AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ อันตรายกับลูกน้อยกว่าที่คิด

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ที่ผ่านมามีการแชร์เรื่องราวของเด็กหญิงซึ่งป่วยเป็น ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คุณแม่ของหนูน้อยสงสารลูกมา เพราะลูกน้อยมีอาการเลือดกำเดาไหล และอาเจียนเป็นเลือด จึงขอความช่วยเหลือขอรับบริจาคเลือดกรุ๊ป A คนเป็นแม่เห็นลูกน้อยทรมาน หัวใจแม่แทบขาด

เมื่อลูกน้อยเป็น ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

ข้อความจากเพจระบุเอาไว้ดังนี้

#แม่แทบขาดใจ…T__T โรคเกร็ดเลือดต่ำ…อันตรายถึงเพียงนี้เชียวหรือ?? (8’ธ.ค.59)

“ใครมีเลือดกรุ๊ป A มาช่วยกันบริจาคให้ลูกหนูด้วยนะคะที่ รพ.กำแพงเพชร”

คุณแม่ [ระบุว่า]… ลูกแม่อย่าเป็นอะไรมากเลย…แม่ใจจะขาดแล้ว…โรคเกร็ดเลือดต่ำ..มันอันตรายถึงเพียงนี้เชียวหรือ??..สงสารลูกจัง..#ใครมีเลือดกรุ๊ป A มาช่วยกันบริจาคให้ลูกหนูด้วยนะคะที่ รพ.กำแพงเพชร น้องเลือดกำเดาไหลไม่หยุดเลยค่ะ..อ้วกออกเป็นเลือดด้วยค่ะ..ตอนนี้หมอให้เลือด..ให้น้ำเกลือ..ให้ยาเสริมเกร็ดเลือดแล้ว..แต่อาการยังทรงๆตัวอยู่เลย..หรือเพื่อนคนไหนพอจะรู้ว่ามีทางรักษาทางอื่นหรือวิธีอื่น..ช่วยบอกช่วยแชร์..หน่อยนะคะขอบคุณค่ะ..สงสารลูกสาวมากๆค่ะ..ขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยคุ้มครองลูกสาวของหนูด้วยนะคะ..สาธุๆๆ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมา คุณแม่ได้อัพเดตข้อมูลอีกครั้ง และขอบคุณทุกๆ คนที่ร่วมกันบริจาคเลือดให้ลูกน้อย และเลือดมีมากเพียงพอต่อความต้องการแล้ว ตอนนี้อาการของหนูน้อยเริ่มดีขึ้น แต่ก็ยังมีเกล็ดเลือดต่ำ ยังคงต้องรักษาต่อไป และคาดว่าอาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ เป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดอาการเลือดออกผิดปกติ บางคนที่เกล็ดเลือดต่ำมาก เมื่อไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจทำให้เลือดออกจนเสียชีวิตได้ สาเหตุของโรคมีหลายอย่าง แต่สามารถรักษาให้หาย และมีชีวิตเป็นปกติได้ เรามาทำความรู้จักกับโรคเกล็ดเลือดต่ำกันค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ทำความรู้จักภาวะเกล็ดเลือดต่ำ” คลิกหน้า 2

ทำความรู้จักภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เกล็ดเลือด เป็นส่วนหนึ่งของเม็ดเลือดแดงที่อยู่ในกระแสเลือด ทำหน้าที่ให้เลือดอยู่ในภาวะปกติ ไม่เกิดเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก โดยจำนวนและหน้าที่ของเกล็ดเลือดต้องปกติ เลือดเป็นของเหลวที่ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย ถ้ามีการฉีกขาดของหลอดเลือด ก็จะมีเลือดออก

ส่วนที่จะช่วยไม่ให้เลือดออกมากมี 4 สิ่ง คือ หลอดเลือด เกล็ดเลือด ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด และเนื้อเยื่อรอบๆ หลอดเลือด เริ่มจากเมื่อหลอดเลือดฉีกขาด หลอดเลือดจะทำการหดตัว หลังจากนั้นเกล็ดเลือดก็จะมาเกาะที่ผิวด้านในของหลอดเลือดที่เสียหาย เหมือนเอาก้อนหิน หรือถุงทรายมาทับตรงที่มีท่อรั่ว หลังจากนั้นเป็นหน้าที่ของปัจจัยการแข็งตัวของเลือด มายาเกร็ดเลือดที่เกาะกันไว้หลวมๆ ให้แน่นขึ้น ประกอบกับเนื้อเยื่อภายนอกหลอดเลือดที่แข็งแรง และทำให้เลือดหยุดไหลในที่สุด

เกล็ดเลือดนั้นสร้างในไขกระดูก และจะมีอายุอยู่ประมาณ 8 – 10 วัน เมื่อเกล็ดเลือดต่ำเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีอาการอะไรเลย แต่เมื่อเกล็ดเลือดต่ำกว่า 150,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร จะมีอาการเลือดออก มักเกิดขึ้นที่ผิวหนัง เป็นจุดเลือดออกแดงๆ คล้ายยุงกัด กดแล้วไม่จางหายไป หรือเป็นจ้ำเลือดตื้นๆ บางคนอาจมีเลือดออกแถวเยื่อบุในปาก เหงือก บางคนมีปัสสาวะเป็นเลือด หรือถ่ายปนเลือด และเมื่อเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20,000 ต่อลูกบาศก์มิลลิเมตร เลือกจะออกได้เองโดยไม่มีบาดแผล

สาเหตุของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

1.สร้างเกล็ดเลือดจากไขกระดูกได้น้อย เนื่องจากการใช้ยาบางชนิดที่ไปกดทับการสร้างเม็ดเลือดที่ไขกระดูก เช่น ยาบำบัดรักษาโรคมะเร็ง หรือมีภาวะไขกระดูกฝ่อ โลหิตจาง ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย

2.เกล็ดเลือดถูกทำลาย เพราะใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด ในเด็กอาจมีการติดเชื้อไวรัสมาก่อน หรือมีประวัติการฉีดวัคซีนบางชนิดมาก่อน ทำให้เกล็ดเลือดถูกบีบไปอยู่ที่ใดที่หนึ่งในร่างกายมากเกินไป

3.เกล็ดเลือดต่ำ เพราะมีน้ำในร่างกายมาก ซึ่งพบในคนที่ได้รับน้ำเกลือ หรือได้รับส่วนประกอบของเลือดในปริมาณมาก เช่น ได้รับเฉพาะเม็ดเลือดแดง หรือเฉพาะเม็ดเลือดขาว แต่ไม่ได้รับเกล็ดเลือดด้วย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ? กับการป้องกัน และดูแล” คลิกหน้า 3

เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ?

เมื่อพบว่าลูกน้อยมีจุดเลือดออกตามตัว มีจ้ำเลือดตามตัว มีเลือดออกทางเยื่อบุช่องปาก ตามไรฟัน หรือถ่านอุจจาระสีดำ คล้ายเส้นผม หรือยางมะตอย ปัสสาวะเป็นเลือด หรือเมื่อมีเลือดออก เลือดหยุดยาก หรือเมื่อถอนฟันแล้วเลือดไหลไม่หยุด ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง ซึม ควรรีบพาไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะอาจจะมีเลือดออกในสมองได้

การป้องกัน และดูแลลูกน้อยเมื่อมีเกร็ดเลือดต่ำ

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำนั้น ไม่สามารถป้องกันได้ และสาเหตุจากการรับประทานยาอาจพบไม่บ่อยนัก แต่ทางที่ดีไม่ควรเลือดซื้อยามารับประทานเอง ควรปรึกษาเภสัชกร เพราะบ่อยครั้งที่หลายคนซื้อยามาโดยไม่จำเป็น เช่น ยาปฏิชีวนะ ซึ่งมีโอกาสทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำตามมาได้

ถ้าลูกน้อยมีเลือดออกให้คุณพ่อ คุณแม่ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้ากอซแห้ง หรือสำลีแห้งกดไว้ เพื่อไม่ให้เลือดไหลออกมาก ถ้ามีเลือดกำเดาไหลให้ก้มหน้าบีบจมูก และหายใจทางปาก แล้วรีบไปพบแพทย์ ถ้าพบว่าลูกน้อยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คุณพ่อ คุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้ ดังนี้

1.ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ และรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ

2.ระวังการกระทบกระแทก หรือเสี่ยงต่อการกระแทกอย่างแรง เช่น

3.ควรเลือกกิจกรรม หรือกีฬาที่ไม่เสี่ยงต่อการหกล้ม หรือเลือดออกง่ายให้ลูกน้อย

4.เลือกของเล่นที่เป็นพลาสติก ไม่แหลมคม และระมัดระวังเฟอร์นิเจอร์ที่มีมุมแหลม เด็กอาจวิ่ง หรือคลานไปชนได้

5.ก่อนทำการรักษา เช่น ฉีดยา ถอนฟัน หรือผ่าตัด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง และแจ้งแพทย์เสมอว่าลูกน้อยมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ

เครดิต: Aey Pussadee, YouLike (คลิปเด็ด), CH7 Social News, ตีแผ่ “โลก” โซเชียล, หาหมอ.com

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ทิชชูเปียก เสี่ยงติดเชื้อในกระแสเลือดจริงหรือ?

เลือดออกขณะตั้งครรภ์ สัญญาณอันตราย บอกอะไร ?

คลอดลูกแล้วประคบร้อนทันที เสี่ยงตกเลือด?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save