แม่แชร์ประสบการณ์ลูกน้อยผ่าตัด โรคหัวบาตร หัวโต - amarinbabyandkids
โรคหัวบาตร

แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกน้อยผ่าตัด โรคหัวบาตร หัวโต

event
โรคหัวบาตร
โรคหัวบาตร

โรคหัวบาตร หัวโต เป็นโรคที่คุณแม่ๆคงได้ยิน และเคยเห็นกันมาบ้างตามข่าวต่างๆใช่ไหมคะ ซึ่งเชื่อว่าคงไม่มีคุณแม่คนไหน อยากให้โรคนี้เกิดขึ้นกับลูกน้อยของตัวเองแน่นอน โรคหัวบาตร หัวโต คืออะไร? เป็นแล้วรักษาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง? มาดูกันค่ะ

 

โรคหัวบาตร หัวโต

แต่เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บนั้น บางครั้งแม้คุณแม่จะระวังแล้ว แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้เสมอ ดังเช่น คุณแม่เจ้าของเฟสบุ๊ค Nat Nattvadar ที่แชร์ประสบการณ์พาลูกน้อยเข้ารับการผ่าตัด โรคหัวบาตร หัวโต บอกเลยว่าคนเป็นแม่เห็นแล้วเจ็บกว่าเป็น 2 เท่าค่ะ ซึ่งคุณแม่ได้เล่าให้ฟังว่า

“มาเล่าประสบการณ์ผ่าตัดโรคน้ำในหัวเยอะ หรือ โรคหัวโต โรคหัวบาตร กันค่ะ…เริ่มตั้งแต่ตอนแม่ตั้งครรภ์เลยนะคะ กินนมวันล่ะ 1 กล่อง กินยาที่หมอให้มาครบ ทั้งยาบำรุงและก็โฟเลต แต่เราเป็นคนเบื่ออาหารค่ะ เเละชอบทานส้มตำ ทานแทบทุกวัน แต่ข้าวก็ทานมีผักมีเนื้อ จนคลอดน้องค่ะ คลอดยากมาก คลอดออกมาน้องก็ปกติดีค่ะ ไม่ได้สังเกตอาการผิดปกติอะไร น้องหัวทุยมาตั้งแต่เกิด โหนกหน้าโหนกหลัง คนเฒ่าคนแก่เค้าบอกว่าหัวสวย เราก็เชื่อค่ะ จนฉีดวัคซีนทุกเดือน วัดรอบหัวทุกครั้ง ฉีดวัคซีนที่อนามัย ไม่มีใครสังเกตความผิดปกติที่หัวเลยค่ะ แต่น้องก็มีพัฒนาการช้า คอแข็งตอน 3 – 4 เดือน คลานตอน 7 – 8เดือน นั่งได้ตอน 9 เดือน เราคิดว่าคงเพราะพัฒนาการช้าเฉยๆ”

“จนเริ่มมีคนทักว่า ทำไมหัวโต เราเริ่มพาน้องมาโรงพยาบาลค่ะ หมอทำการวัดรอบหัวแล้วบอกน้องหัวโตเกินเกณฑ์ หมอส่งตัวไปตรวจอัลตราซาวด์หัว แต่พบน้ำในหัว หมอเลยส่งไปทำซีทีแสกน อีกทีเพื่อความแน่ใจ จนรอผล ผลออกมาว่าน้องเป็นโรคโพรงน้ำในสมองใหญ่ หากไม่ทำการผ่าตัด หมอก็บอกไม่ได้ว่าน้ำนั้นจะไปกดทับสมองส่วนไหน อาจจะเดินไม่ได้ หรืออาจจะช้ากว่าเด็กคนอื่น เราเลยถามหมอว่าโรคนี้เกิดจากอะไรค่ะหมอ กรรมพันธุ์หรอค่ะ เพราะพ่อเค้าก็โตค่ะ หมอบอกเกิดขึ้นเพราะน้องขาดสารโฟเลตในผัก และผลไม้ ซึ่งต้องเป็นผักผลไม้สดๆ ไม่ผ่านการลวกใดๆ เราเริ่มใจไม่ดี เลยยังไม่ตัดสินใจผ่าตัดจนน้อง 1 ขวบ 3 เดือน น้องยังไม่เดินค่ะ ยังไม่ตั้งไข่ แต่เล่นทำกิจกรรมปกติกทุกอย่าง เราเริ่มตัดสินใจที่จะผ่า หมอนัดผ่า 3 อาทิตย์ถัดมา ถือว่าเร็วมากค่ะ”

โรคหัวบาตร
เครดิตภาพ fb : Nat Nattvadar

“ภาพนี้…ตอนน้องมานอนโรงพยาบาลเพื่อรอผ่าค่ะ  หมอสั่งน้อง งดอาหารหลังเที่ยงคืน วันอาทิตย์ วันนั้นเราไม่ได้นอนเลยค่ะ เพราะน้องหิวนมร้องทั้งคืน เราก็ได้แต่สงสารค่ะ พอตอนเช้าวันจันทร์ รถห้องผ่าก็มารับ แล้วนำตัวไปส่งที่ห้องผ่าตัด เราเข้าไปเปลี่ยนเสื้อใส่หมวกรอเข้าห้องผ่าประมาณ 15 นาที ก็มีหมอมาเข็นเข้าไปในห้องผ่าค่ะ เราก็เข้าไปส่งลูก จนหมอวางยาสลบ แล้วบอกให้เรารอข้างนอก หมอบอกว่า คุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วงนะคะ หมอจะดูแลเป็นอย่างดี หมอใหญ่ผ่า ตอนนั้นเรานั่งรอข้างนอกกับแฟน ได้แต่นั่งร้องไห้เป็นห่วงลูก กลัวทุกสิ่งทุกอย่าง เรารอไม่ไปไหนจน 2 ชั่วโมงผ่านไป เรายืน เดินไปเดินมาแถวหน้าห้องปลอดเชื้อ เราเริ่มได้ยินเสียงร้องของลูกเราเริ่มดีใจ ได้แต่มองผ่านกระจกไป ทำไมไม่ออกมาสักที

พอสัก 10 นาทีผ่านไป หมอเริ่มเข็นน้องออกจากห้องผ่าตัดแล้วเรียกเรา เราเห็นลูก เราดีใจที่น้องปลอดภัย ตอนเห็นแผลผ่า เราก็น้ำตาไหล ลูกเราคงเจ็บมากๆ เเต่เค้าไม่ร้องเลย พอมาถึงเตียง เค้าก็นอนนิ่งๆ นอนเฉยๆ ไม่ยิ้มเอาแต่นอนหลับ เราเลยเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อ เราเปิดเสื้อเค้า เห็นแผลที่ท้องอีก คนเป็นแม่เจ็บกว่า 2 เท่า แฟนเรานั่งกุมมือลูกร้องไห้ เราก็บอกเดี่ยวก็หาย (มีแผลที่ท้องกับที่หัว เพราะ น้องผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำที่หัวต่อลงมาผ่านคอลงท้อง เพื่อให้น้ำระบายลงทางฉี่ หมอไม่ได้บอกเราสังเกตจากสายที่เราลองจับลงมาถึงช่องท้อง)

นาทีนั้นได้แต่สงสารค่ะ น้องนอนไปได้ 4 ชั่วโมง ตื่นมาก็กินได้ ยิ้มได้ แต่ยังซึมๆอยู่ แผลก็เริ่มดีขึ้น แต่ยังบวมอยู่นิดหน่อย น้องต้องให้ยาฆ่าเชื้อทุก 3 ชั่วโมง หากน้องมีไข้ นั้นคือติดเชื้อ หมอที่นี่เก่งมากค่ะ เราก็ไม่รู้เค้าต่อลงไปยังไง แผลเล็ก แล้วก็ฟื้นตัวเร็ว หัวน้องเริ่มยุบ จนเห็นได้ชัด น้ำถูกระบายลงทางฉี่ ต้องคอยเปลี่ยนเเพมเพิสบ่อยๆ ตอนนี้น้องยังคงเจ็บแผลอยู่ น้องฟื้นตัวเร็ว เราก็โล่งใจ คนเป็นแม่ไม่มีทางเลือก ไม่อยากให้ลูกเจ็บ แต่เราก็ต้องรักษา เลือกทางที่ดีที่สุดให้ลูก ตอนนี้เราก็ตั้งท้องคนที่ 2 ได้ 3 เดือน แต่เราก็ต้องสู้ ต้องดูแลให้ดีทั้งนอกท้องและในท้อง”

 

โรคหัวบาตร

หลังจากน้องผ่าตัด ทางทีมงานก็ได้มีการสอบถามไปยังคุณแม่ของน้อง ซึ่งคุณแม่ก็เผยว่า หลังผ่าตัดยังต้องมีการติดตามอาการกับคุณหมออย่างต่อเนื่อง และได้มีการเจาะไขสันหลัง และเจาะเลือดไปตรวจว่าจะมีภาวะติดเชื้อตามมาหรือไม่? ซึ่ง ณ ตอนนี้ คุณแม่บอกว่าโดยรวม น้องอาการดีขึ้น ปลอดภัยแล้วค่ะ

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก fb : Nat Nattvadar

 

โรคหัวบาตร หัวโต คืออะไร?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up