Tablet มือถือ คอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เด็กๆ ใช้ โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เพราะมีผลทำให้ลูกสื่อสารช้า มีอาการคล้ายออทิสติก เป็นอันตรายกับดวงตา ไม่ใช่เฉพาะลูกๆ เพียงอย่างเดียว แต่ส่งผลเสียกับคุณพ่อ คุณแม่ด้วยเช่นกัน เพราะรังสีจากหน้าจอส่งผลอันตรายได้
1.ตาแห้ง เพราะไม่กระพริบตา
คุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ เวลาจ้องแท็บเล็ตมักจะลืมกระพริบตา เพราะมัวแต่จ้องเพ่งหน้าจอ ทำให้เกิดอาการตาแห้งได้
2.ผิวกระจกตาเป็นแผล เพราะตาแห้ง
เมื่อปล่อยให้ตาแห้งเป็นเวลานาน และไม่รักษา รีบปรึกษาแพทย์ คุณหมอจะแนะนำให้ลดเวลาที่อยู่หน้าจอลง หยอดน้ำตาเทียม ถ้าอาการหนักมาก ต้องใช้ยากระตุ้นต่อมน้ำตา ให้ผลิตน้ำตามากขึ้น
นพ.ไพศาล ร่วมวิบูลย์สุข ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า สาเหตุเกิดจากการที่ม่านตาขยายไปปิดมุมตาทำให้น้ำในลูกตาไม่สามารถไหลออกผ่านมุมตาได้ จนมีความดันในลูกตาสูงขึ้นมากและสูงอย่างรวดเร็วจนเกิดอาการของต้อหินเฉียบพลันได้ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดตามาก ตาแดง ซึ่งต้องรีบมาพบจักษุแพทย์
3.สายตาสั้น เพราะจ้องใกล้เกินไป
เด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ ถ้าใช้มือถือ แท็บเล็ตมากๆ จะทำให้สายตาสั้นเร็วขึ้น เพราะการใช้แท็บเล็ตเป็นการใช้สายตาระยาใกล้ เด็กที่ใช้ชีวิตข้างนอก วันละ 8 – 10 ชั่วโมง จะสายตาสั้นน้อยกว่าเด็กที่นั่งนิ่งๆ อยู่ในบ้าน การอ่านหนังสือใกล้ๆ ดูทีวีใกล้ๆ และในที่มืด หรือแสงน้อยก็ทำให้สายตาสั้นได้เช่นกัน
4.ติดเชื้อ เพราะใช้คอนแทคเลนส์ตัดแสง
คอนแทคเลนส์ตัดแสงที่ใช้สำหรับแท็บเล็ต มือถือ ไม่เหมาะกับเด็กๆ เพราะยังไม่สามารถดูแลเรื่องความสะอาด และไม่ระมัดระวัง อาจเกิดการติดเชื้อได้
5.ตาเข เพราะบีบตาจ้องหน้าจอ
ถ้าลูกมีอาการตาเข ตาเหล่ ตาส่อน เพราะอ่านหนังสือใกล้ๆ หรือใช้ตาจ้องหน้าจอมากเกินไป ให้รีบไปหาคุณหมอ ใส่แว่นปรับสายตา ให้คุณหมอตรวจว่ามีภาวะกล้ามเนื้อตาบีบตัวมากกว่าปกติหรือไม่
6.สมองไม่พัฒนา เพราะตาขี้เกียจ
ตาขี้เกียจ คืออวัยวะภายในตาไม่พัฒนา มองเห็นไม่ดี ทำให้สมองไม่พัฒนาตาม และตาจะไม่พัฒนาตามอายุ ทำให้ตามัว มองไม่เห็น ส่งผลต่อบุคลิกภาพ และกลายเป็นตาเหล่ได้
ส่งผลทำให้เกิด โรคจอประสาทตาเสื่อม คือ จะมีอาการมองภาพตรงกลางไม่ชัด เกิดการมองภาพบิดเบี้ยวไป เหมือนมีจุดดำบังตรงกลางภาพ และโรคนี้ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ไม่ว่าจะเลสิก หรือแว่นสายตา ก็ช่วยไม่ได้ ยกเว้นแต่แก้ไขก่อนอายุ 8 ขวบ เด็กที่เป็นทั้งสองข้าง น่าสงสารมาก เพราะพบเมื่ออายุ 12 ขวบไปแล้ว และเขาต้องเป็นอย่างนั้นไปตลอดชีวิต ควรจะป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ตั้งแต่ยังเด็กๆ ดีกว่า
7.ติดหน้าจอ เพราะจ้องนานเกินไป
เป็นอาการของ Technology Syndrome คล้ายๆ กับการติดเกมส์ ขาดหน้าจอไม่ได้ และทำให้เวียนหัวได้
อ่านเพื่มเติม “วิธีการรักษาด้วยตัวเอง” คลิกหน้า 2
นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ประจำ รพ.สอยดาว จ.จันทบุรี กล่าวถึงโรคทางสายตาจากการเสพติดเทคโนโลยี หรือเทคโนโลยีซินโดรมว่า การเสพติดคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต เป็นเหตุหนึ่งทำให้เกิดความเครียดและล้าของสายตาได้ อาการเตือนคือแสบตา ตาแห้ง น้ำตาไหล กะพริบตาบ่อย ปวดเมื่อยล้าที่กระบอกตา สายตาพร่า มองเห็นไม่ชัด บางคนมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมด้วย เนื่องจากต้องเพ่งภาพหรือตัวอักษรขนาดเล็กที่อยู่ในจอ ทำให้ม่านตาขยายใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
วิธีรักษาด้วยตัวเอง
1.ให้ลูกน้อยนอนหลับอย่างน้อย 8 – 10 ชั่วโมง
2.ให้ลูกน้อยดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดวงตา
3.ประคบเย็น โดยใช้ผ้าขนหนูพับ 3 ส่วน แช่น้ำเย็น บิดหมาดๆ วางปิดตั้งแต่ขมับทับพาดผ่านดวงตา เว้นสันจมูก ไปถึงขมับอีกข้าง ถ้าเย็นเกินไปให้เอาออก ถ้าหายเย็นให้นำไปแช่น้ำเย็นอีกครั้ง ทำติดต่อกัน 20 นาที พัก 1 นาที วันละ 2 หน จะช่วยลดความเครียด เพิ่มความชุ่มชื้นให้ดวงตา
4.ให้ลูกใช้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็นและปลอดภัย ประมาณ 25 นาที พัก 5 นาที หรือใช้ 30 นาที พัก 10 นาที
5.พาลูกไปเช็คดวงตาปีละหน ป้องกันอาการเสี่ยงและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สายตา
6.ติดฟิล์มกันรอยที่มีคุณภาพดี และมีประสิทธิภาพในการถนอมสายตา ช่วยกรองแสงสีฟ้าออกจากหน้าจอ
7.บำรุงสายตาด้วยอาหารที่มีวิตามินเอ ซี อี เบต้าแคโรทีน และไบโอฟลาโวนอยด์ เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ แครอท, ผักบุ้ง, ตำลึง, ผักคะน้า, มะละกอ, มะม่วงสุก บำรุงและถนอมสายตาได้
อ่านเพิ่มเติม คลิก!! “จากแม่ถึงแม่: หยุดทีวี หยุดแท็บเลต ต้นเหตุลูกพูดช้า”
เครดิต: อ.พญ. แพร์ พงศาเจริญนนท์ จักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจอตาและวุ้นตา คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, mahosot.com, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส