โรคติดเชื้อจากน้ำลายสุนัขและแมว …เชื่อว่าใครหลายๆบ้าน หลายๆ ครอบครัว มักเลี้ยงน้องหมา น้องแมว ไว้เป็นเพื่อนเล่นให้กับเด็กๆ อยู่ในบ้าน … แต่เมื่อได้เลี้ยงเจ้าพวกนี้ไว้ในบ้านแล้ว สิ่งต้องห้าม คือ อย่าปล่อยให้สุนัขหรือแมวเลียปาก เลียหน้าเลียตา เพราะถ้าได้รู้จักโรคติดเชื้อจากน้ำลายสุนัขและแมว ทุกคนจะต้องสยองกับมันแน่นอน!!
โรคติดเชื้อจากน้ำลายสุนัขและแมว มีสาเหตุมาจากอะไร?
โรคติดเชื้อจากสุนัขและแมวเป็นอาการติดเชื้อจากแบคทีเรีย Pastsrera ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งโรคนี้จะทำให้เกิดหนองเลือด เป็นพิษตามผิวหนัง มือ หรือเยื่อไขกระดูกอักเสบ หากเป็นกรณีที่ร้ายแรงมาก อาจเสียชีวิตได้
สามารถพบได้จากภายในปากของสุนัข 75% และแมวมากถึง 97% เจ้าของอาจใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับสัตว์เลี้ยงมากเกินไปจนทำให้ได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านน้ำลายของสัตว์เลี้ยง หรือการสูดดมเอาแบคทีเรียเข้าไปผ่านจมูก เช่น การจูบ หรือหอมสัตว์เลี้ยงประจำ
อาการของโรคติดเชื้อจากน้ำลายสุนัขและแมว
หากติดเชื้อผ่านการสูดหายใจเอาแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายผ่านจมูก อาจทำให้มีอาการคัดจมูกคล้ายเป็นหวัด แต่จริงๆ แล้วเป็นอาการของโพรงจมูกอักเสบ เป็นหนอง นอกจากนี้ยังอาจมีไข้สูง ไอค่อนข้างหนัก จนถึงขั้นไอเป็นเลือดเมื่อปอดติดเชื้อและหากเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ดวงตา ก็อาจทำให้มีอาการตาแดง และมีเลือดคั่งในตา
โรคติดเชื้อจากน้ำลายสุนัขและแมว อันตรายมากหรือไม่?
จริงๆ แล้วหากเป็นคนที่มีภูมิต้านทานโรคดี ร่างกายปกติแข็งแรงอยู่แล้ว ร่างกายอาจต่อต้านแบคทีเรียจนหายเป็นปกติได้เอง แต่หากยังคงได้รับเชื้อแบคทีเรียจากสัตว์เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง บวกกับร่างกายเริ่มไม่แข็งแรง พักผ่อนน้อย ทานอาหารที่ไม่ค่อยมีประโยชน์ และไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียทำร้ายร่างกายหนักขึ้นเรื่อยๆ จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน ความรุนแรงของโรคจึงขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานโรค และสุขภาพของแต่ละคนด้วย
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : วัยเตาะแตะมีสัตว์เลี้ยงได้ไหมนะ
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : ปฐมพยาบาลสัตว์เลี้ยงข่วนกัดคุณหนู easy baby & kids
อ่านต่อ >> “วิธีสังเกตว่าสุนัขและแมว มีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สังเกตได้อย่างไร ว่าสุนัขและแมวของเรา มีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อเราหรือไม่
เป็นเรื่องยากที่จะสังเกตจากภายนอกได้ว่า สุนัขหรือแมวมีเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อเราหรือไม่ เพราะเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปากของสุนัขและแมว ไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุนัขและแมวเอง แต่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ดังนั้นควรจะระวังไม่ว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีเจ้าของ ได้รับการดูแลอย่างดีหรือไม่ก็ตาม
เพราะเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในปากของสุนัขและแมว ไม่ได้เป็นอันตรายต่อสุนัขและแมวเอง แต่เป็นอันตรายต่อมนุษย์เราด้วย ดังนั้นควรจะระวังไม่ว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นจะเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีเจ้าของ ได้รับการดูแลอย่างดีหรือไม่ก็ตาม หากมีอาการคัดจมูก ตาแดง มีไข้สูง หรือไอหนัก โดยที่บ้านมีสัตว์เลี้ยง และคลุกคลีอยู่กับสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิด อาจต้องพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : สอนลูกรัก เข้าหาสัตว์อย่างถูกวิธี
จูบสัตว์เลี้ยง! เพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้
นอกจากนี้พฤติกรรมจูบสัตว์เลี้ยงแบบนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารให้กับเด็กๆ และผู้เลี้ยงได้อีกด้วยซึ่งข้อมูลนี้ก็ไม่ได้ถูกอ้างถึงแบบลอย ๆ เพราะมีหลายงานวิจัยที่ชี้ให้เห็นเลยว่า เชื้อโรคจากสัตว์เลี้ยงอาจเป็นอันตรายกับสุขภาพได้อย่างคาดไม่ถึง
ผลวิจัยล่าสุดที่ศึกษาโดยมหาวิทยาลัย Kitasato ประเทศญี่ปุ่น เผยว่า สิ่งปฏิกูลของสัตว์ทั้งในรูปของเหลว เช่น น้ำลาย ปัสสาวะ เลือด น้ำหนอง และสิ่งปฏิกูลของแข็งอย่างอุจจาระ อาจส่งต่อเชื้อโรคที่ทำให้คนเลี้ยงสัตว์เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารได้ง่ายขึ้น
โดยผลการศึกษาพบว่า ในสิ่งปฏิกูลของสัตว์เหล่านี้ แอบแฝงเชื้อแบคทีเรีย helicobacter heilmanni เชื้อแบคทีเรียตัวร้ายที่พบในร่างกายของผู้ป่วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารกว่า 60% ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการศึกษาของเยอรมนีก่อนหน้านี้ที่พบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารกว่า 70% ที่มีเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้อยู่ในตัว เป็นเจ้าของสัตว์เลี้ยงหรือมีพฤติกรรมคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงแทบทั้งนั้น
นอกจากนี้แล้ว พฤติกรรมที่จะเพิ่มความเสี่ยงให้กับเด็ก ต่อการได้รับเชื้อแบคทีเรีย helicobacter heilmanni จากสัตว์เลี้ยงโดยตรงก็มีดังต่อไปนี้ด้วย
- จูบสัตว์เลี้ยงหรือปล่อยให้สัตว์เลี้ยงเลียหน้าตา โดยสัมผัสกับน้ำลายของสัตว์เลี้ยงโดยตรง
- จูบสัตว์เลี้ยงบริเวณใกล้ ๆ ปาก
- ใช้ของร่วมกับสัตว์เลี้ยง เช่น ภาชนะ ผ้าเช็ดตัว หวี เป็นต้น
- สัมผัสกับสิ่งปฏิกูลหรือซากสัตว์เลี้ยงโดยไม่สวมถุงมือป้องกันเชื้อโรค
- จูบกับคนที่มีเชื้อแบคทีเรีย helicobacter heilmanni อยู่ในร่างกาย
ทั้งนี้ ด้าน ดร.คาเรน เบกเกอร์ สัตวแพทย์จากสหรัฐอเมริกายังเผยด้วยว่า ในร่างกายของสัตว์เลี้ยงก็มีเชื้อแบคทีเรียที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคในระบบลำไส้ของมนุษย์ เช่น เชื้ออีโคไล (E. coli) เชื้อแซลโมเนลล่า (salmonella) แบคทีเรียคลอสตริเดีย (clostridia) และเชื้อแคมพิโลแบคเทอร์ (campylobacter) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคในระบบทางเดินอาหารอย่างโรคท้องร่วง ท้องเสีย และความผิดปกติอื่น ๆ ของลำไส้
ยิ่งไปกว่านั้น ผลการศึกษาจาก Massey University ประเทศนิวซีแลนด์ยังพบว่า สัตว์เลี้ยงสามารถแพร่เชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิดที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้ โดยส่งผ่านเชื้อโรคและแบคทีเรียเหล่านี้มาทางน้ำลาย ดังนั้นจึงไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงเลียหน้า เลียปาก หรือจูบกับสัตว์เลี้ยงโดยตรง อีกทั้งหากสัมผัสกับน้ำลายของสัตว์เลี้ยงไม่ว่าจะส่วนไหนของร่างกาย ก็ควรรีบล้างทำความสะอาดโดยทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค
อ่านต่อ >> “แม่ท้องและทารกในครรภ์ เสี่ยงต่อการติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยง” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ความปลอดภัยของแม่ท้องกับสัตว์เลี้ยง
แมวสามารถนำโรคภัยมาสู่แม่ท้องได้มากกว่าสุนัข โดยเฉพาะโรคนี้ที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเชื้อนี้เกิดจากเชื้อโปรโตซัว ซึ่งจะเจริญและขยายพันธุ์ในลำไส้ของแมว โดยแมวที่เลี้ยงแบบปล่อย มักจะชอบเที่ยวนอกบ้าน ซึ่งอาจจะไปกินเนื้อดิบ ๆ หรือกินหนู และแมลงสาบที่ติดเชื้อ เชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายแมว ไปอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ ตลอดจนลำไส้ของแมว และเชื้อจะปนเปื้อนออกมากับอุจจาระของแมว
หากคุณแม่ท้อง ต้องทำความสะอาดกระบะทราย และสัมผัสถูกอุจจาระแมว แล้วไม่ล้างมือก่อนทานอาหาร คุณแม่ก็จะได้รับเชื้อโรคนี้ แล้วเชื้อจะส่งผ่านทางรกไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ได้ ซึ่งผลที่มีต่อเด็กคือ เด็กบางคนอาจแท้ง บางคนเมื่อเด็กคลอดออกมาตอนแรกจะเหมือนเด็กปกติทุกอย่าง แต่หลังจากคลอดประมาณ 6-7 เดือน เด็กที่ติดเชื้อโรคนี้จะมีอาการ ตาบอด ปัญญาอ่อน มีปัญหาด้านการเรียนรู้ และมีปัญหาด้านระบบประสาท เช่น สมองบวมน้ำ มีอาการชักและความผิดปกติของระบบประสาทได้
แต่โรคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับคุณแม่ท้องทุกคน เนื่องจากคุณแม่ส่วนใหญ่ที่แข็งแรงดี จะมีภูมิต้านทานโรคนี้อยู่ในระดับหนึ่งแล้ว หากได้รับเชื้อจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด แล้วก็หายไป คุณแม่ท้องที่ต้องระวังคือ คุณแม่ในกลุ่มเสี่ยงที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (เอดส์) คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งซึ่งอยู่ในช่วงให้เคมีบำบัด และผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ เพราะคุณแม่ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีภูมิต้านทานต่อโรคต่ำ ทำให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยคุณแม่ที่ได้รับเชื้อโรคนี้จะมีไข้และต่อมน้ำเหลืองบวม บางรายจะมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้ค่ะ
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : งานบ้านที่แม่ท้องทำได้และควรหลีกเลี่ยง
√เลี้ยงสัตว์อย่างไรให้ อยู่ใกล้ได้ แต่ไกลจากโรค
และถึงสัตว์เลี้ยงตัวโปรดจะสามารถนำพาอันตรายต่าง ๆ มาให้เด็กๆ และคุณแม่ท้องได้ แต่การเป็นเพื่อนยามเหงา แก้เครียด และช่วยให้ผ่อนคลายก็เป็นเรื่องดี ดังนั้นหากจะเลี้ยงสัตว์ระหว่างตั้งท้อง ควรปฏิบัติดังนี้ค่ะ
- หลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขกระโดดใส่ เพราะจะทำให้คุณแม่ได้รับอันตรายได้
- ไม่ควรเก็บอุจาระแมวจากกระบะทรายด้วยตัวเอง หรือถ้าหาผู้ช่วยไม่ได้ ควรสวมถุงมือแบบใช้ครั้งเดียว ทิ้งทุกครั้งในการทำความสะอาดกระบะทราย และล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง แนะนำว่ากระบะทรายควรเปลี่ยนทรายทุกวันเพื่อป้องกันเชื้อโรค
- สำหรับคุณแม่ที่ชอบปลูกต้นไม้ ทำสวน ควรสวมถุงมือทุกครั้ง เพราะสุนัขหรือแมว อาจมาอุจจาระไว้ในสวนหรืออาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนในดิน ทำให้คุณแม่อาจไปสัมผัสเชื้อโรคโดยไม่รู้ตัว
- ล้างมือหลังจับหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงทุกครั้งและก่อนทานอาหาร
ดังนั้นเหล่าคนรักสัตว์ก็ควรต้องระวังกับการสัมผัสน้ำลายและสิ่งปฏิกูลของสัตว์เลี้ยงอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็กเล็ก ๆ คุณแม่ตั้งครรภ์ คนชรา หรือผู้ที่กำลังป่วย โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคจากสัตว์เลี้ยงได้ง่ายกว่าปกติ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ติดเชื้อในกระแสเลือด เพราะจูบหมาแมว และปล่อยให้เลียปาก
- โรคฉี่หนู อันตรายใกล้ตัวลูกน้อยที่ชอบสัตว์เลี้ยง
- พบเด็กในเขตพื้นที่หัวหมากติดเชื้อ โรคแท้งติดต่อจากแพะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Rocket News 24 , Healthy pets , Dailymail , นายแพทย์มานิตย์ วัชร์ชัยนันท์ , fb.upyim.com, health.sanook.com