โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ติดต่อได้อย่างไร?
โรคนี้เดิมเรียกว่า โรคไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชนิดเฉียบพลันรุนแรง ซึ่งการติดต่อของ เชื้อไวรัสอีโบลา สามารถติดต่อกันได้ 2 ทาง คือ
1. ติดต่อจากสัตว์สู่คน
โดยการสัมผัสกับอวัยวะเลือด สารคัดหลั่ง หรือของเหลวชนิดอื่นจากสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือเกิดขณะจัดการสัตว์ติดเชื้อที่ตาย โดยยังไม่พบรายงานจากการติดเชื้อผ่านทางอากาศหรือลมหายใจ ในแอฟริกาพบหลักฐานการติดเชื้อจากการสัมผัสสัตว์ที่ติดเชื้อ ได้แก่ ชิมแปนซีกอริลลาค้างคาวผลไม้ลิงแอนติโลปป่าและเม่น[2]
2. ติดต่อจากคนสู่คน
โดยการสัมผัสโดยตรงกับเลือดหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดเชื้อเช่น นํ้ามูก นํ้าลายปัสสาวะ อุจจาระ นํ้าอสุจิหรือของเหลวอื่นๆ ผ่านผิวหนังที่เป็นแผลหรือเยื่อบุของผู้รับเชื้อและจากการสัมผัสโดยอ้อมกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่ปนเปื้อนด้วยของเหลวเหล่านั้น นอกจากนี้ยังพบการติดเชื้อในโรงพยาบาลผ่านทางเข็ม และหลอดฉีดยา[3]
สำหรับการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ที่น่าตกใจ คือ ยังไม่มีวัคซีน หรือตัวยาจำเพาะในการป้องกัน หรือใช้สำหรับการรักษาคนป่วย การรักษาให้กับคนที่เป็นโรคนี้ ก็คือการให้ยาแก้ปวดในการประคับประคองอาการ ส่วนคนป่วยที่มีอาการของโรครุนแรงนั้นจะมีอาการขาดน้ำ การรักษาคือจะให้สารละลายเกลือแร่เพื่อไม่ให้อาการขาดน้ำรุนแรงมากขึ้น เห็นแบบนี้แล้วไม่อยากให้เกิดการแพร่ระบาดเข้ามาในไทยเลยค่ะ ดังนั้นทุกคนจะต้องช่วยกันสอดส่องดูแล เป็นหูเป็นตา หากพบคนในครอบครัว หรือใครก็ตามที่เจ็บป่วยมีอาการน่าสงสัยว่าอาจจะติดเชื้อไวรัสอีโบลา ที่จะมีอาการ คือ
- มีไข้สูง
- อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ
- ปวดกล้ามเนื้อ
- เจ็บคอ อาเจียน
- ท้องเสีย และมีผื่นนูนแดงตามตัว
ให้รีบแจ้งกรมควบคุมโรค โทร 1422 ทันที เพื่อจะได้หยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างรวดเร็วค่ะ
อ่านต่อ วิธีป้องกันจากการป่วยด้วยไวรัสอีโบลา คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่