AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ก้างปลาติดคอลูก แก้ได้ด้วยน้ำมะนาวจริงหรือ? (มีคลิปคำตอบจากหมอ)

ก้างปลาติดคอลูก  …ปัญหานี้เป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ส่วนใหญ่มีคุณพ่อคุณแม่หลายคน ที่ไม่รู้วิธีแก้ หรือมักใช้วิธีแก้ปัญหาก้างปลาติดคอลูก แบบผิดๆ

ปลา ถือเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จึงไม่น่าแปลกใจที่คุณพ่อคุณแม่จะเลือกหาซื้อปลามาทำเป็นเมนูต่างๆ เพื่อให้ลูกน้อยทาน ไม่ว่าจะนำไปตุ๋น ต้ม นึ่ง หรือทอด แต่ก็ต้องยอมรับว่า ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเวลารับประทานปลาก็คือ ก้างชิ้นเล็กชิ้นใหญ่ที่ต้องคอยสังเกตดี ๆ เพราะถ้าเผลอกินเข้าไป หากเคี้ยวละเอียดก็อาจจะไม่เป็นอะไร แต่ถ้าโชคร้าย เจอก้างปลาชิ้นใหญ่ อาจทำให้ติดคอจนรู้สึกเจ็บได้ กลืนน้ำลายก็ลำบาก อยากจะเอาออกก็ไม่รู้จะทำอย่างไร และยิ่งถ้าเป็นเด็กน้อยซึ่งก็คงได้แต่ร้องไห้งอแง หน้าดำหน้าแดง พูดบอกคุณแม่ไม่รู้เรื่อง จึงเป็นเรื่องที่ต้องระวังเป็นอย่างมาก Amarin Baby & Kids จึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีแก้ก้างปลาติดคอ จากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ มาฝากค่ะ

⇒ Must read : 10 ปลาไทย โอเมก้า 3 สูง! บำรุงสมองสดใส หัวใจแข็งแรง
⇒ Must read : ปลาที่แม่ไม่ควรกิน (และทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า)

ไขข้อสงสัย ก้างปลาติดคอลูก แก้ได้ด้วยน้ำมะนาวจริงหรือ?

วิธีเอาก้างปลาที่ติดอยู่ในคอออกอย่างผิดๆ

ก้างปลาติดคอฟังดูอาจเป็นเรื่องไม่น่าตกใจ แต่ถ้าก้างนั้นติดอยู่ในหลอดอาหารและไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจมีโรคแทรกซ้อน เช่น หลอดอาหารทะลุ มีหนองลามเข้าไปในช่องอกและเยื่อหุ้มหัวใจ อาจทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ชีวิตได้

อันตรายที่อาจเกิดขึ้น หากมีก้างปลาติดคอ

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ระบุว่า ส่วนใหญ่แล้วก้างปลามักติดคออยู่บริเวณใกล้ต่อมทอนซิล เพดานอ่อน โคนลิ้น ฝาปิดกล่องเสียง และในหลอดอาหาร เราจะมีอาการเจ็บบริเวณที่มีก้างตำ ยิ่งกลืนยิ่งเจ็บ และหากมีก้างติดอยู่นานหลายวัน อาจเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ เป็นหนอง และมีไข้ตามมาได้ บางรายอาจพบเลือดปนออกมากับน้ำลายได้ด้วย หากยิ่งปล่อยไว้นาน อาจมีโอกาสเกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ตามมา เช่น หลอดอาหารทะลุ มีหนองลามเข้าไปในช่องอก หรือเยื่อหุ้มหัวใจ จนอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว

ซึ่งอาการเมื่อก้างปลาติดคอ เบื้องต้นแล้วพ่อแม่หลายคนคิดว่าสามารถเอาออกเองได้ง่าย บางคนก็ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไร? หรือจะปฏิบัติตามข้อมูลข่าวในโลกโซเชียล ที่มีมาแชร์โพสต์ให้เห็นอยู่มากมาย เช่น ให้ใช้น้ำมะนาวสดๆ บีบใส่ในคอสัก 1 ผล หรือกลืนข้าวเหนียวคำใหญ่ ๆ โดยไม่ต้องเคี้ยว เพื่อให้ก้างหลุดไปพร้อมข้าวเหนียว หรือแม้กระทั่งเอาอุ้งเท้าแมวมาเขี่ยที่ผิวหนังบริเวณลำคอ เนื่องจากแมวชอบกินปลา แล้ววิธีที่กล่าวมาจะช่วยได้จริงหรือ!?

ดังนั้น Amarin Baby & Kids จึงขอพาคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านไปไขความลับกับรายการ ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว ทางช่อง 34 AMARIN TVHD ตอน มะนาวแก้ก้างปลาติดคอได้หรอ? โดยมี นายแพทย์ ณัฐสิทธิ์ อุดมศิริ ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน โสต ศอ นาสิก รพ.พญาไทนวมินทร์ มาให้คำตอบเรื่องนี้ อย่างกระจ่างชัดเจน เลยทีเดียว

ชมคลิป >> ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : มะนาวแก้ก้างปลาติดคอได้หรอ? คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ชัวร์นะแม่ อย่าแชร์มั่ว : มะนาวแก้ก้างปลาติดคอได้หรอ?

ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : AMARIN TVHD

เพราะก้างปลาเป็นกระดูกแข็งที่มีปลายแหลม มีส่วนประกอบหลักอย่าง แคลเซียม ซึ่งไม่สามารถย่อยสลายได้ด้วยกรดอ่อน หรือน้ำอุ่น ในระยะเวลาอันสั้นแค่นั้นได้

การกินอาหารเข้าไปยิ่งทำให้เกิดแผลได้ ทางที่ดีควรจะพาไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล พบว่าก้างปลาติดอยู่ที่ลำคอลูกจริงๆ ลักษณะเป็นตัว S ติดอยู่ลึกมากทำให้มีอาการอักเสบและได้รับการรักษาจนก้างปลาหลุดออกในที่สุด

และไม่ควรกินอะไรตามลงไป เพราะก้างปลาที่ติดอยู่จะไหลเข้าไปลึกกว่าเดิม ทำให้เวลาเอาก้างปลาออกจะทำได้ยาก และจะทำให้ไปโดนกับอวัยวะส่วนอื่นๆได้ และเกิดอาการอักเสบ เกิดฝี และอาจจะเป็นหนองและอันตรายต่อชีวิตมาก ดังนั้นหากพบว่าลูกน้อยหรือตัวเองมีอาการก้างปลาติดคอ ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจควรรีบไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ ที่รู้สึกมีอาการ

จะรู้ได้อย่างไรว่ามีก้างปลาติดคอลูก หรือมีอะไรลงไปติดคอลูก

โดยมากแล้วเด็กไม่อยู่ในฐานะที่จะบอกเราได้ ไม่ว่าเนื่องจากเด็กยังเล็กเกินกว่าที่จะสื่อความหมายให้ผู้ใหญ่เข้าใจได้ หรือในกรณีส่วนใหญ่ การที่มีสิ่งแปลกปลอมลงไปอุดหลอดลมอยู่ ทำให้หมดความสามารถในการพูดไปโดยสิ้นเชิง ประกอบกับเด็กเองก็อยู่ในสภาพตื่นตกใจ

ดังนั้น คุณแม่จึงต้องเดาเอาจากอาการที่เด็กแสดงออก ได้แก่ อาการไอ หายใจไม่ออก หายใจเสียงดังฮึ๊ดๆ เหมือนคนเป็นหืด บางครั้งพูดไม่มีเสียงออกมาเลย หรือพูดได้ลำบาก เมื่อรวมกับประวัติการกิน อมของไว้ในปาก หรือสำลักก่อนจะเกิดอาการส่อแสดงว่าน่าจะมีของหลุดเข้าไปในทางเดินหายใจ และติดอยู่ที่ส่วนต้นๆซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง จำเป็นที่จะต้องรีบให้ความช่วยเหลือโดยด่วน

♥ บทความแนะนำคุณแม่ : ช่วยลูกสำลัก อาหารติดคอกรณีหมดสติ easy baby & kids
♥ บทความแนะนำคุณแม่ : ช่วยลูกอาหารติดคอ สำลัก เมื่อไม่หมดสติeasy baby & kids

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีการช่วยเหลือเมื่อก้างปลาติดคอ

1.สังเกตดูว่าก้างปลาติดอยู่บริเวณไหน

ให้อ้าปากกว้างๆส่องไฟฉายดูว่าเศษก้างปลาติดอยู่ส่วนไหน หากว่ามองเห็นว่าติดอยู่ตรงส่วนไหนให้ใช้ตะเกียบหรือคีมคีบออกมา แต่ถ้ามองไม่เห็นแนะนำให้ส่งไปโรงพยาบาลทันที ให้แพทย์เป็นคนคีบออกให้ดีกว่า

2.หากว่าก้างปลาเป็นเศษเล็กๆ

ล้างมือให้สะอาดแล้วกดที่โคนลิ้นหรือล้วงคอด้านในให้อาเจียนออกมา เศษก้างปลาจะได้ออกมากับอาเจียนนั้น

3.หากเป็นก้างปลาชิ้นใหญ่

อันนี้สำคัญมาก ถ้าเป็นก้างปลาที่มีขนาดใหญ่ไม่ควรทานอะไรลงไป และห้ามให้อาเจียนออกมา ควรรีบพาหาหมอให้ทันที เพราะถ้าคีบออกเองให้อาเจียนออกมาจะทำให้เป็นแผลอักเสบได้

อ่านต่อ >> “สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อก้างปลาติดคอลูก” คลิกหน้า 3

คลิกเลย! บทความแนะนำน่าอ่าน

การให้แพทย์หู คอ จมูก ช่วยเหลือ แพทย์จะใช้เครื่องมือที่เป็นกล้องตรวจพิเศษแบบหักมุม ที่จะช่วยทำให้เห็นก้างปลาที่ติดอยู่ในลำคอได้อย่างชัดเจน และง่ายขึ้นมาก

ถ้าบริเวณที่ก้างปลาติดอยู่เหนือกล่องเสียง และลูกกระเดือก แพทย์จะใช้เครื่องมือที่มีความโค้งงอหลากหลายมุมคีบออกมาได้ แต่ถ้าก้างปลาติดบริเวณที่ต่ำกว่าลูกกระเดือก แพทย์อาจต้องใช้วิธีเอกซเรย์ และผ่าตัดเข้ามาช่วย

♦ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเมื่อก้างปลาติดคอ 

เมื่อก้างติดคอ หลาย ๆ คนก็พยายามที่จะทำทุกวิถีทางให้ก้างหลุดออกมา จนอาจจะทำผิดวิธี และพาลทำให้อาการหนักกว่าเดิม และจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้น ดังนั้นถ้าหากรู้ตัวว่าก้างปลาติดคอ ควรหลีกเลี่ยงการกระทำเหล่านี้ค่ะ

เชื่อว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากให้เกิดเหตุการณ์เล็กน้อยที่แสนเลวร้ายกับลูกเป็นแน่ แต่ถ้าหากเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นจริงๆแล้วละก็ คุณพ่อคุณแม่ต้องคำนึงถึงหลักดังนี้ค่ะ

นอกจากก้างปลาติดคอลูก แล้ว ปัจจุบันยังพบ “ลวดเย็บกกระดาษ” ติดอยู่ในลำคอมากขึ้นด้วย ดังนั้นนอกจากจะต้องทานปลาอย่างระมัดระวังแล้ว ก่อนรับประทานอาหาร ควรระมักระวังลวดเย็บกระดาษที่อาจติดมากับบรรจุภัณฑ์ของอาหารด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย 

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : health.sanook.com , health.kapook.com , www.bangkokhealth.com