล้วค่ะ
♥ เมนูแนะนำ >> ข้าวต้มทรงเครื่อง (10 เดือน++) >> ข้าวต้มผักโขมแครอทแสนรัก ( 6 เดือน+) >> โจ๊กข้าวกล้องไก่บ้านกับผักสีรุ้ง (1 ขวบ++)
2. ขนมปังปิ้ง ให้คุณแม่ทำขนมปังปิ้งคู่ทานกับไข่ขาว 1 ฟอง เสิร์ฟพร้อมกับน้ำส้มหรือนมสด 1 แก้ว เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้ว
♥ เมนูแนะนำ >> ปังหรรษา (2 ขวบ++)
3. ซีเรียล อีกหนึ่งเมนูสุดแสนจะง่ายมือคุณแม่มาก ก็คือ ทานซีเรียลผสมกับนมและเติมจมูกข้าวลงไปผสมอีกสักเล็กน้อย ตามด้วยส้มอีก 1-2 ผล เพียงเท่านี้ก็ทำให้ลูกน้อยอิ่มท้องได้อีกมื้อแล้วค่ะ
♥ บทความแนะนำ : “อาหารตามวัย” กินอย่างไรให้ลูกแข็งแรง
4. แซนวิชผัก เมนูอาหารที่ทำได้ง่ายดายมากๆ ค่ะ แนะนำให้คุณแม่หันมาใช้ขนมปังโฮลวีทประกบกันแล้วใส่ผักต่างๆ ที่ลูกชอบลงไป อาจจะเติมเนื้อสัตว์อย่างไข่ต้ม ปลาทูน่าและเนื้อไก่ลงไปผสมตามก็ได้ ทานคู่กับนม 1 แก้ว รับรองได้ทั้งความอร่อย อิ่มสบายท้องและสุขภาพดีเห็นๆ เลยล่ะ
♥ เมนูแนะนำ >> แซนวิชปลาย่าง กับน้ำสลัดฟักทอง (2 ขวบ++ )
5. ข้าวไข่เจียว เจียวไข่โดยใส่ผักต่างๆ ค่ะ เช่น คะน้าฝอย ใบตำลึง มะเขือเทศและแครอท ใส่ผักหลากหลายอย่างโดยหั่นชิ้นเล็กๆ ผสมรวมกัน ทานกับข้าวร้อนๆ เท่านี้ก็ทำให้อิ่มท้องนานและยังได้คุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนอีกด้วย
♥ เมนูแนะนำ >> [เมนูอาหารเด็ก] ข้าวไข่เจียวโปเกม่อน พร้อมคุณประโยชน์จากไข่ >> ไข่ม้วนตับ (1 ขวบ++)
6. บะหมี่หรือข้าวผัด ให้เติมโปรตีนอย่างเนื้อหมู เนื้อไก่และผักต่างๆ เช่น แครอทและถั่วผักยาวหรือผักคะน้าหั่นชิ้นเล็กๆ และตอกไข่ลงไปผัดเพิ่ม ทำไว้ตั้งแต่ตอนเย็น เช้านำมาอุ่นก็จะได้เมนูอาหารที่ได้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วนแล้วค่ะ
♥ เมนูแนะนำ >> บะหมี่ผักน้ำข้นกับปูอัด (1 ขวบ++) >> ไอเดียแต่งจาน 11 เมนูสุดน่ารัก (ได้กินแบบนี้หนูจะไม่ดื้อเลย)
ทั้งนี้ในการรับประทานอาหารเช้านั้น ไม่ควรทานอาหารประเภทข้าวแป้ง ที่ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว สำหรับอาหารประเภทซีเรียลต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน จะมีแป้งเป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ ขอแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานเพียงอย่างเดียว ควรรับประทาน คู่กับนม และเพิ่มไข่ ซึ่งเป็นอาหารเช้าที่ดีที่สุด และเสริมด้วยสลัดผักและผลไม้ด้วย ก็จะได้สารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย”
สำหรับเด็กที่รับประทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อนั้น ส่วนใหญ่มักจะงดมื้อเช้าด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น ต้องตื่นแต่เช้าเร่งรีบไปเรียนหรือทำงาน ไม่มีเวลาพอสำหรับการเตรียมอาหารเช้า หรือบางคนงดอาหารเช้าเพราะต้องการลดน้ำหนัก เหตุผลนี้พบมากในวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดและเกิดผลเสียตามมา
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ลูกไม่ยอมกินข้าว แก้ไขได้อย่างไร?
- 7 อันดับ อาหารทำลายสุขภาพ ลูกน้อย
- มื้อเช้าแบบไหนถูกใจลูก ..มาดูกันค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก : women.sanook.com , www.thaihealth.or.th , manager.co.th