AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกลำไส้ติดเชื้อ เพราะอมมือ อมเท้า

ลูกลำไส้ติดเชื้อ เพราะอมมือ อมเท้า อาจเกิดขึ้นได้ในเด็กเล็กๆ วัยทารกที่ชอบยกมือ ยกเท้าเอาเข้าปากตามพัฒนาการปกติ แต่ใครจะรู้ว่าพัฒนาการไร้เดียงสาที่น่ารักนี้ก็สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกได้เหมือนกันค่ะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีประสบการณ์จริงจากคุณแม่ที่ลูกมีอาการติดเชื้อในลำไส้ เพราะลูกอมมือ อมเท้าเล่น มาเตือนให้ระวังกันค่ะ

 

ลูกลำไส้ติดเชื้อ เพราะอมมือ อมเท้า

คุณแม่น้องต้นกล้าเจ้าของเรื่อง ลูกลำไส้ติดเชื้อ เพราะอมมือ อมเท้า ได้แชร์ประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับลูกน้อย เพราะมีอาการติดเชื้อในลำไส้

#แชร์ประสบการณ์แม่ๆ ช่วงนี้แม่ๆ ลงรูป #น้องอมมือ #อมเท้า เยอะมาก ถ้าแม่รักหนู แม่เอาออกนะคะ อย่าดูน้องทำ อย่าให้น้องทำแล้วถ่ายวิดีโอ ต้นกล้าเป็นลำไส้ติดเชื้อ เข้าโรงพยาบาลเพิ่งออก อยู่โรงพยาบาล 5 วัน โดนเจาะเลือด เสียบเข็มให้น้ำเกลือและยาฆ่าเชื้อทางน้ำเกลือ เด็กตัวเล็กๆ เจาะเลือดและเสียบน้ำเกลือ คนเป็นแม่ใจจะขาด หาเส้นไม่เจอก็ต้องเสียบที่ใหม่ ทั้งมือ และเท้า พรุนไปหมดค่ะ น้องดินสายน้ำเกลือหลุดก็ต้องเสียบใหม่ อึเยอะจนก้นแดงไปหมด สงสารลูกจับใจ ส่วนตัวเห็นก็จะเอาออกค่ะถ้าน้องอม บางทีก็จับออกไม่ทัน อาการเริ่มแรกคือ ถ่ายบ่อย สักพักจะมีมูกปน และก็จะมีมูกเลือดปนในที่สุด รู้ว่าห้ามยากที่น้องทำ แต่แม่บ้านนี้เป็นห่วงเด็กๆ ค่ะ เด็กตัวเล็กๆ ป่วยน่าสงสารมาก

บทความแนะนำ คลิก >>  ลูกท้องเสียถ่ายเหลว ไม่ใช่ยืดตัว แต่เพราะติดเชื้อในกระแสเลือด

จากเรื่องที่คุณแม่แชร์ประสบการณ์มาถือเป็นการเตือนให้อีกหลายๆ ครอบครัวที่มีลูกเล็กวัยทารกได้ระวังกันมากขึ้น ที่ถึงแม้ว่าการเอามือ เอาเท้าเข้าปากแล้วอมของลูก จะเป็นหนึ่งในพัฒนาการปกติที่เกิดขึ้นได้ก็ตาม แต่การไม่ได้ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายผิวพรรณ รวมทั้งอุปกรณ์สิ่งของใช้รอบข้างที่ลูกสามารถสัมผัสได้ทั้งตัว หากไม่สะอาดแล้วลูกไปสัมผัสถูก แน่นอนว่าสิ่งสกปรก เชื้อโรคย่อมติดตามกับร่างกาย มือ เท้าของลูกได้ และเมื่อเชื้อโรคพวกนี้เข้าสู่ร่างกายลูก ก็สามารถทำให้เกิดการเจ็บป่วยขึ้นได้ง่าย เพราะเด็กเล็กๆ ร่างกายยังมีภูมิคุ้มกันโรคที่ไม่แข็งแรงมากพอที่จะต่อสู่กับเชื้อโรคนั่นเองค่ะ

อ่านต่อ ปัจจัยที่ทำให้ลูกเสี่ยงเป็นลำไส้ติดเชื้อ หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ปัจจัยที่ทำให้ลูกวัยทารกเสี่ยงลำไส้ติดเชื้อ

เด็กที่อยู่ในช่วงวัย 4-5 เดือนจะมีพัฒนาการการใช้อวัยวะของร่างกายได้มากขึ้น ชอบยกมือ ยกเท้าเอาเข้าปากตัวเอง พ่อแม่หรือใครที่เห็นก็มักจะหัวเราะชอบใจในความน่าเอ็นดูของเจ้าตัวเล็ก แต่อย่างที่บอกไปค่ะว่ามือและเท้าของลูกถึงแม้จะอยู่แต่ในบ้านก็ใช่ว่าจะสะอาดอยู่ตลอดเวลา เพราะฝุ่นละออง เศษนม เศษอาหาร หรือผิวสัมผัสของเสื้อผ้า ชุดเครื่องนอน ฯลฯที่มือและเท้าน้อยๆ ไปสัมผัสอยู่บ่อยๆ อาจมีฝุ่น เชื้อโรคติดมาด้วย  ทำให้ลูกเจ็บป่วยเป็นลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อได้ค่ะ

ซึ่งการที่ลำไส้ติดเชื้อจนเกิดอาการอักเสบมักมาจากการได้รับเชื้อโรคโดยผ่านการสัมผัสทางปากที่มาได้กับการกินนม อาหาร และน้ำดื่ม รวมทั้งกับเด็กเล็กที่ชอบเอามือเข้าปาก ซึ่งอาการในเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้คือมีไข้ อาเจียน ท้องเสีย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่สามารถทำให้เกิดลำไส้ติดเชื้อได้ในลูกวัยทารก นั่นคือ

การคลอดก่อนกำหนด

ในเด็กทารกที่มีการคลอดก่อนกำหนด มักมีภาวะน้ำหนักตัวน้อยว่าเกณฑ์มาตรฐาน บวกกับหากมีการขาดออกซิเจนช่วงแรกคลอด และภาวะขาดเลือดไปเลี้ยงยังลำไส้ร่วมด้วย ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดเป็นลำไส้อักเสบได้เช่นกัน

ภูมิต้านทานไม่แข็งแรง

อย่างที่ทราบกันดีว่าในเด็กทารกนั้นภูมิต้านทานโรคยังไม่แข็งแรงสมบูรณ์มากนัก จึงง่ายต่อการเจ็บป่วยหากได้รับเชื้อโรคต่างๆ ที่ผ่านมากับอาหาร หรืออากาศก็มีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นลำไส้ติดเชื้อง่าย

บทความแนะนำ คลิก >> วิธีฆ่าเชื้อ ล้างขวดนมลูก ให้สะอาดปลอดเชื้อโรค

สำหรับอาการลำไส้อักเสบที่คุณแม่สามารถสังเกตได้ในเบื้องต้นกับลูก ก็คือ มีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ที่อาจจะมีมูกเลือดปนออกมาด้วย รวมทั้งมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น ไข้ คลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องอืด น้ำหนักลด หรือเลี้ยงไม่โต ตัวบวมจากการสูญเสียโปรตีนทางลำไส้ โลหิตจางจากการสูญเสียเลือดทางลำไส้[1]

อ่านต่อ การป้องกันภาวะลำไส้อักเสบให้ลูก หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การรักษา และการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบ

การรักษาประคับประคอง คือการแก้ไขภาวะขาดน้ำ เด็กที่ถ่ายอุจจาระเหลว จะสูญเสียน้ำไปกับอุจจาระ ผู้ปกครองอาจประเมินความรุนแรงของการขาดน้ำได้ดังนี้

ถ้าเด็กมีการขาดน้ำน้อย คุณแม่อาจให้เด็กดื่มสารละลายเกลือแร่ปริมาณ 50 ซีซี ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ในระยะเวลา 4 ชั่วโมง ในระหว่างนี้ถ้าเด็กถ่ายอุจจาระเพิ่มขึ้นอีก ต้องให้สารละลายเกลือแร่เพิ่มขึ้นอีก โดยให้ปริมาณ 10 ซีซี ต่อน้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม ต่อการถ่ายอุจจาระ 1 ครั้ง ถ้าเด็กมีการขาดน้ำปานกลางหรือรุนแรง ควรนำเด็กมาพบแพทย์เพราะอาจมีความจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด

บทความแนะนำ คลิก >> อุทาหรณ์! ลูกไม่โต เพราะ กล้วยอุดตันลำไส้ จนเน่า

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะลำไส้อักเสบ คือให้เด็กรับประทานนมแม่ เนื่องจากนมมารดามีสาร secretory IgA ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเกาะติดกับผนังลำไส้หรือรบกวนการเจริญเติบโตของ เชื้อโรค ถ้าจำเป็นต้องให้เด็กรับประทานนมจากขวดนม ต้องทำความสะอาดขวดนม และจุกนมโดยการต้มน้ำที่ใช้ผสมนมควรเป็นน้ำต้มสุกรวมทั้งล้างมือให้สะอาดก่อนการเตรียมผสมนม ให้เด็ก[2]

อย่างไรก็ดีขอให้คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกเล็กระมัดระวังในเรื่องของความสะอาดให้มากๆ เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าเด็กทารก และเด็กเล็กนั้นยังมีภูมิต้านทานโรคที่ต่ำอยู่ จึงทำให้มีโอกาสต่อการเจ็บป่วยได้มากค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

แชร์ประสบการณ์จริง แม่เป็นมะเร็งโพรงจมูก
แชร์ประสบการณ์ แม่คลอดลูกติดเชื้อในกระแสเลือด แต่ได้นมแม่จึงรอดปลอดภัย
แม่แชร์ประสบการณ์ ลูกขาดวิตามินซี หกล้มจนเดินไม่ได้เป็นเดือน!

 


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
Facebook คุณแม่น้องต้นกล้า ธราธิป รัศมิทัต

1,2โรงพยาบาลไทยนครินทร์