การ ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคุณแม่ดูแลผิดวิธี หรือไม่ทำตามที่คุณหมอแนะนำ อาจทำให้อาการหรือรอยแผลจากการฉีดวัคซีนของลูกร้ายแรงถึงขั้นติดเชื้อได้
เช่นเดียวกับกรณีดังภาพนี้นี้เป็นเคสต่างประเทศ ซึ่งหนูน้อยไปรับวัคซีนมา แต่มีบางประเทศที่มีวิธีดูแลลูกหลังฉีดวัคซีนแบบแปลกๆ โดยการใช้ผ้าพันที่ขา บริเวณที่ถูกฉีด แล้วเทเหล้าขาวให้ชุ่ม ทิ้งไว้แบบนั้นหลายวันกว่าจะมาพบแพทย์ ทำให้ติดเชื้อกลายเป็นแผลใหญ่ ดังภาพที่เห็นข้างบน ⇑
ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน ผิดวิธี!! เสี่ยงติดเชื้อรุนแรง
อย่างไรก็ดีการส่งเสริมสุขภาพลูกน้อยเพื่อลดโอกาสที่จะเกิดโรคต่างๆ อันอาจกระทบกับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของลูกน้อย รวมถึงกระทบสภาพจิตใจของทั้งลูกน้อยและคุณพ่อคุณแม่เอง หนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพคือการรับวัคซีนของลูกน้อย ซึ่งจัดว่าเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ง่าย ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรค ลูกน้อยจะได้รับวัคซีนหลายชนิดตั้งแต่แรกคลอดจนโต
วัคซีนจัดเป็นยาชนิดหนึ่ง ซึ่งการรับวัคซีนย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงหรือเกิดการแพ้ได้เช่นเดียวกับยาทั่วไป หากแต่ผลข้างเคียงนี้นับว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับอันตรายและความรุนแรงที่เกิดจากการติดเชื้อโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
ดังนั้นเราจึงมีผลข้างเคียงของวัคซีนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางเบื้องต้นในการ ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน มาฝากคุณพ่อคุณแม่
ชนิดและผลข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับวัคซีนมี ดังนี้ (เฉพาะวัคซีนที่ใช้บ่อย)
วัคซีนวัณโรค BCG ให้ตั้งแต่แรกเกิด ฉีดชั้นใต้ผิวหนังที่ตำแหน่งหัวไหล่หรือสะโพก
- ผลข้างเคียง หลังฉีดจะมีตุ่มนูน 6-8 มม. และหายไปในไม่ช้า จากนั้น 2 สัปดาห์ ตุ่มจะนูนแดงและแตกเป็นแผลมีหนอง อาจเป็นๆ หายๆ ถึง 6 สัปดาห์จึงหายไป และเหลือเป็นรอยแผลเล็กๆ แทน อาจพบต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงโต (ใต้รักแร้หรือขาหนีบ) หรือกระดูกอักเสบได้
วัคซีนตับอักเสบบี HBV (HepatitisB) ให้ครั้งแรกตอนแรกเกิด จากนั้นให้ที่อายุ 1-2 เดือน และ 6 เดือน
- ผลข้างเคียง พบน้อยมากอาจมีอาการเจ็บแสบขณะฉีด หรือไข้ต่ำๆ (อาจพบอาการแพ้รุนแรงได้แต่น้อยพบเพียง1ในล้านเท่านั้น)
วัคซีนโปลิโอ เริ่มให้อายุ 2 เดือนขึ้นไป มี 2 ชนิด
- ชนิดหยด ผลข้างเคียง อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรืออัมพาตคล้ายโรคโปลิโอได้ (พบ 1.4-3.4 ต่อล้านโด๊ส)
- ชนิดฉีด ซึ่งผสมรวมกับวัคซีนป้องกันคอตีบไอกรนบาดทะยัก ผลข้างเคียงตามวัคซีนป้องกันคอตีบไอกรนบาดทะยัก
อ่านต่อ >> “ชนิดและผลข้างเคียงของวัคซีนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากได้รับวัคซีน” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วัคซีนคอตีบไอกรนบาดทะยัก DTP (Diphtheria, Pertussis, Tetanus) เริ่มให้อายุ 2 เดือนขึ้นไป มี 2 ชนิด
- ชนิดเต็มเซลล์ (DTPw) และชนิดไร้เซลล์ (DTPa)
*ผลข้างเคียง ชนิดเต็มเซลล์ จะพบมากกว่า ชนิดไร้เซลล์ ทั้งเรื่องไข้ ปวดบวม ฝีปราศจากเชื้อบริเวณที่ฉีด และอาเจียน
*ผลข้างเคียงที่รุนแรงของชนิดเต็มเซลล์ คือ ชักภายใน 3 วัน ร้องกวน ไม่หยุดมากกว่า 3 ชั่วโมง ภายใน 2 วัน ตัวอ่อนปวกเปียก ภายใน 2 วัน ไข้มากกว่า 40.5 องศาเซลเซียส และแพ้วัคซีนทั้งแบบรุนแรงเฉียบบพลัน หรือแพ้ชนิดบวมแดงเฉพาะที่อย่างมาก ควรเปลี่ยนมาใช้ชนิดไร้เซลล์แทน
วัคซีนเยื่อหุ้มสมองอักเสบฮิบ Hib (Haemophilus influenzae B) มักผสมรวมกับวัคซีนป้องกันคอตีบไอกรนบาดทะยัก
- ผลข้างเคียงตามวัคซีนป้องกันคอตีบไอกรนบาดทะยัก หากฉีดตัวเดียวอาจพบอาการไข้ต่ำๆ ปวดบวมแดง อาการมักไม่รุนแรงและไม่เกิน 24 ชั่วโมง
วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม MMR (Measles, Mumps, Rubella)
เริ่มฉีดเข็มแรกที่อายุ 9-12 เดือน เข็มกระตุ้นนั้นอาจมีเปลี่ยนตามอุบัติการณ์ของโรคในประเทศไทย ในปีพ.ศ.2557 ทางอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้ปรับอายุที่กระตุ้นเป็น 2ปีครึ่ง ถ้าฉีดเข็มแรกที่อายุ 9 เดือน หากเข็มแรกให้อายุ 12 เดือนก็กระตุ้นที่อายุ 4-6 ปี
- ผลข้างเคียง พบน้อย อาจพบไข้ต่ำๆ ผื่นแดง ต่อมน้ำเหลืองโต ต่อมน้ำลายโต พบใน 5-12 วัน ชักจากไข้สูง อาการทางสมอง (สมองอักเสบ) ปวดตามข้อ (โดยเฉพาะในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่) แพ้ยาแบบเฉียบพลัน และอาจพบภาวะเกร็ดเลือดต่ำกว่าปกติชั่วคราวทำให้มีอาการเลือดออกผิดปกติได้
วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี JEV (Japanese encephalitis virus)
มี 2 ชนิด คือ แบบเชื้อตาย ซึ่งเพาะเลี้ยงใน สมองหนู ฉีด 3 ครั้งช่วงอายุ 1-2ปี ทางสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแนะนำให้กระตุ้นอีก 1 เข็มที่อายุ 4-5 ปี อีกชนิด คือ แบบเชื้อเป็นที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ลง ให้เข็มแรกที่อายุ 9-12 เดือนขึ้นไป และกระตุ้นหลังจากนั้นอีก 3-12 เดือน
- ผลข้างเคียง ไข้ (ร้อยละ10) ปวด บวมแดง ขณะฉีด (ร้อยละ20)
วัคซีนตับอักเสบเอ HAV (HepatitisA) ฉีดอายุ 1 -2 ปีขึ้นไป 2 เข็มห่างกัน 6-12 เดือน
- ผลข้างเคียง ปวด บวม เจ็บแสบ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร 1-2 วันแรก
วัคซีนอีสุกอีใส ฉีดอายุ 1 ปีขึ้นไป
กระตุ้นเข็ม 2 ที่อายุ 4-6 ปี กรณีที่มีการระบาดอาจฉีดเข็ม 2 ก่อนได้โดยอายุน้อยกว่า 13 ปี ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน ถ้าอายุมากกว่า 13 ปี ห่างจากเข็มแรกอย่างน้อย 1 เดือน
- ผลข้างเคียง บวม เจ็บแสบ ไข้ต่ำๆ อาจพบผื่นแดงหรือตุ่มน้ำใสเล็กน้อย ภายใน 5-26 วัน
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Influenza เริ่มฉีดที่อายุ 6 เดือนขึ้นไป
ฉีดทุกปี ปีละ 1 ครั้ง เฉพาะอายุ ต่ำกว่า 9 ปี ในปีแรกให้ 2 เข็มในห่างกัน1เดือน
- ผลข้างเคียง ไข้ พบน้อยในเด็กต่ำกว่า 13 ปี พบภายใน 6-24 ชั่วโมง อาจพบอาการแพ้เฉียบพลันได้ในคนที่มีการแพ้ไก่หรือไข่แบบรุนแรง และพบอาการปลายประสาทอักเสบเฉียบพลัน ได้ 1 ในล้าน
วัคซีนโรต้า Rotavirus ใช้หยอดทางปาก เริ่มที่อายุ 2 เดือน
- ผลข้างเคียง ไข้ เบื่ออาหาร อาเจียน งอแง ถ่ายเหลว
วัคซีนนิวโมคอคคัส Pneumococcus ฉีดที่อายุ 2 เดือนขึ้นไป
- ผลข้างเคียง ไข้ ปวด บวม แดง
อ่านต่อ >> “ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน ที่ถูกต้อง” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน ที่ถูกต้อง!
1. ควรนำสมุดบันทึกวัคซีนมาด้วยทุกครั้ง
2. ไม่ควรรับวัคซีนขณะที่มีไข้สูง หรือเจ็บป่วยเฉียบพลัน การเป็นหวัด ท้องเสียโดยไม่มีไข้สามารถรับวัคซีนได้
3.หลังรับวัคซีนควรอยู่ในโรงพยาบาลอย่างน้อย10นาทีเพื่อดูปฏิกิริยาแพ้ยาแบบเฉียบพลัน เช่น ผื่นขึ้น หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ หมดสติเป็นต้น
4. หากมีอาการไข้ ปวดศีรษะปวดเมื่อย สามารถทานยาลดไข้แก้ปวดพาราเซ็ตตามอลได้ ถ้าไม่แพ้ยา
5. หากมีอาการปวด บวม ภายใน 24ชั่วโมงแรก ให้ใช้ผ้าเย็นประคบ เพื่อลดเลือดไหลเวียนมาบริเวณนั้น อาการบวมจะลดลง
6. หากมีอาการบวมแดง ต้องประเมินว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ ถ้าเป็นฝีควรปฏิบัติ ดังนี้
-
ฝีจากBCG ทำความสะอาดด้วย 70%alcohol หรือน้ำสะอาดที่ต้มสุก
-
ฝีต่อมน้ำเหลืองจาก BCG ควรพบแพทย์
-
ฝีจากคอตีบไอกรนบาดทะยัก มักเป็นฝีไม่มีเชื้อ ช่วงบวมแดงอาจประคบเย็นหากไม่ดีขึ้นหรือขนาดใหญ่ขึ้นให้พบแพทย์
7. หลังรับวัคซีนโดยเฉพาะเด็กโตอาจมีอาการหน้ามืดเป็นลม ให้นั่งนิ่งๆ อยู่กับที่หรือนอนราบอย่างน้อย 15 นาทีหรือจนอาการดีขึ้น
8. หากไม่สามารถมาตามนัดที่ฉีดได้ สามารถเลื่อนออกได้ (แนะนำว่าไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์)
9. หากเคยฉีดยาแล้วมีอาการแพ้ยา หรือมีอาการแพ้ไข่หรือไก่แบบรุนแรง กรุณาแจ้งกุมารแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทราบด้วย
อย่างไรก็ดีการ ดูแลลูกหลังฉีดวัคซีน คือพ่อแม่ต้องสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดหลังจากลูกน้อยได้รับวัคซีน และเตรียมพร้อมข้อมูลด้วยวิธีที่แนะนำข้างต้น ก็เชื่อว่าคงจะเป็นตัวช่วยให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับอาการข้างเคียงด้วยตัวเอง ไม่ต้องกังวลใจ
อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!
- เช็กเลย! ตารางวัคซีน 2561 ลูกน้อยต้องฉีดอะไรบ้าง
- 5 วัคซีนเด็ก สำคัญ! ป้องกัน 9 โรคร้ายให้ลูกตอนโต
- เคล็ดลับ ปราบอาการเจ็บของลูกหลังฉีดวัคซีน
ขอบคุณข้อมูลจาก พญ.วนิดา พิสิษฐ์กุล : คู่มือวัคซีน ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ปี 2013-2014, หนังสือการประชุมใหญ่ประจำปี 2557 ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และข้อมูล BCGจาก สถานเสาวภา สภากาชาดไทย www.thonburi2hospital.com