AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

สธ. เตือน “หัดเยอรมัน” ระบาดในญี่ปุ่น คนท้องควรหลีกเลี่ยง

แม่ท้องที่วางแผนว่าจะเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงนี้ ต้องระวังโรค “หัดเยอรมัน” ระบาด โดยล่าสุด กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ออกเอกสารแจ้งเตือนประชาชนที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีโรคหัดเยอรมันระบาด ดังนี้

สธ. เตือน “หัดเยอรมัน” ระบาดในญี่ปุ่น คนท้องควรหลีกเลี่ยง

ตามที่กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้ออกเอกสารแจ้งเตือนประชาชนที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ว่าหลายพื้นที่ในประเทศญี่ปุ่น มีโรคหัดเยอรมันระบาด โดยได้รายงานสถานการณ์ปัจจุบัน ดังนี้

โดยล่าสุด กระทรวงสาธารณะสุขได้ยกระดับการประกาศเตือน สถานการณ์การระบาดของโรคหัดเยอรมันในญี่ปุ่น อยู่ที่ระดับ 2 Travel Alert แต่ไม่ห้ามเดินทาง แต่จะมีคำแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อต้องเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค สำหรับคนท้องและเด็กเล็กควรหลีกเลี่ยง โดยมีรายละเอียดการประกาศเตือนดังนี้

โรคหัดเยอรมันระบาดในญี่ปุ่น

สธ.ชี้ หัดเยอรมัน ระบาด ญี่ปุ่น ยกระดับ แต่ไม่ห้ามเดินทาง หญิงท้อง-เด็กเล็กเสี่ยง!

เมื่อเวลา 16.20 น. วันที่ 1 พ.ย. ที่กรมควบคุมโรค (คร.) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวเตือนการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น ภายหลังสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) ออกเอกสารแจ้งเตือนประชาชนที่จะเดินทางไปประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีโรคหัดเยอรมันระบาด

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่น หลายประเทศจะมีการติดตาม เฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาด ซึ่งแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 Travel watch ระดับจับตา ซึ่งไม่ห้ามการเดินทาง ระดับที่ 2 Travel Alert ระดับการเฝ้าระวังและแจ้งเตือน ซึ่งไม่ได้ห้ามเดินทางเช่นกัน แต่จะมีคำแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อต้องเดินทางเข้าไปยังพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค และระดับที่ 3 Travel Warning เป็นระดับเตือนภัย คือการห้ามเข้าไปยังพื้นที่ระบาด

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ สธ. เตือน “หัดเยอรมัน” ระบาดในญี่ปุ่น คนท้องควรหลีกเลี่ยง

 

“สำหรับสถานการณ์การระบาดของโรคหัดเยอรมันในประเทศญี่ปุ่นนั้นประเทศไทย อยู่ในระดับ 2 คือ มีคำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวทั้งคนไทยที่จะเดินทางเข้ายังประเทศญี่ปุ่น และคนไทยหรือคนต่างชาติที่เดินทางจากญี่ปุ่นมายังประเทศไทย

ทั้งนี้ คนไทยไม่ใช่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคหัดเยอรมัน หลายคนได้รับการฉีดวัคซีนมาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่คนที่ยังไม่ได้ฉีด หากจำเป็นต้องไปญี่ปุ่นก็ขอให้ปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อรับวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ถือว่ามีความเสี่ยงมาก หากไม่จำเป็นก็ควรหลีกเลี่ยงไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงนี้” นพ.สุวรรณชัย กล่าว

ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_1767461

โรค หัดเยอรมัน คืออะไร?

หัดเยอรมัน, เหือด หรือ หัดสามวัน (German measles/เจอร์มันมีเซิลส์, Rubella/รูเบลลา หรือ Three-day measles/ทรีเดย์มีเซิลส์) เป็นโรคไข้ออกผื่นที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้และออกผื่นคล้ายโรคหัด แต่จะมีความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนน้อยกว่าหัด โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง ถ้าเป็นกับเด็กหรือผู้ใหญ่ทั่วไป มักจะหายได้เองโดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง โรคนี้เมื่อเป็นแล้วผู้ป่วยมักจะมีภูมิคุ้มกันไปจนตลอดชีวิต จะไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

ผื่นแดงมักจะขึ้นทั่วทั้งตัวหลังจากไข้ลด

ทำไมโรค หัดเยอรมัน ถึงอันตรายกับแม่ท้องและเด็กเล็ก?

โรคหัดเยอรมัน ถ้าเกิดในหญิงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าทารกในครรภ์ ทำให้ทารกพิการ หูหนวก ตาเป็นต้อกระจก เกิดภาวะหัวใจรั่ว มีภาวะผิดปกติทางสมอง อวัยวะภายในไม่สมบูรณ์ แท้ง หรือตายในครรภ์ได้ สำหรับความเสี่ยงหากแม่ท้องติดเชื้อหัดเยอรมันแล้วทารกในครรภ์จะได้รับเชื้อหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอายุครรภ์ โดยมีความเสี่ยงดังต่อไปนี้

สำหรับเด็กเล็ก อาการหัดเยอรมันจะแสดงออกมาเหมือนเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไปที่เป็นโรคนี้ เพียงแต่เด็กเล็กจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน และมีไข้ออกผื่น ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาการจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ จึงนับได้ว่าเป็นโรคที่อันตรายสำหรับเด็กเล็กได้เช่นกัน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ การติดต่อและอาการของโรค หัดเยอรมัน และ วิธีป้องกันตนเองของผู้ที่ต้องการจะเดินทางไปญี่ปุ่น

หัดเยอรมัน ติดต่อกันได้อย่างไร?

สามารถติดต่อได้โดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือติดต่อโดยการสัมผัส โดยเชื้อสามารถติดอยู่ที่มือของผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือสิ่งแวดล้อม เมื่อคนปกติมาสัมผัสถูกมือของผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อ เชื้อก็จะติดมากับมือของคน ๆ นั้น เมื่อใช้นิ้วมือขยี้ตาหรือแคะไชจมูกเชื้อหัดเยอรมันก็จะเข้าสู่ร่างกายได้ (การสัมผัสผื่นที่ผิวหนังของผู้ป่วยไม่ได้ติดโรคได้) โดยระยะฟักตัวของโรคจะอยู่ที่ 12-24 วัน

หัดเยอรมัน มีอาการอย่างไร?

สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ทั่วไป โดยประมาณ 50% ของผู้ที่ติดเชื้อหัดเยอรมันจะไม่มีอาการ (บางรายอาจเป็นหัดเยอรมันโดยไม่มีผื่นขึ้น แต่ยังคงสามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้อยู่) ส่วนผู้ที่มีอาการก็จะแบ่งเป็นระยะก่อนออกผื่นและระยะออกผื่นเช่นเดียวกับโรคหัด ดังนี้

ก่อนเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นในช่วงนี้ ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันแล้ว

วิธีป้องกันตนเองของนักเดินทาง

นอกจากนี้ กรมควบคุมโรคยังได้ระบุว่าคนไทยสามารถเดินทางไปญี่ปุ่นได้ แต่ขอให้มีการทำประกันสุขภาพ ซึ่งยังไม่เห็นคำแนะนำเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม ขอให้อย่าวิตก แต่หากจะเดินทางไปให้เช็กประวัติว่าเคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันหรือไม่ และหากไม่เคยก็สามารถพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีน ยกเว้นหญิงตั้งครรภ์อาจต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ คลิก

โรคหัด หัดเยอรมัน ต่างกันอย่างไร

ระวัง! โรคหัด ระบาด ทำเด็กตาย…แต่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนฟรี

ไวรัสซิกา คนท้อง ห้ามเป็น พบผู้ป่วยในกรุงเทพฯ 124 รายแล้ว

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, medthai.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids