AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

โรค G6PD หรือโรคแพ้ถั่วปากอ้าคืออะไร? ห้ามกินอะไรบ้าง?

โรค G6PD

โรค G6PD หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โรคแพ้ถั่วปากอ้า ได้ยินชื่อโรคแล้วคงพอจะเดาออกว่าคนที่เป็นโรคนี้ห้ามกินถั่วปากอ้า แต่จริง ๆ แล้ว ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ มีความเสี่ยงอื่น ๆ ที่อันตรายถึงชีวิตได้

โรค G6PD หรือโรคแพ้ถั่วปากอ้าคืออะไร? ห้ามกินอะไรบ้าง?

โรคแพ้ถั่วปากอ้า หรือ โรค G6PD คืออะไร?

โรค G6PD หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าโรคแพ้ถั่วปากอ้า (G6PD Deficiency หรือภาวะขาดเอนไซม์จีซิกพีดี) เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งทำให้ร่างกายขาดเอนไซม์ที่ช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดงทำงานได้เป็นปกติ ซึ่งเอนไซม์ G6PD นี้ มีความสำคัญในกระบวนการเผาผลาญอาหารให้เป็นพลังงาน (เมตาบอลิซึ่ม) เมื่อขาดเอนไซม์ตัวนี้ จะส่งผลให้เกิดการทำลายสารอนุมูลอิสระ (Oxidants) ต่าง ๆ ที่เป็นพิษต่อเซลล์ในร่างกายโดยเฉพาะเซลล์เม็ดเลือดแดง ดังนั้นคนที่มีภาวะพร่องเอนไซม์ชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตกได้ง่าย จนเกิดภาวะโลหิตจางตามมาได้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการเจ็บป่วย แต่บางรายอาจมีอาการผิดปกติ เช่น อ่อนเพลีย ตัวเหลืองตาเหลือง หายใจไม่อิ่ม เป็นต้น โดยอาการมักเกิดขึ้นหลังมีภาวะติดเชื้อ รวมทั้งเมื่อได้รับอาหารหรือยาบางชนิด พบในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง

เด็กที่เป็นโรคนี้ มักมีอาการตัวเหลืองภายใน 24 ชม. จึงต้องได้รับการส่องไฟเพื่อรักษาอาการตัวเหลือง

ดูอย่างไรว่าลูกเป็นโรค G6PD?

ในเด็กทารกที่เป็นโรคนี้ ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด จะมีอาการตาเหลือง ตัวเหลืองตั้งแต่แรกเกิด และมีอาการดีซ่านที่ยาวนานผิดปกติ โดยภาวะนี้ เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดความผิดปกตินี้ไปสู่รุ่นลูก ซึ่งหากเป็นเด็กผู้ชาย จะเสี่ยงต่อภาวะนี้มากกว่าผู้หญิง สำหรับเด็กผู้หญิงมักไม่แสดงอาการเจ็บป่วยออกมา แต่สามารถส่งต่อไปสู่ลูกได้

สำหรับในเด็กโตและผู้ใหญ่ จะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เลย จนกว่าร่างกายจะได้รับยาหรืออาหารบางชนิดที่ไปกระตุ้นโรค ซึ่งอาจทำให้มีอาการของคนที่อยู่ในภาวะโลหิตจาง เช่น อ่อนเพลีย มีไข้ หายใจไม่อิ่ม ปัสสาวะมีสีเข้ม เวียนศีรษะ ผิวหนังซีด ตัวและตาเหลือง หัวใจเต้นเร็ว ตับหรือม้ามโต เป็นต้น หากไม่ได้รับการรักษา อาจนำไปสู่ภาวะไตวายและเสียชีวิตได้ หากได้รับการรักษา อาการเหล่านี้จะกลับมาหายเป็นปกติ จนกว่าจะได้รับยาหรืออาหารบางชนิดที่ต้องห้ามอีก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ ดูแลลูกที่เป็นโรค G6PD อย่างไร? อาหารประเภทใดบ้างที่ห้ามกิน?

อาหารและยาประเภทใดบ้างที่คนเป็นโรค G6PD ห้ามกินหรือสัมผัส?

อาหารที่ควรเลี่ยง

สารเคมีที่ควรเลี่ยง

ยาที่ควรหลีกเลี่ยง

โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง หากคอยระมัดระวังการกินหรือสัมผัสอาหารต้องห้าม

ดูแลลูกที่เป็น โรค G6PD อย่างไร?

  1. สำหรับทารกแรกเกิดที่เป็นโรคนี้ มักจะมีอาการตัวเหลืองเมื่อแรกคลอด เมื่อแพทย์ตรวจพบว่ามีระดับสารเหลืองเกินกว่าปกติ จะได้รับคำแนะนำให้รักษาด้วยการส่องไฟ เพื่อให้แสงไฟทำปฏิกิริยาการสารเหลือง และขับสารเหลืองออกจาากร่างกายทางปัสสาวะ และ อุจจาระ หรือหากพบว่าระดับสารเหลืองสูงมาก อาจะได้รับการวินิจฉัยให้ถ่ายเลือด
  2. และเมื่อระดับสารเหลืองถูกขับออกมาจนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยจนสามารถกลับบ้านได้แล้ว การดูแลเด็กที่เป็นโรค G6PD นั้นก็ดูแลเหมือนทารกปกติทั่วไป สามารถดื่มนมแม่ได้ตามปกติ เพียงแต่คุณแม่จะต้องทำตามแนะนำของแพทย์ในการระมัดระวังเรื่องการทานอาหารและยาต้องห้าม
  3. ควรติดตามอาการของลูกอยู่ตลอดเวลา โดยหากลูกอาการเหนื่อย เพลีย หรือดูว่าซีด เหลือง และ/หรือมีปัสสาวะสีน้ำตาลดำ หรือไม่มีปัสสาวะ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการและหาสาเหตุต่อไป
  4. ทุกครั้งที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคอื่น ๆ หรือหากต้องทานหรือใช้ยาใด ๆ ควรแจ้งแพทย์ เภสัชกร และพยาบาล ให้ทราบทุกครั้งว่ามีภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD
  5. ควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงปัจจัยต่าง ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตกได้ สำหรับเด็กที่โตแล้ว ควรสอนให้ลูกรู้จักและเข้าใจภาวะนี้ เพื่อระแวดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

เด็กที่เป็นโรค G6PD นั้นไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง หากได้รับการรักษาที่ถูกวิธี และระมัดระวังการทานหรือสัมผัสอาหาร ยา และสารเคมีต้องห้าม ก็สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

หมอแจง! ทำไมลูกตัวเหลือง? อันตรายจากตัวเหลืองในทารก

ตู้ยาสามัญประจำบ้านสำหรับลูกน้อยต้องมีอะไรบ้าง?

11 โรคติดต่อทางพันธุกรรม จากพ่อแม่สู่ลูกและวิธีป้องกัน

 

ข้อมูลอ้างอิงจาก : Pobpad, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาศิลปากร

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids