ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคระบาดที่เกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี และเป็นความเจ็บป่วยที่พ่อแม่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับ ลูกๆ ที่บ้านเลย ดังนั้นเพื่อให้ทุกครอบครัวได้รู้เท่าทันอาการของโรคไข้เลือด และโรคไข้หวัดใหญ่ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีจุดสังเกตถึงความแตกต่างมาบอกให้ทราบกันค่ะ
ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ ต่างกันอย่างไร?
การรู้เท่าทันอาการเจ็บป่วยของโรคอย่าง ไข้เลือดออก กับ ไข้หวัดใหญ่ อย่างถูกต้องในเบื้องต้นจะช่วยให้เด็กๆ ไม่เสี่ยงต่อ การป่วยหนัก เพราะสามารถรักษาอาการป่วยให้หายเป็นปกติได้ตั้งแต่เริ่มต้นเลยค่ะ ดังนั้นก่อนที่เราจะไปเจาะลึกอาการเด่นๆ ของโรคไข้เลือดออก กับ โรคไข้หวัดใหญ่ คุณพ่อคุณแม่มาทำความเข้าใจกับอาการเป็นไข้ ตัวร้อนของลูกๆ กันก่อนค่ะ
ไข้หรือตัวร้อน หมายถึง อุณหภูมิกายเพิ่มสูงกว่าปกติ หากเป็นอุณหภูมิที่วัดทางปากต้องสูงเกิน 37.2 องศาเซลเซียส เวลาที่มีไข้ไม่จำเป็นว่าทุกส่วนของร่างกายจะต้องร้อนเท่ากันหมด อาจร้อนที่ศีรษะ ลำตัว และแขนขา[1]
บทความแนะนำ คลิก >> วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นไข้
อุณหภูมิในร่างกายไม่ว่าจะของเด็ก หรือผู้ใหญ่ จะต้องอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียสซึ่งถือว่าเป็นอุณหภูมิร่างกายที่ปกติ แต่หากร่างกายมีความผิดปกติและแสดงออกมาว่ามี ไข้ หรือ ตัวร้อน เมื่อวัดอุหภูมิของร่างกายแล้ว หากสูงมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ถือว่ามีไข้ ถ้าอุณภูมิสูงไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส ถือว่ามีไข้ต่ำ แต่หากวัดแล้วร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ถือว่ากำลังมีไข้สูง และถ้าอุณหภูมิร่างกายสูงเกิน 41.5 องศาเซลเซียส เรียกว่ามีไข้สูงเกิน(Hyperpyrexia) ที่ถือว่าร่างกายกำลังเข้าสู่ภาวะอันตราย ควรต้องรีบไปโรงพยาบาล และได้รับการรักษาทันทีค่ะ
อ่านต่อ โรคไข้เลือดออก กับอาการเด่นๆ ที่สังเกตได้ หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โรคไข้เลือดออก วิธีสังเกตอาการ
ช่วงฤดูฝนยุงลายออกมาเยอะกว่าปกติ บ้านไหนไม่ติดมุ้งลวด หรือไม่ทายากันยุงให้ลูก อาจโดนยุงกัดเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยไข้เลือดออกได้ง่ายมากค่ะ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลบ้านให้ปราศจากยุง และที่สำคัญควรต้องรู้อาการเบื้องต้นของไข้เลือดออกด้วย เพื่อที่หากลูกป่วยขึ้นมาจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
ลักษณะเด่นของ ไข้เลือดออก
- มีระยะฟักตัวของเชื้อก่อนที่จะแสดงอาการ 5-8 วัน
- มีไข้สูงลอย 2-7 วัน (38.5-41 องศาเซลเซียส)
- ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา ร่วมกับปวดตามกล้ามเนื้อมาก
- บางรายมีเลือดออกผิดปกติ เช่น ถ่ายเป็นสีดำ อาเจียนเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน มีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง
- อาจพบตับโต คือ กดเจ็บบริเวณใต้ชายโครงขวา
** ในรายที่รุนแรงจะมีภาวะช็อก หากรักษาไม่ทัน ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายใน 24-48 ชั่วโมงเท่านั้น **
บทความแนะนำ คลิก >> วิธีกำจัดยุง ป้องกันไข้เลือดออก และไวรัสซิกา
สำหรับไข้เลือดปัจจุบันยังไม่มียาหรือวัคซีนสำหรับป้องกันและต้านเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ จึงทำได้เพียงรักษาตามอาการ และประคับประคองอาการเท่านั้น ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดเพื่อป้องกันเด็กๆ และคนในครอบครัวป่วยจากไข้เลือดออก คือ..
- หลีกเลี่ยงการถูกยุงกัด โดยนอนในมุ้ง หรือห้องที่มีมุ้งลวด หรือจุดยากันยุง ใช้ยาทากันยุง
- ไม่อยู่ในบริเวณอับลมหรือเป็นมุมมืด มีแสงสว่างน้อย เนื่องจากเป็นบริเวณที่ยุงชอบ
- หมั่นอาบน้ำให้สะอาด ปราศจากกลิ่นเหงื่อไคล เพราะกลิ่นเหงื่อไคลจะดึงดูดให้ยุงเข้ามากัดเรามากขึ้น
- สวมเสื้อผ้ามิดชิดหากจำเป็นต้องออกข้างนอกตอนกลางคืน
ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะแหล่งน้ำขังภายในบ้านและรอบๆ บ้าน เช่น จานรองขาตู้กับข้าวกันมด แจกันดอกไม้ ภาชนะเลี้ยงพลูด่าง จานรองกระถางต้นไม้ หรือกระทั่งเศษวัสดุไม่ใช้แล้วแต่มีน้ำไปขังอยู่ได้
อ่านต่อ โรคไข้หวัดใหญ่ กับอาการเด่นๆ ที่สังเกตได้ หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โรคไข้หวัดใหญ่ วิธีสังเกตอาการ
เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายอ่อนแอ บวกกับอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ไม่ว่าจะร้อน หนาว ฝนตก เด็กๆ ก็สามารถเจ็บป่วยด้วยโรค ไข้หวัดใหญ่ขึ้นมาได้ค่ะ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของลูก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลสุขภาพร่างกายลูกให้แข็งแรงอยู่ ตลอดเวลา ให้ทานอาหารที่มีประโยชน์ ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอยู่เป็นประจำ เป็นต้น และที่สำคัญควรต้องรู้อาการ เบื้องต้นของไข้หวัดใหญ่ด้วย เพื่อที่หากลูกป่วยขึ้นมาจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงทีค่ะ
ลักษณะเด่นของ ไข้หวัดใหญ่
- มีไข้สูง บางครั้งสูงมากถึง 38 – 41 อง ศาเซลเซียส
- อาการไข้จะเป็นอยู่ประมาณ 3-5 วัน
- ไอแห้งๆ มีน้ำมูก
- ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย
- อ่อนเพลียมาก เจ็บคอ คัดจมูก
- มีอาการเบื่ออาหาร
สำหรับไข้หวัดใหญ่ปัจจุบันนี้มีวัคซีนฉีดป้องกันได้ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ มีคำแนะนำดังนี้ค่ะ
- ก่อนฉีดวัคซีน ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
- สุขภาพโดยรวมสามารถปฏิบัติงานได้ปกติ ไม่ป่วยหรือมีอาการไข้ก่อนรับการฉีดวัคซีน
- ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
- คนที่มีประวัติแพ้ไข่ไก่อย่างรุนแรง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีน
- คนที่มีประวัติเคยแพ้วัคซีนไข้หวัดใหญ่อย่างรุนแรง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดวัคซีน
บทความแนะนำ คลิก >> ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฟรี ปี 2560
เริ่มแรกเมื่อป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่ และโรคไข้เลือดออก จะมีอาการคล้ายๆ กันในช่วง 2-3 วันแรก คือมีอาการปวดหัว ตัว ร้อน เจ็บคอ ปวดตามข้อ เป็นต้น จึงแนะนำว่าคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ที่ดูแลเด็ก ให้สังเกตอาการอื่นๆ ตอนป่วยเพิ่มด้วย ก็จะ ช่วยให้แน่ใจว่าเจ็บป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือไข้เลือดออก …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
เตือนพ่อแม่ระวัง ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ระบาด
5 วิธีปราบยุง ต้นเหตุไข้เลือดออก แบบไม่บาป
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1ศ.นพ.เกรียงศักดิ์ จีระแพทย์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ไข้หรือตัวร้อน. si.mahidol
ไข้หวัดใหญ่. โรงพยาบาลเวชศาตร์เขตร้อน