AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ตะลึง! ลูกโดนน้ำร้อนลวก แต่แม่กลับรักษาด้วยวิธีนี้!

เครดิต: CBS Denver และ Weird Asia News

คนแถวบ้านถึงกับอึ้ง! เมื่อรู้ว่า แม่วัยละอ่อน! ทำสิ่งนี้กับ ลูกโดนน้ำร้อนลวก !

 

 

เรื่องนี้เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงกับสมาชิกเพจคนหนึ่งของเราค่ะ โดยคุณแม่ได้ติดต่อมาเพื่อเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนแถวบ้าน พร้อมกับขอให้เราช่วยเป็นสื่อกลางในการนำเสนอวิธีการดูแลเมื่อ ลูกโดนน้ำร้อนลวก ว่าต้องทำอย่างไร เพราะสิ่งที่คุณแม่ท่านนี้เจอนั้น ท่านเล่าว่า เด็กตัวเล็ก ๆ คนนึง ต้องเกือบเสียแขนข้างขวาของตัวเองไป เพียงเพราะแม่ทำสิ่งนี้! คุณแม่ได้เล่าให้กับทีมงานของเราได้ฟังว่า
เย็นวันนั้น ในขณะที่คุณแม่กำลังป้อนข้าวลูกอยู่หน้าบ้าน ก็ได้ยินเสียงร้องของลูกสาวของเพื่อนข้างบ้าน ที่มีอายุเพียง 2 ปีร้องลั่นด้วยน้ำเสียงที่เจ็บปวด ด้วยความสนิทประกอบกับความเป็นห่วง คุณแม่จึงรีบวิ่งเข้าไปดูพบว่า น้องกำลังนอนพลิกตัวไปมาอยู่ คุณแม่จึงถามว่าเกิดอะไรขึ้น
เพื่อข้างบ้านบอกว่า ในขณะที่เขากำลังตั้งกาน้ำร้อนเพื่อเตรียมจะต้มน้ำชงนมอยู่นั้น ลูกสาวก็วิ่งซนไปมาแล้วไปคว้ากาน้ำร้อนที่อยู่ในเตา ทำให้กาน้ำล้มลงมา แต่โชคดีที่ราดแค่แขนข้างขวาเท่านั้น! คุณแม่ก็เลยถามว่า แล้วได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นน้องไปแล้วหรือยัง คนแถวบ้านบอกว่าทำแล้วด้วยการใช้น้ำปลาราดไปที่แขนของน้อง!!
พอได้ฟังเท่านั้นแหละ คุณแม่รีบเอาผ้าชุบน้ำเย็นจัดประคบแขนของน้อง! แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที! เมื่อไปถึงที่โรงพยาบาล คุณหมอก็รีบทำการปฐมพยาบาลน้องอีกครั้งนึง พร้อมกับถามว่าก่อนหน้านี้ได้มีการปฐมพยาบาลน้องมาอย่างไรบ้าง พอคุณหมอทราบว่า คุณแม่ของน้องเอาน้ำปลาราดเท่านั้น คุณหมอก็ตำหนิทันทีพร้อมกับกล่าวว่า โชคดีนะที่พามาโรงพยาบาล มิเช่นนั้นละก็ แผลอาจจะอักเสบติดเชื้อจนอาจทำให้น้องสูญเสียแขนข้างขวานี้ไปเลยก็ได้!!

อ่านวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อลูกโดนน้ำร้อนลวก

iStock

 

จากกรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นนั้น ทำให้เรารู้ได้ทันทีเลยว่า ยังมีใครอีกหลายคนที่ยังคงปักใจเชื่อกับวิธีการปฐมพยาบาลฉุกเฉินด้วยการเอาน้ำปลาราด หรือเอายาสีฟันทาไปที่แผลเพื่อกันอาการปวดแสบปวดร้อนนั้น เป็นความเชื่อตามความเชื่อในสมัยโบราณ ที่ถือว่าผิดมหันต์เลยละค่ะ อีกทั้งวิธีดังกล่าวยังส่งผลให้แผลอาจติดเชื้อได้โดยง่ายอีกด้วย

แผลไฟไหม้ หรือน้ำร้อนลวก สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ

1. แผลในระดับแรก เป็นการโดนไหม้ หรือลวกในระดับแค่เล็กน้อย ซึ่งถือเป็นการทำลายแค่ผิวหนังกำพร้าชั้นนอกเท่านั้น บาดแผลจะไม่มีตุ่มพองใส แต่จะแค่ผิวหนังบริเวณนั้นมีสีแดงกว่าปกติ มีความรู้สึกว่าปวดแสบและร้อนไม่มากนัก จะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นไว้เมื่อหายปวด โดยทั่วไปแผลระดับแรกนี้จะหายไปในระยะเวลา 7 วัน
วิธีการรักษา เพียงแค่คุณแม่ใช้น้ำอุณหภูมิปกติไหลผ่านแผล แล้วจึงใช้น้ำเย็น หรือน้ำแข็งประคบไว้สักครู่หนึ่ง อาการปวดก็จะเริ่มดีขึ้นเรื่อย ๆ หรือถ้าใครมีคูลฟีเวอร์หรือแปะหน้าผากลดไข้เด็กละก็ สามารถนำมาแปะที่แผลไว้ พออาการปวดดีขึ้นก็ให้ทายารักษาอาการ
2. แผลในระดับที่สอง คือแผลที่โดนลึกถึงขั้นกินบริเวณกว้างกว่าแผลในระดับแรก เข้าไปถึงชั้นหนังกำพร้า แล้วลึกลงไปถึงชั้นหนังแท้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังหลงเหลือเซลล์ที่สามารถเจริญเติบโตมาทดแทนชั้นหนังที่ตายแล้วได้อยู่ แผลนั้นจะมี 2 แบบ คือ
วิธีการรักษา แผลระดับนี้ ยังคงใช้วิธีการรักษาเบื้องต้น แบบแผลระดับแรก เพียงอาจจะต้องมีการสะกิดตุ่มหนองในแผลแบบที่ 1 ออก แล้วจึงทายาเพื่อรักษาอาการต่อไป และต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับแผลแบบที่ 2 เพื่อลดการติดเชื้อ
3. แผลในระดับที่สาม เป็นแผลที่ลึกลงไปทำลายหนังกำพร้า หนังแท้ รูขุมขน ต่อมเหงื่อ และเซลล์ประสาทจนหมด ซึ่งแผลระดับนี้ถือว่ารุนแรงมาก เพราะอาจกินลึกไปถึงชั้นกล้ามเนื้อและกระดูก แต่จะไม่มีอาการปวดจากแผล เพราะเซลล์ประสาทโดนทำลายไปทั้งหมด ทำให้ไม่รับรู้ถึงอาการปวด ลักษณะของแผลจะมีสีซีดออกเหลือง หรืออาจจะมีสีไหม้ออกดำ จะแข็งด้าน ในบางรายอาจมองเห็นได้ถึงเส้นเลือด แผลชนิดนี้จะมีอาการผิวหนังตึง และขยับร่างกายลำบาก เมื่อหายแล้วก็จะเป็นแผลเป็น หรือในบางรายอาจกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาแทนก็ได้
วิธีการรักษา แผลชนิดนี้เมื่อเป็นแล้ว ไม่สามารถรักษาอาการเองได้ ต้องได้รับการรักษาจากแพทย์เท่านั้น และมีเพียงแค่การปลูกถ่ายผิวหนังใหม่เท่านั้น ที่เป็นวิธีการรักษา แผลระดับสามนี้ต้องดูแลเป็นอย่างดีจากแพทย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าแผลระดับอื่น

อ่านวิธีรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

 

เครดิต: Medthai

8 วิธีรักษาแผลไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก

  1. สำหรับแผลที่อยู่ในระดับ 1 และ 2 นั้น ให้รักษาโดยการล้างแผลด้วยน้ำเกลือหรือน้ำสบู่อ่อนเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค เสร็จแล้วซับแผลให้แห้งแล้วทาครีมที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค หรือหาวัสดุมาปิดแผลเอาไว้ หากผู้ป่วยรู้สึกปวดก็ให้รับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอลแทน
  2. หากแผลไม่มีขนาดวงกว้างมากนัก แต่มีการเปิดของผิวหนัง หลังจากที่ล้างแผลตามข้อ 1 แล้ว ให้ทายาลงบนแผล แล้วปิดทับด้วยผ้าพันแผลหลาย ๆ รอบเพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ
  3. สำหรับแผลที่มีขนาดกว้างมากกว่า 3 % ทันทีที่ล้างแผลเสร็จแล้วให้ทายาทันที หลังจากนั้นใช้สำลีแผ่นบางเรียบชนิดดูดหนองวางบนแผล แล้วพันทับด้วยผ้าพันแผลหลาย ๆ รอบ จากนั้นให้ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้วค่อยเปิดดูแผล หากพบว่าแผลมีอาการดีขึ้น ก็ให้ล้างและทายาอีกครั้ง แล้วจึงปิดทับใหม่ทิ้งไว้ 2 – 3 วันจึงจะค่อยล้างแผลใหม่อีกครั้งนึง แต่ถ้าหากเปิดออกมาแล้วพบว่ามีหนอง และไม่ดีขึ้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  4. หากโดนที่ใบหน้า แนะนำให้ทายาที่มีส่วนผสมของ คลอแรมฟินีคอล 1% วันละ 3 – 4 ครั้ง หรือถ้าหากพบว่าแผลเริ่มแห้งแล้ว ก็ยังคงสามารถทายาซ้ำได้อีกไปเรื่อย ๆ ค่ะ และควรเปิดแผลทิ้งไว้นะคะ
  5. เมื่อมีแผลตรงบริเวณมือ และขาในระดับที่มีแผลเปิด ให้ล้างแผล ทายา และพันแผลหลาย ๆ รอบ หลังจากนั้นให้หาไม้มาดามตรงบริเวณแผลแล้วยกสูงขึ้นเป็นเวลา 72 ชั่วโมง จึงค่อยมีการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณที่เป็นแผลต่อไป
  6. สำหรับบริเวณข้อต่อต่าง ๆ เช่น ข้อพับ ข้อมือ ข้อเท้า ข้อเข่า อาจเกิดแผลดึงนั้งยึดติดได้ หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะทำให้เกิดการผิดรูปของข้อต่อบริเวณนั้น ๆ จนอาจทำให้พิการ ดังนั้น หากพบว่าแผลหายดีแล้ว ให้ทำการบริหารร่างกายและข้อต่ออย่างจริงจังและต่อเนื่องทันที
  7. เมื่อแผลหายดีแล้ว ก็อย่าเพิ่มรีบออกไปโดนแสงแดดทันทีนะคะ ควรหลีกเลี่ยงการออกแดดประมาณ 3 – 6 เดือน และควรพกโลชั่นหรือครีมบำรุงผิวที่มีส่วนผสมของมอยส์เจอไรเซอร์สูงติดตัวไว้เพื่อทาบริเวณแผล เมื่อมีอาการคันและแสบโดยเฉพาะแผลที่ใช้เวลารักษานานกว่า 3 สัปดาห์ หรือแผลที่ต้องได้รับการผ่าตัด ผู้ป่วยควรที่จะสวมใส่เสื้อยืดตัวใหญ่ เพื่อป้องกันการเสียดสีจนทำให้แผลนูนหรือเป็นแผลขึ้น
มาถึงตอนนี้ คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านก็คงทราบกันแล้วนะคะว่า วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากลูกหรือสมาชิกในบ้านโดนน้ำร้อนลวกนั้นจะต้องทำอย่างไร หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าทำถูกต้องหรือไม่ แนะนำว่า หายหลังจากที่ล้างแผลเสร็จแล้ว ให้รีบหาผ้าปิดแล้วไปพบแพทย์ทันทีค่ะ
เครดิต: Honestdocs และ Medthai
คลิกอ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม:

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids