อย่าปล่อยให้การพาลูกออกกำลังกาย ต้องเป็นติด 6 โรคจากสระว่ายน้ำ … จะมีโรคอะไรบ้างนั้นไปดูกันค่ะ
กิจกรรมที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่เลือกที่จะพาลูก ๆ ไปทำทุกครั้งที่มีเวลา หรือวันหยุดเสาร์อาทิตย์คงหนีไม่พ้น การพาลูกไปว่ายน้ำ เพราะการว่ายน้ำถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่สามารถออกกำลังกายได้ครบทุกส่วน แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากการออกกำลังกายนั้น ทำให้ลูกติด โรคจากสระว่ายน้ำ!!
นายแพทย์ประวิตร พิศาลบุตร จากเพจหมอชาวบ้านได้ออกมาเปิดเผยถึงเรื่องนี้ว่า โรคจากสระว่ายน้ำนอกเหนือจากโรคระบบทางเดินหายใจแล้ว ยังสามารถพบเห็นได้ว่ามีการป่วยเป็นโรคผิวหนังได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะมีโรคอะไรบ้างนั้น ไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
6 โรคจากสระว่ายน้ำ ที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง!
- โรคด่างแดด – หากคุณพ่อคุณแม่พบเห็นว่า ลูกมีรอยด่างบริเวณใบหน้าภายหลังจากที่ว่ายน้ำเสร็จนั้น ทราบหรือไม่คะว่า รอยด่างที่เกิดนั้นเกิดจากการที่ลูกได้รับแสงแดดที่ร้อนจัด ทำให้ผิวไม้แดด และถ้าหากโดนแดดจัดนาน ๆ จะทำให้เกิดรอยโรคขรุขระ ที่เรียกกันว่า “แอ็กทินิก เคอราโทซิส (actinic keratosis)”
- ผิวติดเชื้อแบคทีเรีย – โรคนี้เกิดจากการใช้สระน้ำร่วมกันกับคนอื่นค่ะ ทำให้เกิดเป็นตุ่มหนองบริเวณข้อศอก ข้อเข่า เท้า นิ่วมือ หรือข้อนิ้วมือได้
- หูดข้าวสุก – สามารถพบได้บ่อยในเด็ก และถือเป็นโรคจากสระว่ายน้ำ ชนิดหนึ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าระวัง โดยมีสาเหตุอันเนื่องมาจาก การใช้สิ่งของต่าง ๆ ร่วมกัน ผ้าเช็ดตัว เครื่องเล่นในสระว่ายน้ำ เป็นต้น
- หูชั้นนอกอักเสบ – โรคนี้ถือได้ว่าเป็นโรคที่พบบ่อยจากคนที่ชอบว่ายน้ำเลยละค่ะ ซึ่งหูชั้นนอกอักเสบนั้น มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า โรคหูนักว่ายน้ำ เกิดจากการเสียสมดุล เนื่องจากขณะว่ายน้ำนั้น น้ำได้เข้าไปในหู และไปชำระล้างขี้หูซึ่งเป็นกำแพงกันเชื้อโรคตามธรรมชาติออกไป นอกเหนือจากนี้ยังเกิดจากการเอาไม้พันสำลีแยงหูอีกด้วยนะคะ ดังนั้น หากลูก ๆ ของคุณพ่อคุณแม่บ่นว่ามีน้ำอยู่ในหูของพวกเขาละก็ แนะนำให้ลูกกระโดดขึ้นลง แล้วเอียงศีรษะให้หูด้านที่มีน้ำขังอยู่ออกมาแทนค่ะ หรืออาจใช้นิ้วมือกดรูหูเพื่อทำให้เกิดแรงดูด อาจทำให้น้ำไหลออกมาได้ก็ได้นะคะ แต่ถ้าทำแล้วรู้สึกว่าหูยังอื้ออยู่ แนะนำให้ไปพบแพทย์เฉพาะทางหูคอจมูกจะดีที่สุดค่ะ
- โรคท้องร่วง
- โรคตับอักเสบ
ซึ่งทั้งโรคท้องร่วงและโรคตับอักเสบนั้น เกิดจากการที่ลูกเผลอดื่มน้ำในสระเข้าไปนั่นเอง ทางที่ดีแนะนำให้สอนลูกให้รู้จักวิธีการป้องกันโรคเหล่านี้ด้วยการ
-
- ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสระว่ายน้ำ เช่น อาบน้ำทุกครั้งก่อนลง และขึ้นจากสระ
- ระวังอย่าให้น้ำเข้าปาก และระวังอย่าให้สำลักน้ำ
- ไม่พาลูกลงว่ายน้ำขณะที่มีอาการท้องเสียอย่างเด็ดขาด
- เปลี่ยนผ้าอ้อมเด็กเล็กในห้องน้ำเสมอ ห้ามไม่ให้เปลี่ยนที่ขอบสระ
- ล้างก้นลูกเล็ก ก่อนพาลงสระน้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันการเชื้อโรคในสระน้ำ เป็นต้น
ใครบ้างที่มีโอกาสติดเชื้อ
- เด็กเล็ก
- หญิงมีครรภ์
- ผู้ป่วยโรคเอดส์
- ผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ
- ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
คลอรีนในสระไม่ช่วยอะไรเลยหรือ?
คลอรีนสำหรับฆ่าเชื้อโรคในสระว่ายน้ำนั้น จะออกฤทธิ์ได้เต็มที่ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง คลอรีนในปริมาณและความเข้มข้นที่เหมาะสม จะฆ่าเชื้อโรคได้ดีภายในหนึ่งชั่วโมงค่ะ ซึ่งเราก็ไม่มีทางรู้ใช่ไหมละคะว่า สระน้ำที่เราพาลูกไปเล่นน้ำนั้นได้มีการใส่เพิ่มคลอรีนไปเมื่อไร ที่สำคัญมีการตรวจสอบระบบไหลเวียนของน้ำในสระให้อยู่ในสภาพที่ดีและใช้งานได้บ้างหรือไม่
ทำให้เชื้อโรคบางชนิดอย่าง เชื้อคริปโต (Cryptococcus) ที่สามารถทนต่อฤทธิ์ของคลอรีนได้ อาจมีชีวิตอยู่ในนับเป็นหลาย ๆ วันเลยละค่ะ ดังนั้น หากเกิดการแพร่กระจายของเชื้อคริบโตในสระว่ายน้ำแล้ว ก็เป็นการยากที่จะควบคุมการติดเชื้อได้
ขอบคุณที่มา: สสส. และ Bangkok Health
อ่านต่อบทความอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่