AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

8 วิธี ขับเสมหะ ลูกโดยไม่ต้องทานยา!

ขับเสมหะ

ทำอย่างไรเมื่อลูกมีเสมหะเยอะ แต่ไม่อยากให้ทานยา พบ 8 วิธี ขับเสมหะ ลูกด้วยวิธีการทางธรรมชาติ!

คุณพ่อคุณแม่เคยสงสัยกันหรือไม่คะว่า เสลดหรือเสมหะนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร … เพราะเวลาที่ลูกเป็นหรือแม้แต่ตัวเราเองที่เป็น ก็มักจะรู้สึกรำคาญ และการมีเสลดมาก ๆ นั้นก็ไม่ใช่เรื่องดีเท่าไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กเล็ก วันนี้ทีมแม่ ABK จะมาขอนำเสนอวิธีการ ขับเสมหะ ให้กับลูกด้วยวิธีการทางธรรมชาติ และไม่ต้องใช้ยาเลยแม้แต่นิดเดียวมาฝากกันค่ะ แต่ก่อนที่เราจะไปดูว่ามีวิธีอะไรบ้างนั้น เรามาทำความรู้จักกับเสลดหรือเสมหะนี้กันก่อนเลยค่ะ

เสลดหรือเสมหะคืออะไร?

เสมหะหรือเสลด เป็นสารเมือกที่สร้างขึ้นจากต่อมมูก และเซลล์กอบเลท ของทางเดินหายใจตั้งแต่หลอดลมคอถึงหลอดลมฝอย มีประมาณ 10-100 มิลลิลิตรต่อวัน เคลื่อนออกจากทางเดินหายใจได้โดยการโบกพัดขนกวัด ที่บุอยู่ตามผนังหลอดลมในอัตรา 1-2 เซนติเมตรต่อวินาที โดยสามารถโบกพัดทั้งหมดไม่ถึง 20 นาที ในร่างกายจะมีกลไกในการทำให้เกิดสุขอนามัยที่ดีของหลอดลม เพื่อให้ขนกวัดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการสร้างเสมหะพอเหมาะกับสภาวะของร่างกายทั้งจำนวน และลักษณะของเสมหะ คือ มีจำนวนปกติ และลักษณะที่ไม่เหนียวข้น ถ้าหากมีความผิดปกติประการใดประการหนึ่ง หรือทั้งสองประการ จะทำให้เกิดการคั่งค้างของเสมหะ และถ้าร่างกายไม่สามารถขับระบายเสมหะออกสู่ภายนอกได้ จะทำให้เกิดการอุดตันของหลอดลม ผลที่ตามมาทำให้เกิดการระบายอากาศไม่ดี มีออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าปกติ หัวใจทำงานมากขึ้น มีภาวะปอดอักเสบ ปอดแฟบ เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

 

เครดิต: Daily Express

สาเหตุของการเกิดเสมหะ

อ่าน! 8 วิธีขับเสมหะลูก โดยไม่ต้องใช้ยา ได้ที่หน้า 2

8 วิธี ขับเสมหะ ลูกด้วยวิธีการทางธรรมชาติ

1. ดื่มน้ำเพิ่มขึ้น เพราะน้ำเป็นยาขับเสมหะที่ดีที่สุด การให้ลูกดื่มน้ำให้มากก็ถือเป็นการเพิ่มน้ำให้แก่ร่างกาย และเป็นการช่วยเพิ่มน้ำในเสมหะ ทำให้ความเหนียวของเสมหะลดลง เมื่อเสมหะมีความเหนียวลดลง การขับระบายออกจะทำได้ง่ายขึ้น

2. การดื่มน้ำอุ่น พยายามให้ลูกดื่มน้ำอุ่นจะยิ่งช่วยลดความเหนียวของเสมหะได้ดีกว่าน้ำธรรมดา เพราะน้ำอุ่นมีอุณหภูมิสูงกว่า ซึ่งความร้อนจะช่วยให้น้ำแทรกซึมเข้าสู่เสมหะได้ง่ายขึ้น

3. กลั้วคอหรือดื่มน้ำผสมเกลือ การดื่มน้ำธรรมดาอาจช่วยเพิ่มความชื้นหรือทำให้เสมหะเหนียวน้อยลงได้ แต่หากนำน้ำผสมเกลือเพียงเล็กน้อยดื่มหรือกลั้วคอ จะช่วยให้เสมหะอ่อนตัวหรือลดความเหนียวได้รวดเร็วขึ้น

4. การกลั้วคอหรือดื่มด้วยน้ำโซดา น้ำโซดามีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ ทำให้น้ำโซดามีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อน ๆ การกลั้วคอหรือดื่มด้วยน้ำโซดาจึงช่วยละลายเสมหะได้ แต่ข้อนี้แนะนำให้ใช้กับเด็กโตแล้วเท่านั้นนะคะ

เครดิต: Daily Express

5. รับประทานอาหารประเภทต้ม อาหารระเภทต้มมีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำอุ่น แต่จะมีประโยชน์เพิ่มขึ้น เพราะมีเครื่องเทศหรือสมุนไพรมาด้วย อันได้แก่ อาหารประเภทน้ำซุป ต้มยำ หรือแกงต่าง ๆ เป็นต้น

6. การกินอาหารรสชาติเผ็ดร้อน อาหารที่มีรสเผ็ดร้อนมักมีส่วนประกอบเป็นพืชสมุนไพรหรือผักที่ให้รสเผ็ด เช่น พริก พริกไทย ข่า ขิง และกระเพรา เป็นต้น คุณสมบัติของอาหารที่มีรสเผ็ดจะกระตุ้นการขับน้ำออกมาเคลือบภายในลำคอ ประกอบกับน้ำที่ได้รับจากอาหารจะซึมเข้าเสมหะ ทำให้เสมหะอ่อนตัว จนทำให้ไอขับออกได้ง่ายขึ้นค่ะ

7. การใช้สมุนไพรหรือผลไม้รสเปรี้ยว การให้ลูกทานสมุนไพรหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ได้แก่ มะนาว มะขามเปรี้ยว มะขามป้อม เป็นต้น หรือสมุนไพรที่มีรสเผ็ด เช่น พริก พริกไทย จะช่วยในการละลายเสมหะ เช่น น้ำช่วยเพิ่มความชื้น ส่วนความร้อนช่วยละลายเสมหะได้

8. การดูดเสมหะ ด้วยเครื่องมือส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะใช้กับเด็กเล็ก เนื่องจากเด็กเล็กยังไม่รู้วิธีการขับออกมาเอง อีกทั้งเสมหะเหนียวข้นมาก ทำให้คุณหมอต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเป็นตัวช่วย

จริง ๆ แล้ววิธีที่ดีที่สุดที่จะป้องกันไม่ให้ลูกมีเสมหะเยอะก็คือ หมั่นให้ลูกออกกำลังกาย และรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ และถ้าหากพบว่าลูกเริ่มมีน้ำมูกละก็ การล้างจมูกถือเป็นทางออกที่ดีที่สุดเลยละค่ะ

เครดิต: Thai Health Life

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids