AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก กับสัญญาณเตือนให้ระวัง!

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก แค่ชื่อก็น่ากลัวจนไม่อยากให้เกิดขึ้นกับผู้หญิงทุกคนแล้วละค่ะ ยิ่งโดยเฉพาะคนที่เป็นแม่หากไม่ เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงต่างๆ นั่นย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะอะไรรู้ไหมคะ “คนเป็นแม่ห้ามเจ็บ ห้ามตาย!!” ทีมงาน Amarin Baby & Kids จะมาชวนคุณแม่ และผู้หญิงทุกคนมาเฝ้าระวังสุขภาพให้ห่างไกลจากมะเร็งร้ายที่เยื่อบุโพรงมดลูกกันค่ะ

 

มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก กับสัญญาณเตือนร่างกายที่ควรรู้!!

จะดีแค่ไหนถ้าคุณแม่ และผู้หญิงทุกคนได้รู้เท่าทันอาการของ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก สำหรับมะเร็งชนิดนี้นั้น มักจะเกิดขึ้น ที่อวัยวะสืบพันธ์ของผู้หญิง ซึ่งจะมีสัญญาณเตือนเบื้องต้นให้รู้กันดังนี้…

– มีเลือดออกทางช่องคลอดภายหลังที่หมดประจำเดือนไปแล้ว

– ประจำเดือนมาผิดปกติ เช่น มากะปริบกะปรอย หรือปริมาณมาก หรือจำนวนวันที่มีประจำเดือนมาก

– มีตกขาวมาก

– บางครั้งอาจจะมีอาการปวดท้องน้อย หรือไม่เวลาปัสสาวะก็จะมีอาการขัดๆ

– อาจคลำเจอก้อนในท้องน้อย ซึ่งมักเกิดจากการที่มดลูกมีขนาดโตขึ้น[1]

บทความแนะนำ คลิก >> เป็นเนื้องอกมดลูก มีลูกได้ไหม?

นี่คือสัญญาณเตือนร่างกายที่บอกให้รู้ได้ว่ามีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นภายในมดลูกนั่นเองค่ะ ดังนั้นเมื่อพบอาการแสดงผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นให้คุณแม่รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอาการในทันทีค่ะ

อ่านต่อ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูก หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก[2]

เชื่อว่าคุณแม่ รวมทั้งผู้หญิงส่วนใหญ่อาจกำลังเกิดความกังวลบวกความสงสัยว่าตัวเองนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูกหรือไม่ ซึ่งในความเป็นจริงนั้นก็มีอยู่หลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงทางสุขภาพในการเจ็บป่วยด้วยมะเร็งชนิดนี้ ไปดูกันค่ะว่าความเสี่ยงนั้นเกิดจากสาเหตุปัจจัยใดได้บ้าง

1. อายุ

ผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือนแล้วจะเป็นกลุ่มแรกๆ ที่เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูก แต่ปัจจุบันนี้พบว่าผู้หญิงอายุ 30 ปีขึ้นไปก็พบว่ามีความเสี่ยงต่อการป่วยมะเร็งชนิดนี้มากด้วยเช่นกันค่ะ

บทความแนะนำ คลิก >> ผู้หญิง ปวดประจำเดือน แบบไหนต้องไปหาหมอ!

2. ระดับฮอร์โมน

รู้หรือไม่ว่า ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ในผู้หญิงมีผลต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ นั่นก็คือถ้าร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมา แต่ในขณะเดียวกันร่างกายกลับไม่ได้หลั่งฮอร์โมนโปรเจนเตอโรนออกในปริมาณที่สมดุลกัน ก็จะส่งผลกระทบให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น ซึ่งเสี่ยงต่อการมาของรอบเดือนที่ไม่ปกติในช่วงก่อนหมดประจำเดือน และช่วงหมดประจำเดือน

3. มีน้ำหนักตัวเกิน

เมื่อทำการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (Body mass index ; BMI) แล้วมีค่าตั้งแต่ 25 ขึ้นไป จะจัดอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

4. พันธุกรรม

สำหรับโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก สามารถส่งต่อถึงกันได้ผ่านทางพันธุกรรม ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ สามารถส่งถึงรุ่นลูกรุ่นหลานทำให้มีความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูกได้นั่นเองค่ะ[2]

อ่านต่อ วิธีการรักษามะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูก หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

4 วิธีการรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก[3]

ในปัจจุบันนี้ผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูก หลังจากได้รับการตรวจวินิจฉัยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการในการรักษา ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาถึงวิธีการรักษาให้ตามระยะของโรค โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่ 4 วิธีดังนี้…

1. การผ่าตัดมดลูก

โดยการส่องกล้อง (Laparoscopic Complete Surgical Staging) ถือเป็นการรักษาที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มนี้ คือ การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองอุ้งเชิงกรานออกทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับการตัดมดลูก ผ่านกล้อง และภายหลังการผ่าตัดจะมีการตรวจชิ้นเนื้อต่างๆ อีกครั้ง เพื่อเป็นข้อ บ่งชี้ว่าควรจะมีการรักษาร่วมอื่นๆ เช่น รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด หรือฮอร์โมน ร่วมด้วยหรือไม่

2. รังสีรักษา

อาจใช้ร่วมกับการผ่าตัดแต่บางครั้งถ้าผ่าตัดไม่ได้ก็อาจใช้เพียงรังสีรักษา รังสีอาจใช้ร่วมกับเคมีบำบัด หรือฮอร์โมนตามข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ รังสีการแพทย์ มีทั้งการฉายรังสีและการใส่แร่ ซึ่งอาจใช้เพียงวิธีการเดียวอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง 2 วิธีการร่วมกัน ทั้งนี้ขึ้นกับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ของผู้ป่วยแต่ละราย

3. เคมีบำบัด

มักใช้ในโรคระยะลุกลาม มักใช้ร่วมกับการผ่าตัด หรือ รังสีรักษา

4. ฮอร์โมน

ส่วนมากแล้ววิธีนี้จะใช้ในผู้ป่วยที่โรคลุกลามแต่มีผู้ป่วยส่วนน้อยที่การรักษาได้ผลด้วยวิธีนี้[3]

สำหรับโรคมะเร็งที่เยื่อบุโพรงมดลูก หากมีการตรวจพบตั้งแต่เริ่มแรก และมีการรักษาอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอนที่แพทย์แนะนำ ในคุณแม่หรือผู้หญิงที่ป่วยด้วยมะเร็งชนิดนี้ มีโอกาสในการหายจากมะเร็งค่อนข้างมาก แต่ถึงแม้ในบางคนที่สามารถรักษาจนหายแล้ว ก็ยังต้องมีการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หรือตามที่แพทย์นัดตรวจสุขภาพเป็นระยะ ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยและไม่กลับมาป่วยซ้ำกันอีกครั้งนั่นเองค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

มะเร็งเต้านม มหันตภัยร้ายใต้ทรวงอก ของผู้หญิง
แพทย์เผย! โรคมะเร็งที่คนเป็นมากที่สุดคือ 5 อวัยวะนี้!


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1,3www.phyathai-nawamin.com
2www.somanao.com