แม่แชร์ประสบการณ์ลูกน้อยผ่าตัด โรคหัวบาตร หัวโต - amarinbabyandkids
โรคหัวบาตร

แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกน้อยผ่าตัด โรคหัวบาตร หัวโต

event
โรคหัวบาตร
โรคหัวบาตร

โรคหัวบาตร หัวโต

โรคหัวบาตร หัวโต หรือทางการแพทย์เรียกว่า ไฮโดรเซฟฟาลัส (Hydrocephalus)  เป็นภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ อาจเกิดจากความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง เนื่องจากท่อทางเดินน้ำหล่อสมอง และไขสันหลังอุดตัน ทำให้น้ำที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง ซึ่งปกติเป็นตัวคอยป้องกัน และหล่อเลี้ยงสมองไม่ให้กดทับกับส่วนกะโหลก เกิดคั่งจนท่วมอยู่ในสมอง จนความดันในช่องสมองมีสูง ดันให้ช่องสมองโตออก จนไปเบียดเนื้อสมอง และดันกะโหลกศีรษะให้โตขึ้น จนมีขนาดใหญ่ผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กตั้งแต่แรกเกิด

 

สาเหตุของการเกิดโรคหัวบาตร หัวโต

  • อาจเกิดการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน โรคคางทูม ทำให้เด็กที่เกิดมามีน้ำในสมองมากเกินไป จนมีขนาดหัวโตผิดปกติ ส่งผลให้สมองถูกทำลาย และอาจเกิดความเสียหายอย่างถาวร
  • เกิดจากความบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง
  • เกิดจากทารกคลอดก่อนกำหนด หรือก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์ อาจทำให้ทารกมีเลือดออกในสมอง จนขวางกั้นการไหลของน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง
  • เกิดถุงน้ำในสมอง ซึ่งอาจเกิดขึ้นระหว่างสมองหรือไขสันหลังกับเยื่อหุ้มสมองชั้นกลาง
  • การกลายพันธุ์ของโครโมโซม X จนเกิดภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง
  • เกิดจากโรคทางพันธุกรรมที่พบได้น้อย เช่น กลุ่มอาการแดนดี – วอล์กเกอร์ ทำให้เกิดความผิดปกติของสมองส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว

 

อาการของโรคหัวบาตร หัวโต

คุณแม่ๆควรหมั่นสังเกตอาการของลูกน้อย ว่ามีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็น โรคหัวบาตร หัวโตหรือไม่ สังเกตอาการ ดังนี้ค่ะ

  • หัวโตผิดปกติ และขยายขนาดขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • กระหม่อมโป่งและตึง
  • หนังศีรษะบาง เป็นมันวาว และมองเห็นเส้นเลือดได้ชัด
  • ตาทั้ง 2 ข้างมองต่ำลง
  • มีอาการเกร็งที่แขนและขา เดินหรือยืนไม่ได้

 

นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลให้เด็กมีอาการเหล่านี้ด้วย

  • อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • ไม่ยอมดูดนม
  • งอแง ร้องไห้บ่อย
  • ง่วงซึม
  • ขาดสมดุลด้านความตึงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • ขาดการตอบสนองต่อการสัมผัส
  • มีปัญหาพัฒนาการตามวัย

 

การวินิจฉัยโรคหัวบาตร หัวโต

โดยในเบื้องต้น แพทย์จะตรวจร่างกายทารก เพื่อมองหาสัญญาณอาการ เช่น ตรวจดูขนาดเส้นรอบวงของศีรษะ ตรวจหาอาการตาโหล ตรวจการตอบสนองทางร่างกาย จากนั้น แพทย์อาจตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีดังต่อไปนี้ค่ะ

  • วิธีการอัลตราซาวด์ คือการใช้คลื่นเสียงความถี่สูงสร้างภาพของสมอง วิธีนี้จะใช้ได้กับทารกที่กระหม่อมยังเปิดอยู่เท่านั้น และบางครั้งแพทย์อาจตรวจ โรคหัวบาตร ในทารกก่อนคลอดจากการอัลตราซาวด์ครรภ์มารดาได้ด้วยค่ะ
  • ซีที สแกน  เป็นการเอกซเรย์และสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ โดยภาพฉายจะแสดงถึงโพรงสมองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จะทำให้ทราบว่าเด็กมีความเสี่ยงเป็นโรคหัวบาตร หัวโตหรือไม่ค่ะ
  • เอ็มอาร์ไอ สแกน  เป็นการใช้คลื่นวิทยุร่วมกับคลื่นสนามแม่เหล็กแรงสูง แสดงภาพของเหลวในสมองที่ก่อตัวขึ้น แรงกดที่เพิ่มขึ้น และโครงสร้างของสมองที่บกพร่องที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะนี้ ในบางกรณี แพทย์อาจใช้การตรวจร่วมกัน ทั้งซีที สแกนและ เอ็มอาร์ไอ สแกน เพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวบาตร หัวโตหรือไม่ค่ะ

 

โรคหัวบาตร หัวโต รักษาได้อย่างไร?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up