AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

วิธีรับมือโรคหวัดหน้าหนาว ลดลูกเสี่ยงเสียชีวิต

วิธีรับมือโรคหวัดหน้าหนาว

เมื่อใกล้เข้าสู่หน้าหนาว สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ เด็กๆ ที่มีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ตั้งแต่อาการเล็กน้อย เช่น ไข้หวัดหน้าหนาว น้ำมูกไหล คออักเสบ ไซนัสอักเสบ จนถึงอาการรุนแรง เช่น หลอดลมอักเสบ และปอดอักเสบ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

ไข้หวัดหน้าหนาว และโรคปอดอักเสบ

พญ.สมฤดี ชัยวีระวัฒนะ กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111กล่าวว่า การเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจในเด็ก เป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ของโรคติดเชื้อในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ขวบ นั่นก็คือ โรคปอดอักเสบ

โรคปอดอักเสบ หมายถึง โรคที่มีการอักเสบของเนื้อปอด ซึ่งประกอบไปด้วย หลอดลมส่วนปลาย ถุงลม รวมถึงเนื้อเยื่อของปอด เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก และมักจะมีอาการรุนแรงกว่าในผู้ใหญ่ โดยอาการที่พบมักจะมีไข้ ไอ หายใจเร็วหรือหอบ ถ้าเป็นในเด็กเล็กๆ อาจทำให้มีภาวะซีดเขียว หรือหยุดหายใจร่วมด้วย ผู้ป่วยมักจะมีอาการอ่อนเพลีย รับประทานอาหารและน้ำลดลง นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูก เสียงแหบ มีขี้ตา หรือตาอักเสบ ปวดหู เป็นต้น

โรคปอดอักเสบ

ส่วนสาเหตุของปอดอักเสบในเด็ก ในเด็กเล็กมักเกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนเด็กโตพบได้ทั้งการติดเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย หรือบางครั้งอาจมีลักษณะของการติดเชื้อร่วมกัน ทั้งนี้ในช่วงฤดูฝน ฤดูหนาว นอกจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปแล้ว ยังเอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโต และแพร่ระบาดของไวรัสชนิดต่างๆ เช่น Influenza (ไข้หวัดใหญ่), RSV (Respiratory syncytial virus), Parainfluenza เป็นต้น รวมถึงแบคทีเรียชนิดต่างๆ เช่น Streptococcus pneumonia, Haemophilus influenza และ Mycoplasma เป็นต้น ทั้งนี้หากบุตรหลานของท่านมีอาการดังที่กล่าวมา ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจรักษาอย่างเหมาะสม

การป้องกันการติดเชื้อโรคหวัด และโรคปอดอักเสบ ผู้ปกครองควรมีการสอนและดูแลสุขอนามัยเบื้องต้นให้เด็ก เช่น การล้างมือก่อนรับประทานอาหาร การสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อเจ็บป่วย เป็นต้น รวมถึงควรดูแลให้เด็กได้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ หลีกเลี่ยงไม่เข้าไปในแหล่งที่มีการระบาดของโรค และควรมีการตรวจสุขภาพ รับวัคซีนป้องกันโรคให้ครบถ้วนอย่างเหมาะสม เพียงเท่านี้ก็สามารถป้องกันบุตรหลานของเราจากโรคหวัด และโรคปอดอักเสบได้

รับมือและป้องกันหวัดหน้าหนาวให้ลูกน้อย

อ่านต่อ “เตรียมยา รับมือไข้หวัดหน้าหนาวให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 2

เตรียมยา รับมือไข้หวัดหน้าหนาวให้ลูกน้อย

เตรียมยา รับมือไข้หวัดหน้าหนาวให้ลูกน้อย

ยาสามัญประจำบ้านที่คุณพ่อ คุณแม่ควรเตรียมเอาไว้ให้ลูกน้อย เพื่อรับมือและป้องกันโรคที่มากับหน้าหนาว เรามาดูยาที่จำเป็นสำหรับลูกน้อยของเรากันค่ะ

1.เมื่อลูกมีไข้ ตัวร้อน หรือปวดศีรษะ

ควรใช้ยาแอสไพริน หรือพาราเซตามอลสำหรับเด็ก เมื่อรับประทานยาแล้ว ควรดื่มน้ำตามมากๆ จะช่วยให้ยากระจายตัวได้ดี ละลายได้เร็วขึ้น และลดความเป็นกรด ป้องกันการระคายเคืองกระเพาะ ยาจะช่วยระบายความร้อน ลดไข้ ถ้าลูกน้อยตัวร้อนจัด ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว โดยเฉพาะตามลำคอ รักแร้ และข้อพับต่างๆ

ขนาดที่ใช้

เป็นหวัด กินยาอะไร

อ่านต่อ “เตรียมยา รับมือไข้หวัดหน้าหนาวให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 3

ยาสามัญประจำบ้านที่คุณพ่อ คุณแม่ควรเตรียมเอาไว้ให้ลูกน้อย เพื่อรับมือและป้องกันโรคที่มากับหน้าหนาว

2.เมื่อลูกมีไข้ และเป็นหวัด

มีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ให้ใช้ยา พาราเซตามอล คอมปาวนด์น้ำเชื่อมขององค์การเภสัชกรรม แทนพาราเซตามอลแบบธรรมดา โดยให้ขนาดที่เท่ากัน

3.เมื่อลูกมีอาการไอ

ควรใช้ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ขององค์การเภสัชกรรม วันละ 4-6 ครั้ง ห่างกัน 3-4 ชั่วโมง โดยให้ขนาด ดังนี้

ยาสามัญประจำบ้านที่คุณพ่อ คุณแม่ควรเตรียมเอาไว้ให้ลูกน้อย เพื่อรับมือและป้องกันโรคที่มากับหน้าหนาว

อ่านต่อ “เตรียมยา รับมือไข้หวัดหน้าหนาวให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 4

ยาสามัญประจำบ้านที่คุณพ่อ คุณแม่ควรเตรียมเอาไว้ให้ลูกน้อย เพื่อรับมือและป้องกันโรคที่มากับหน้าหนาว

4.เมื่อลูกมีหวัดลงคอ

อาการคือ มีน้ำมูก เสมหะข้นเขียว หรือเหลือง เจ็บคอ ให้ใช้เพนนิซิลลิน หรือแอมพิซิลลิน ชนิดน้ำเชื่อมแห้ง ยาทั้ง 2 ชนิด เป็นยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นเชื้อที่มาแทรกซ้อนโรคหวัด เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้คอ หรือหลอดลม หรือปอด มีอาการอักเสบ เรียกว่าหวัดลงคอ หรือลงปอดนั่นเอง ควรให้ลูกน้อยรับประทานยาตามกำหนดอย่างเคร่งครัด และรับประทานยาติดต่อกันจนหายสนิท ไม่เช่นนั้นเชื้อจะไม่ตาย และอาจจะกลายเป็นโรคดื้อยาได้ในภายหลัง

วิธีการรับประทานคือ เติมน้ำผสมกับยา ต้องเป็นน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว ตามปริมาณที่กำหนด แล้วเขย่าจนเข้ากันดี รับประทานวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง ได้แก่ เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน

ขนาดที่ใช้

สำหรับเด็กโต ถ้าพอกลืนยาเม็ดได้แล้ว อาจใช้ยาชนิดเม็ดของเพนนิซิลลิน หรือ แอมพิซิลลิน ขนาด 125 มิลลิกรัม นอกจากจะรักษาโรคหวัดลงคอแล้ว ยังใช้รักษาแผล ฝี หนอง ตาแดง และหูอักเสบได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง สำหรับลูกน้อยที่มีอาการแพ้ยา อาจทำให้มีผื่นแดง คัน คล้ายเป็นลมพิษ แน่นหน้าอก เหนื่อย หอบ ใจสั่น ควรหยุดรับประทานยาทันที และรีบไปพบแพทย์

ข้อควรระวัง สำหรับลูกน้อยที่มีอาการแพ้ยา

เครดิต: พญ.สมฤดี ชัยวีระวัฒนะ กุมารเวชศาสตร์โรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111, Eduzones

Save