AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกโดนหมากัด ต้องดูแล และ ฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้า กี่เข็ม?

ลูกโดนหมากัด ระวังให้ดี เสี่ยงติดเชื้อโรคพิษสุขนัขบ้า เตือนพ่อแม่ตอนนี้โรคพิษสุขนัขบ้ากำลังระบาดหนักทั่วประเทศไทย หาก ลูกโดนหมากัด ต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนภายใน 2 วันทันที ไม่เช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้

จากกรณีพบผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 2 คน ที่ จ.สุรินทร์ และ จ.สงขลา โดยทั้ง 2 คน ถูกลูกสุนัขกัด เป็นแผลเล็กน้อย แต่ไม่ได้พบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ทำให้ป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

โรคพิษสุนัขบ้า ระบาดหนัก! ระวังอย่างให้ ลูกโดนหมากัด

ล่าสุด สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ได้ออกมาประกาศสถานการณ์โรคพิษสุนัขบ้า โดยแจ้งรายชื่อเขตที่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าชั่วคราวแล้วใน 13 จังหวัด ดังนี้

จังหวัดสุรินทร์, ชลบุรี, สมุทรปราการ, ฉะเชิงเทรา, น่าน, บุรีรัมย์, อุบลราชธานี, เชียงราย, ร้อยเอ็ด, สงขลา, ระยอง, ตาก และ ศรีสะเกษ

โดยจัดเป็นพื้นที่สีแดง หมายถึง สถานการณ์น่าเป็นห่วง ทั้งนี้ยังได้กำหนดเขตพื้นที่เฝ้าระวังอีก 42 จังหวัด โดยจัดเป็นโซนสีเหลือง

ภาพจาก brighttv

ซึ่งเรื่องนี้ด้านนายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ระบุว่า…ปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า นั่นคือ ผู้ที่เลี้ยงหมาแมวนั้นไม่ป้องกัน โดยการนำสัตว์เลี้ยงของตนเองไปฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า และขาดความตระหนักถึงวิธีการป้องกันการติดเชื้อ

นายแพทย์ สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นอกจากการที่คุณพ่อคุณแม่ไม่นำสุนัข แมว ไปรับ วัคซีนพิษสุนัขบ้า แล้ว ปัจจัยที่ทำให้ยังมีสัตว์ติดเชื้อและมีผู้เสียชีวิตยังมาจากการที่ปล่อยสัตว์เลี้ยงไว้นอกบ้าน

จึงเสี่ยงต่อการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัด รวมทั้งแต่ละบ้านขาดความตระหนักถึงการป้องกันการติดเชื้อ เช่น เมื่อ ลูกโดนหมากัด ถูกลูกหมา ลูกแมวกัด ข่วน เลีย ก็มักจะคิดว่าไม่เสี่ยง และไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรค ทำให้ติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้

อ่านต่อ >> ลูกโดนหมากัดติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร พ่อแม่ต้องรู้! คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า ในช่วง 2 เดือนของปี 2561 นี้ มีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้าแล้ว 3 ราย ขณะที่สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมวติดเชื้อแล้ว 247 ตัว ซึ่งสูงกว่าปีก่อนถึง 1.5 เท่า จึงขอให้เจ้าของสังเกตสัตว์เลี้ยงของตนเองว่ามีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อหรือไม่ โดยจะพบอาการ 3 ระยะคือ

รู้จักโรคพิษสุนัขบ้า ก่อนที่ลูกจะโดนหมากัด

โรคพิษสุนัขบ้า (Rabies) หรือ โรคกลัวน้ำ (Hydrophobia) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะเรียกว่า “โรคหมาว้อ” จัดเป็นโรคติดต่อร้ายแรง เกิดจากเชื้อไวรัสเรบี่ส์ ซึ่งทำให้เกิดโรคได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นคน สุนัข แมว ลิง กระรอก ค้างคาว สุนัขจิ้งจอก สกังก์ แรคคูน พังพอน ฯลฯ พาหะนำโรคที่สำคัญในประเทศไทย คือ สุนัข ประมาณ 95% รองลงมาคือแมว

โดยโรคพิษสุนัขบ้านี้ เมื่อเป็นแล้วจะมีอาการทางประสาท โดยเฉพาะที่ระบบประสาทส่วนกลาง ถ้าเป็นแล้วจะเสียชีวิตทุกราย หากฉีดวัคซีนป้องกันโรคไม่ทัน ทั้งนี้ คาดกันว่าในแต่ละปี ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า ปีละกว่า 60,000 คน

ลูกโดนหมากัด ติดโรคพิษสุนัขบ้าได้อย่างไร

สำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่โดน หมากัด สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ หากรับเชื้อจากสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้านี้ โดยสามารถรับเชื้อพิษสุนัขบ้าได้ 2 ทางคือ

1. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัดหรือข่วน โดยเชื้อไวรัสจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค จะเข้าสู่บาดแผลที่ถูกกัด

2. ถูกสัตว์ที่เป็นโรคเลียปกติจะไม่ติดเชื้อ นอกจากว่าบริเวณที่ถูกเลียจะมีบาดแผล หรือรอยถลอก ขีดข่วน รวมทั้งการถูกเลียที่ริมฝีปาก หรือนัยน์ตา

***ส่วนกรณีการติดต่อจากคนสู่คนนั้น ในตามทฤษฎีเป็นไปได้ แต่ยังไม่มีรายงานที่ยืนยันแน่ชัด

การปฏิบัติตัวหลัง ลูกโดนหมากัด

หากคุณหรือลูกน้อยถูกสุนัขกัดควรดำเนินการต่อไปนี้

  1. ล้างแผลทันทีด้วยน้ำสะอาดฟอกสบู่ 2-3 ครั้ง ถ้ามีเลือดออก ควรปล่อยให้เลือดไหลออก อย่าบีบหรือเค้นแผล เพราะจะทำให้เชื้อแพร่กระจายไปส่วนอื่น
  2. ใส่ยาเช่น เบตาดีน ทิงเจอร์ไอโอดีน แอลกอฮอล์ 70% จะช่วยฆ่าเชื้อโรคได้ อย่าใส่สิ่งอื่น เช่น เกลือ ยาฉุน ลงในแผล ไม่ควรเย็บแผล และไม่ควรใช้รองเท้าตบแผล เพาะอาจทำให้เชื้อกระจายไปรอบบริเวณเกิดแผลได้ง่าย และอาจมีเชื้อโรคอื่นเข้าไปด้วย ทำให้แผลอักเสบ
  3. กักสัตว์ที่กัดไว้ดูอาการอย่างน้อย 15 วันโดยให้น้ำและอาหารตามปกติ อย่าฆ่าสัตว์ให้ตายทันที เว้นแต่สัตว์นั้นดุร้าย กัดคนหรือสัตว์อื่น หรือไม่สามารถกักสัตว์ไว้ได้ ถ้าสัตว์หนีหายไปให้ถือว่าสัตว์นั้นเป็นโรคพิษสุนัขบ้า
  4. รีบพบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนและเซรุ่ม ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรรอดูอาการสุนัข เพราะอาจสายเกินไป
  5. หากสุนัขตายให้นำซากมาตรวจหาเชื้อหากสุนัขไม่ตายให้ขังไว้ดูอาการ แต่หากติดตามสัตว์ที่กัดไม่ได้ ต้องรีบมารับการฉีดวัคซีนโดยทันที

 

อ่านต่อ >> วิธีสังเกตสัตว์ที่เป็น โรคพิษสุนัขบ้า” คลิกหน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีสังเกตสัตว์ที่เป็น โรคพิษสุนัขบ้า

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะมีอาการ 2 แบบคือ

1. แบบดุร้าย จะมีอาการหงุดหงิด ไล่กัดคนและสัตว์อื่น ๆ บางครั้งสุนัขจะกัดจนฟันหัก ลิ้นเป็นแผล เมื่อแสดงอาการดุร้ายได้ 2-3 วัน ก็จะอ่อนเพลียลง ขาหลังไม่มีแรง เดินโซเซ และตายในที่สุด รวมระยะเวลาประมาณ 10 วัน

2. แบบเซื่องซึม สัตว์จะมีอาการปากอ้า หุบไม่ได้ ลิ้นมีสีแดงคล้ำ มีสิ่งสกปรกติดอยู่ และลิ้นจะห้อยออกมานอกปาก มีอาการคล้ายกระดูกติดคอ สำหรับสุนัขจะเอาขาหน้าตะกุยบริเวณแก้มปากและคอบวม จะลุกนั่ง ยืน และเดินไปมาบ่อย ๆ กินของแปลก ๆ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน หรือบางตัวจะกินปัสสาวะของตัวเอง

แต่สุนัขไม่กัด ถ้าไม่ถูกรบกวน สุนัขแบบหลังนี้จะสังเกตอาการยากมากว่าเป็น โรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ ดังนั้น หากสุนัขตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ควรตัดหัวไปพิสูจน์ก่อน

***ส่วนแมวที่ป่วยจะมีอาการคล้ายสุนัขแต่ไม่ชัดเจนเท่า และพบอาการแบบดุร้ายมากกว่าแบบซึม

ลูกโดนหมากัด เป็นโรคพิษสุนัขบ้า รักษาอย่างไร?
ต้องฉีด วัคซีนพิษสุนัขบ้า กี่เข็ม?

 

ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาโรคพิษสุนัขบ้าให้หายขาด จึงทำได้เพียงดูแล รักษาตามอาการเท่านั้น โดยควรปฏิบัติดังนี้ต่อผู้ป่วย

  1. ให้แยกผู้ป่วย โรคพิษสุนัขบ้า ออกจากสิ่งเร้าต่าง ๆ
  2. ให้สารอาหารแบบน้ำเข้าทางเส้นเลือด เพราะผู้ป่วยจะทานอาหารไม่ได้
  3. ผู้ที่คอยดูแล ควรใส่เสื้อผ้ามิดชิด ใส่แว่นตา ผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วยการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า

ที่ดีที่สุดคือ ระวังอย่าให้ ลูกโดนหมากัด หรือแมวกัด เพราะคนมักติดเชื้อจากน้ำลายของสัตว์ที่เป็นโรค นอกจากนี้ยังควรพาสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าด้วย ที่สำคัญอย่าปล่อยให้หมา แมว มีลูกมาก และคุณพ่อคุณแม่ควรพาน้องหมาน้องแมวที่เลี้ยงไปทำหมันสุนัขทั้งตัวผู้และตัวเมีย

วัคซีนพิษสุนัขบ้า ต้องฉีดแบบไหน

สมัยก่อน วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าต้องฉีดรอบสะดือ 14 เข็ม หรือ 21 เข็ม ถ้าหยุดต้องเริ่มต้นใหม่ แต่ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกัน โรคพิษสุนัขบ้า ที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง โดยฉีดทั้งหมดเพียง 4-5 เข็มเท่านั้น และไม่ต้องฉีดทุกวัน โดยมี 2 แบบคือ ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเข้าชั้นผิวหนัง ซึ่งวัคซีนนี้จะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ต่อระบบประสาท และสามารถฉีดได้ทั้งในเด็กและสตรีมีครรภ์

อย่างไรก็ตาม หากจะป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ได้ผลดี ควรฉีดเซรุ่มควบคู่การฉีดวัคซีนด้วย โดยเฉพาะหากบาดแผลมีเลือดออก แผลลึก ถูกสุนัขเลียที่ตา ริมฝีปาก น้ำลายกระเด็นเข้าตา โดยเซรุ่มจะจะเข้าไปทำลายเชื้อไวรัสในร่างกายของผู้ที่ถูกสุนัขบ้ากัด การฉีดจะฉีดรอบ ๆ แผลก่อนที่จะก่อโรค และก่อนที่ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น

แต่ทั้งนี้ เซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามีราคาแพงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ทำมาจากเลือดคน ดังนั้นสถานเสาวภาจึงได้ดำเนินการผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจาดเลือด ม้า และศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ได้ผลิตเซรุ่มป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าจากเลือดคน เพื่อใช้เองภายในประเทศ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า

ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่ มีข้อสงสัย ติดต่อได้ที่ กองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์ โทร. (02) 653-4444 ต่อ 4141, 4142, 4117

อ่านต่อ “บทความดีๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก : health.kapook.comwww.springnews.co.th