AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ไส้เลื่อน สาเหตุเพราะลูกไม่ใส่กางเกงในจริงหรือ?

คุณพ่อ คุณแม่บ้านไหนมีลูกไม่ชอบใส่กางเกงใน และปล่อยให้ลูกเดินทั่วบ้านบ้างคะ หากมีคุณพ่อคุณแม่อาจเคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านมักพูดความเชื่อโบราณที่ว่า ไม่ใส่กางเกงในระวังจะเป็น ไส้เลื่อน ความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่? Amarin Baby and Kids มีคำตอบมาฝากค่ะ

คุณพ่อ คุณแม่บ้านไหนมีลูกไม่ชอบใส่กางเกงใน และปล่อยให้ลูกเดินทั่วบ้านบ้างคะ หากมีคุณพ่อคุณแม่อาจเคยได้ยินผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านมักพูดความเชื่อโบราณที่ว่า ไม่ใส่กางเกงในระวังจะเป็น ไส้เลื่อน ความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่? Amarin Baby and Kids มีคำตอบมาฝากค่ะ

ไส้เลื่อน คืออะไร?

ไส้เลื่อนคือ ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอก และสามารถไหลลงมาได้ทุกที่ เช่น แผลผ่าตัด ช่องท้อง สะดือ ถุงอัณฑะ ขาหนีบ ซึ่งโดยปกติแล้วลำไส้ของคนเรามีอยู่ด้วยกันสองส่วน ส่วนแรกคือลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่ต่อกับกระเพาะอาหาร ส่วนที่สองคือลำไส้ใหญ่ เป็นส่วนที่อยู่รอบๆ ลำไส้เล็ก โดยอาการไส้เลื่อน คือการที่ลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่อยู่ผิดที่ผิดตำแหน่ง สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ดังนี้

  1. ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ (Inguinal hernias) เกิดจากความผิดปกติของผนังช่องท้องตั้งแต่กำเนิด โดยลำไส้เคลื่อนมาติดคาที่บริเวณขาหนีบ หรือถุงอัณฑะ แต่ในบางกรณีลำไส้อาจเคลื่อนตัวแต่ไม่ติดคา ซึ่งอาการของไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบจะมีอาการปวดหน่วงๆ หรือปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย และยิ่งปวดมากขึ้นหรือเห็นได้ชัดเมื่อออกกำลังกาย ไอ หรือจาม
  2. ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ (Umbilical hernias) เป็นภาวะที่ลำไส้เคลื่อนตัวออกมาตุงอยู่ที่บริเวณกลางหน้าท้อง ทำให้มีก้อนนูนขึ้นที่บริเวณสะดือ
  3. ไส้เลื่อนเนื่องจากการผ่าตัด (Incisional hernias) หากเคยได้รับการผ่าตัดบริเวณช่องท้องมาก่อน ทำให้เกิดความอ่อนแอของผนังหน้าท้อง
  4. ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ (Femoral hernias) โอกาสในการเกิดไส้เลื่อนบริเวณนี้น้อยกว่าบริเวณขาหนีบ โดยมีอาการปวดบริเวณต้นขา และอาจมีอาการปวดขาหนีบร่วมด้วย

    ภาพตัวอย่าง ไส้เลื่อน เครดิตภาพ: Remedios para el Alma

นอกจากนี้ยังมีอาการที่พบบริเวณอื่นๆ เช่น ไส้เลื่อนบริเวณกระบังลม ไส้เลื่อนบริเวณหน้าท้องเหนือสะดือ หรือไส้เลื่อนบริเวณข้างหลังกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งเกิดจากความอ่อนแอของผนังช่องท้อง เป็นต้น

อ่านต่อ “อันตรายของไส้เลื่อนในเด็ก” คลิกหน้า 2

อันตรายของไส้เลื่อนในเด็ก

ข้อมูลจาก รศ. นพ. รวิศ เรืองตระกูล ระบุว่า โดยปกติแล้วอัณฑะกำเนิดขึ้นในบริเวณด้านหลังของช่องท้อง ในการเคลื่อนที่ของอัณฑะลงมาที่ถุงอัณฑะนี้จะมีการดึงรั้งให้เยื่อบุช่องท้องซึ่งคลุมด้านหน้าของอัณฑะเคลื่อนที่ตามอัณฑะออกมาด้วย อัณฑะจะลงไปในถุงอัณฑะ สมบูรณ์เมื่อทารกในครรถ์อายุประมาณ เดือน หลังจากนั้นรูที่เกิดขึ้นจากถุงของเยื่อบุช่องท้องที่ยื่นออกมานี้ก็จะมีการปิดตัวและสลายไป การคงอยู่ของช่องทางซึ่งควรจะปิดได้ตามธรรมชาตินี้เองที่เป็นต้นเหตุของโรคไส้เลื่อนและโรคถุงน้ำที่อัณฑะตามมา

ไส้เลื่อนในเด็กนี้เกิดได้ในทุกช่วงอายุ โดยพบว่าเด็กผู้ชายมีโอกาสเป็นไส้เลื่อนได้มากกว่าเด็กผู้หญิง และเกิดขึ้นในข้างขวามากกว่าข้างซ้าย และพบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมากกว่าเด็กที่ครบกำหนด

อันตรายของไส้เลื่อนจะเกิดขึ้นเมื่อลำไส้เคลื่อนที่ลงมาในถุงไส้เลื่อนและมีการติดค้างของขดลำไส้ภายในสถานที่อันจำกัดของขาหนีบ จะทำให้เกิดการอุดกั้นของเลือดที่ไปเลี้ยงลำไส้ในส่วนที่ติดคา จนอาจจะทำให้ลำไส้เน่าตายได้

ไส้เลื่อน เกิดได้ทุกช่วงอายุ โดยพบว่าเด็กผู้ชายเป็นไส้เลื่อนได้มากกว่าเด็กผู้หญิง

อาการของเด็กที่เป็นไส้เลื่อน จะมีประวัติว่ามีก้อนบริเวณเหนือขาหนีบและข้างหัวเหน่าเข้าๆ ออกๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาเบ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ ไอ หรือร้องไห้ก็ตาม ก้อนที่ออกมาจะยุบหายไปหมดเมื่อเด็กนอนหลับ

อันตรายที่สำคัญที่สุดของไส้เลื่อนก็คือไส้เลื่อนขาหนีบติดคา ในเพศชายมักจะเป็นลำไส้เล็กและถ้าเป็นในเพศหญิงมักจะเป็นรังไข่ ท่อนำไข่ หรือลำไส้เล็ก เข้ามาติดคาอยู่ในถุงไส้เลื่อน เมื่อมีอวัยวะออกมาติดคาในถุงไส้เลื่อนแล้ว การไหลเวียนโลหิตของอวัยวะนั้นก็จะถูกรบกวน ทำให้อวัยวะนั้นขาดเลือด เกิดการเน่าตายได้ เด็กจะร้องกวนเนื่องจากความเจ็บปวด ร่วมกับมีอาการอาเจียน

อ่าน “สาเหตุของไส้เลื่อน และวิธีการรักษา” คลิกหน้า 3

สาเหตุของไส้เลื่อน

  1. สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เมื่อลูกน้อยเริ่มโตขึ้น อาจเกิดแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น
  2. เกิดจากผนังหน้าท้องบางจุดมีความอ่อนแอหรือหย่อนยานผิดปกติ ทำให้ลำไส้ที่อยู่ข้างใต้ไหลเคลื่อนเข้าไปอยู่ในบริเวณนั้นๆ ทำให้เห็นเป็นก้อนตุง
  3. มีของเหลวอยู่ภายในช่องท้องผิดปกติ ก่อให้เกิดแรงดันมากขึ้น
  4. ปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย เช่น ท้องผูก เป็นต้น
  5. เคยเป็นหรือมีประวัติพบว่าคนในครอบครัวเป็น
  6. น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
  7. ไอเรื้อรัง หรือจามแรงๆ จนทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินหายใจ หรือโรคเรื้อรัง

สำหรับความเชื่อโบราณที่ว่า ไม่ใส่กางเกงในระวังจะเป็นไส้เลื่อน ความเชื่อนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่? คำตอบก็คือ ไม่จริงค่ะ

ไม่ใส่กางเกงในระวังจะเป็นไส้เลื่อน ความเชื่อนี้ไม่จริง

วิธีการรักษาไส้เลื่อน

โรคไส้เลื่อนสามารถทำการรักษาได้โดยการผ่าตัด ซึ่งไม่น่ากลัวอย่างที่คิด และการผ่าตัดนี้ไม่ได้ผ่าเข้าไปภายในช่องท้อง เพียงแต่ผ่าตัดซ่อมแซมผนังหน้าท้องที่เป็นปัญหาเท่านั้น ใช้เวลาผ่าตัด 30 – 45 นาที เมื่อเด็กฟื้นจากการดมยาสลบและตื่นได้ดี ทางโรงพยาบาลก็จะให้กลับบ้านได้เลยในวันเดียวกัน  ยกเว้นเด็กจะมีอายุน้อยมากๆ เช่น เด็กคลอดก่อนกำหนด หรือเด็กมีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด โรคไต เป็นต้น

ขอบคุณที่มา: NEW18, Muslimthaipost และ Pobpad

อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids