AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

โรคคาวาซากิ โรคร้ายที่ใกล้ตัวลูก

เครดิตภาพ: MindChamps Medical และ Pantip

เรื่องจริงของ โรคคาวาซากิ โรคร้ายที่ส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของหัวใจเด็ก เรื่องจริงที่พ่ออยากบอกต่อ!

 

 

พบกับกระทู้ที่คุณพ่อท่านหนึ่งเขียนขึ้นผ่านเวปพันธิป เพื่อกล่าวเตือนทุกครอบครัวที่มีลูกต่ำกว่า 5 ขวบให้ระวังโรคร้ายที่สามารถส่งผลกับการทำงานของหัวใจลูกดังเช่นลูกของคุณพ่อที่สุดท้ายแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนจนทำให้ลูกชายต้องป่วยเป็นเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง ไปอ่านเรื่องราวของคุณพ่อท่านนี้กันเลยค่ะ

กระทู้นี้ผมเขียนขึ้นเพื่อเป็นข้อคิดและเป็นความรู้สำหรับพ่อแม่ทุก ๆ คนที่มีลูกอายุต่ำกว่า 5 ขวบ…ขอให้เป็นวิทยาทานเพื่อช่วยให้ลูกชายผมหายป่วยจากภาวะแทรกซ้อนเส้นเลือดหัวใจโป่งพองกลับมาเป็นปกติในเร็ววัน…
Day 1-3  : ลูกผมป่วยเป็นไข้โดยไข้สูงเริ่มในวันที่ 2  ผมให้ยาลดไข้ที่บ้าน และติดตามอาการ พบว่ากลางวันลูกชายยังเล่นได้ดีในช่วง 2 วันแรก แต่วันที่ 3 งอแงมาก ส่วนกลางคืนงอแงมากขึ้นในคืนที่ 2 และ 3  ซึ่งตอนแรกผมก็คิดว่าลูกไม่น่าจะเป็นอะไรมาก?
Day 4 :08:00 น. ผมพาลูกไปหาหมอที่ รพ. เอกชนในตัวจังหวัด หมอที่รับแอทมิทเจาะเลือดหาโรคใข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่แต่ไม่พบทั้ง 2 โรค แต่พบว่าค่าการอักเสบสูงมาก เลยรับแอทมิทโดยการให้น้ำเกลือ ยาลดไข้และยาฆ่าเชื้อ (ไม่รู้ชื่อยา?) เพราะลูกชายเพลียมาก ไม่ยอมกินข้าวและนม และงอแงไม่ยอมนอน (วางให้นอนเดี่ยวๆไม่ได้ ยกเว้นนอนบนพ่อหรือแม่ แต่หลับไม่สนิท) ผ่านไป 2 วันอาการไข้สูงก็ยังไม่ดีขึ้น (กินยาลดไข้ลงสักพักแล้วก็กลับมาไข้สูงต่อ)
Day 6: – 09:00 น. หมอสั่งตรวจเลือดเพื่อหาใข้เลือดออกอีกรอบแต่ก็ไม่พบ หมอสงสัยเป็นโรคคาวาซากิ (เป็นครั้งที่ 2 ที่ผมได้ยินชื่อโรคนี้ ครั้งแรกเคยได้ยินจากคนในหมู่บ้านเดียวกันที่ลูกวัย 3 เดือนเขาเคยป่วยเป็นโรคนี้ แต่ไม่ได้สนใจอะไร) ผมตัดสินใจย้าย รพ. เพื่อพาลูกไปรักษาตัวที่กรุงเทพ เป็น รพ.เอกชนชื่อดัง (ซึ่งลูกผมเคยไป Admit มาหลายครั้งด้วยโรคหวัด) โดยผมค้นหาหมอที่ชำนาญเฉพาะทางของโรคนี้
– 17:00 น. วันที่ 6 ลูกผมก็ถึงมือหมอ โดยหมอสอบถามอาการต่าง ๆ ผมก็เล่าให้ฟังพร้อมกับจดหมายของหมอจาก รพ.เดิม พูดคุยกับหมอมากกว่าครึ่งชั่วโมง หมอฟังอาการแล้วก็พยายามพูดให้ฟังเรื่องเกี่ยวกับโรคนี้ ทั้งที่บอกว่าโรคนี้สามารถเป็นและหายเองได้ และภาวะแทรกซ้อนที่น่ากลัวของโรคนี้คือภาวะเส้นเลือดหัวใจโป่งพอง ซึ่งหมอบอกว่ามียาที่ราคาแพงมากจะช่วยป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ โดยยาดังกล่าวไม่มีผลเสียอะไร นอกจากเสียเงิน ถ้าไม่ได้เป็นโรคนี้ ผมก็รับได้กับทุกอย่าง หมอจะให้ยาดังกล่าวในคืนนี้เลย โดยให้เขียนรายการสำรองยาไว้แล้วส่งตรวจเลือดลูกผมอีกครั้ง  (ความรู้สึกผมตอนนั้นใจหนึ่งก็ภาวนาอย่าให้ลูกเป็นโรคดังกล่าวเลย เพราะค่ายาแพงมาก ผมมาหาความรู้เองในคืนนั้นพบว่ายาชื่อ IVIG เป็นยาที่แพงมาก ใน รพ.เอกชน ยาดังกล่าวต่อ 1 โดสอาจจะเป็นแสนบาท)
– 21:00 น. หมอโทรมาแจ้งว่ายังจะไม่ให้ยาตัวแพง เพราะค่าเลือดยังไม่สื่อว่าเป็นโรคาวาซากิ ให้สังเกตอาการไข้ โดยตั้งแต่ช่วง 18:00 น. หมอได้สั่งจ่ายยาลดไข้สูงชื่อ Brusil (ชื่อสามัญ Ibrufen) และยาฆ่าเชื้อไหมผมไม่แน่ใจ แต่ผมอ่านเจอทีหลังว่าถ้ามีการให้ยาชนิดนี้อาจจะบดบังอาการของโรคคาวาซากิได้..?
– คืนนั้นทั้งคืนพยาบาลก็เข้ามาวัดไข้และเมื่อไข้สูงก็ ให้ยาลดไข้ต่อเนื่องจน 08:00 น. ของเช้าวันที่ 7
Day 7: -09:00 น. หมอมาตามอาการต่อ และห้ามให้พยาบาลให้ยาลดไข้อีกแล้ว เพื่อตามผลของไข้  จนเวลาประมาณ 14:00 น. ลูกผมก็กลับมาตัวร้อนต่อ ไข้อยู่ที่ 37.9 พยาบาลให้ยาลดไข้ต่ำ
-15:00 น.  หมอโทรมาบอกว่ายังไม่ให้ยาตัวดังกล่าว แต่จะให้หมอเฉพาะทางด้านโรคติดเชื้อมาช่วยดูอาการว่าเกิดจากอะไร
-21:00 น. หมอเฉพาะทางโรคติดเชื้อมา แจ้งว่าขอติดตามผล 2 วันเพื่อดูอาการไข้ โดยจะให้ยาฆ่าเชื้อ โดยหมอสงสัยเป็นโรคเห็บหนู?
***ช่วงวันที่ 6-7 ที่ผมต้องเล่าละเอียดเพราะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากในการวินิจฉัยโรคคาวาซากิของลูกผม เพราะพอเข้าวันที่ 8 หลังจากได้รับยาฆ่าเชื้อตัวใหม่ ลูกผมไข้ลดลงต่อเนื่องจนไม่มีไข้ ในตอนนั้นผมก็ดีใจว่าลูกหายใข้แล้วและไม่เป็นโรคดังกล่าว ***

อ่านต่อเรื่องราวของคุณพ่อ คลิก!

เครดิต: Pantip สมาชิกเลขที่ 2897295

 

Day 8: หมอมาตามผลของไข้ ก็ไม่มีไข้
Day 9: หมอมาตามผลของไข้ ก็ไม่มีไข้ และให้ลูกผมไปทำ Echo หัวใจในช่วงบ่ายของวันที่ 9 ผลการทำ Echo หมอสรุปว่าลูกผมไม่เป็นโรคคาวาซากิ มันยิ่งตอกย้ำให้ผมดีใจและมั่นใจในข้อสรุปของหมอ
Day 10: หมอมาตามผลของไข้ ก็ไม่มีไข้จึงให้ลูกผมกลับบ้านได้ โดยใม่ได้นัดมาติดตามผล
Day11-13: ลูกผมกลับมามากินข้าวได้ นอนหลับ เล่นซนเหมือนปกติ โดยใน Day 13 ลูกผมเริ่มมีปลายนิ้วลอก (ซึ่งอาการนี้เป็นอีกอาการของโรคคาวาซากิ) เช้าวันรุ่งนี้ผมพยายามโทรเข้าไปที่รพ.เพื่อคุยกับหมอ จนโทรติด หมอให้ผมพาลูกไปหาในวันรุ่งขึ้น
Day 15: หมอเห็นปลายอาการลอกของนิ้วมือแล้วก็ฟันธงว่าเป็นโรคคาวาซากิ สิ่งที่ผมดีใจไปตลอดช่วงเกือบสัปดาห์ที่ผ่านมาไม่เป็นเช่นนั้น หมอให้ลูกผมไปทำ Echo หัวใจอีกครั้ง พบว่าลูกผมเริ่มมีเส้นเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโป่งพองแล้ว

ทำความรู้จักกับโรคคาวาซากิ 

โรคนี้เริ่มมีรายงานครั้งแรกตั้งแต่ปี 2504 โดยแพทย์ชาวญี่ปุ่นชื่อ Tomisaku Kawasaki ตรวจพบในเด็กชายชาวญี่ปุ่นอายุ 4 ปี ที่ป่วยเป็นไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ ซึ่งไม่เคยตรวจพบมาก่อน หลังจากนั้นจึงตรวจพบผู้ป่วยอาการแบบเดียวกันมาเรื่อย ๆ และมีอุบัติการณ์ของโรคนี้กระจายไปทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทย แต่มักจะพบในเด็กชาวตะวันออกมากกว่าตะวันตกและส่วนใหญ่จะอายุน้อยกว่า 5 ปี

จากรายงานล่าสุดในประเทศไทย ช่วงปี 2541 – 2545 พบอุบัติการณ์ 5 รายในประชากร 100,000 คน แต่ในระยะหลัง ๆ นี้พบว่ามีอุบัติการณ์ของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และภาวะการต้านยาก็พบมากขึ้นตามลำดับ โรคนี้หากให้การรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นคือในระยะ 5-7 วันแรกของโรค จะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคแทรกซ้อนลงได้อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่หลอดเลือดหัวใจ

กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

อาการของโรคเป็นอย่างไร คลิก

เครดิต: theworldmedicalcenter

อาการของโรค

  1. ไข้สูง 38.3 องศาเซลเซียสขึ้นไป และไข้ไม่ลดนานเกิน 5 วัน
  2. ตาแดง ริมฝึปาก คอและเยื่อบุปากแดง ลิ้นเป็นตุ่มนูนแดงคล้ายผิวของผลสตรอเบอร์รี่ และริมฝีปากแตก
  3. มือเท้าบวมแดงในเวลาต่อมา และในช่วงประมาณสัปดาห์ที่ 2 และ 3 นั้นปลายมือเท้าอาจจะลอก
  4. มีผื่นลักษณะต่าง ๆ ขึ้นตามตัวและอาจเป็นมากบริเวณขาหนีบ
  5. ต่อมน้ำเหลือบริเวณลำคอโต ไม่เจ็บหรือมีอาการเจ็บบ้างเล็กน้อย

อาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น

การรักษา

สามารถทำโดยการให้สารโปรตีนคุ้มกันโรค ซึ่งสกัดจากน้ำเหลืองในเลือด ร่วมกับการให้แอสไพริน ในระยะเวลาที่เหมาะสม จะช่วยให้ไข้ลดลงเร็ว และช่วยป้องกันผลแทรกซ้อนต่อหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ป้องกันโรคคาวาซากิได้ไหม?

ปัจจุบัน ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคคาวาซากิ จึงยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่เป็นโรคที่รักษาได้ การรักษาที่ถูกต้อง รวดเร็ว จะป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งที่สำคัญ คือ หลอดเลือดแดงหัวใจโป่งพองได้มาก ผู้ปกครองควรปรึกษาแพทย์ให้เข้าใจธรรมชาติของโรคเพื่อการร่วมมือกันในการรักษาผู้ป่วย

คุณพ่อคุณแม่คะ คอยหมั่นสังเกตอาการของลูกให้ดี และอย่านิ่งนอนใจ จริงอยู่ที่ลูกอาจจะมีแค่ไข้ธรรมดาและสามารถหายได้เอง แต่ถ้าหากลูกมีไข้สูงมากและนานเกินกว่า 4 – 5 วัน คิดว่าการพาลูกไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดนั้น ถือเป็นคำตอบที่ดีที่สุดแล้วละค่ะ

เครดิต: Pantip และ Haamor

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids