AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

นี่คือผลเสีย! ที่ปล่อยให้ลูก “เล่นมือถือ จ้องสมาร์ทโฟน” เป็นเวลานาน…

แม่โพสต์เฟซบุ๊กเตือน!! ฝากเป็นอุทาหรณ์ สำหรับแม่ๆ ทั้งหลายที่มีลูกเล็กๆ ไม่ควรปล่อยให้ลูกจ้องดู หรือเล่นมือถือ สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานๆ เพราะแสงจากโทรศัพท์ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ อาจส่งผลร้ายต่อดวงตาของลูกได้

ดวงตา ของเด็ก เป็นอวัยวะหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง สำหรับการดูแลก็เช่นเดียวกันกับอวัยวะอื่นๆ หลักใหญ่ๆ ก็คือ ทำ ให้ร่างกายแข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ การจัดสถานที่อ่านหนังสือ หรือทำงาน ให้แสงสว่างเพียงพอสำหรับสายตา จะ ช่วยให้ช่วยถนอมสายตาได้วิธีหนึ่ง และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่จะเกิดเป็นอันตรายต่อเด็ก โดยเฉพาะของเล่นที่มีความแหลมคม เช่น ฉมวก เบ็ด หรือเล่นหนังยาง ซึ่งอาจพุ่งมากระทบตา อาจทำให้ตาบอดได้ หรือแสงสีฟ้าจากโทรทัศน์ และโทรศัพท์มือถือ ซึ่งก็อาจส่งผลเสียต่อดวงตาของลูกได้ถ้าเล่นเป็นเวลานาน ๆ

อุทาหรณ์! แม่เตือน ไม่ควรให้ ลูกเล่นมือถือ จ้องสมาร์ทโฟน เป็นเวลานาน เสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวตาไม่แข็งแรง

ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟน กลายเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ไปเสียแล้ว แทบจะทุกเพศทุกวัย จะต้องมีสมาร์ทโฟน พกติดตัวอย่างน้อยๆ 1 เครื่อง  และเรื่องราวต่อไปนี้เป็นอุทาหรณ์เตือนใจ ให้กับบรรดาคุณพ่อคุณแม่ ที่มักจะให้ลูก ๆ ของตนเอง เล่นมือถือ รวมทั้งบรรดา ไอแพด ฯลฯ อยู่เป็นประจำ โดยเฉพาะในวัยเด็กไม่กี่ขวบ ที่บางรายจะต้องนั่งเล่นอุปกรณ์เหล่านี้ เป็นเวลานานแทบทุกวัน จะส่งผลร้ายต่อลูกรักของคุณอย่างมหาศาล ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะคาดไม่ถึง

โดยคุณแม่ได้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ Fahsai Winnie ได้ออกมาโพสต์ภาพฝากเป็นอุทาหรณ์ เตือนสำหรับคุณแม่ๆ ทั้งหลายที่มีลูกเล็ก หลังลูกสาววัย 5 ขวบ ต้องเข้าผ่าตัดดวงตา มีเนื้อหาโพสต์ว่า…

เด็กๆ กล้ามเนื้อหัวตายังไม่แข็งแรง ไม่ควรดู สมาร์ทโฟน หรือโทรทัศน์เป็นเวลานานๆ หรือบ่อยๆ ค่ะ เพราะแสงจากโทรศัพท์ ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ ทำลายกล้ามเนื้อหัวตานะคะ ทำให้เด็กๆ ตาเหล่ โดยไม่รู้ตัว ปล่อยไว้นานๆ เด็กๆ จะสูญเสียภาพ 3 มิติ นะคะ บางคนอาจตาบอดได้ค่ะ

แต่ที่สุดคือความสงสารค่ะ เด็กตัวเล็กๆ ต้องโดนวางยาสลบ ต้องโดนมีดผ่าตัดตั้งแต่เด็กๆ พ่อ แม่ ครอบครัวยากจะทำใจ

ยิ่งไปกว่านั้น คือ ค่าใช้จ่ายค่ะ 100,000  บาท ที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ มากกว่านั้นก็ยอม ยังดีที่มีรายได้จากการขายออนไลน์

ตอนนี้น้องวินนี่ออกจากร.พ.แล้วค่ะ ผลการผ่าตัดดีมากค่ะคุณหมอแจ้งค่ะ

ขอบคุณครอบครัว และขอบคุณทุกกำลังใจนะคะ

อ่านต่อ >> โรคตาในเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง” คลิกหน้า 2

 อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ”


ขอบคุณภาพและเรื่องราวจาก : Fahsai Winnie

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ฝากเป็นอุทาหรณ์ สำหรับแม่ๆ ทั้งหลายที่มีลูกเล็กๆ ค่ะ……..เด็กๆ กล้ามเนื้อหัวตายังไม่แข็งแรง ไม่ควรดู สมาร์ทโฟน หรือ…

โพสต์โดย Fahsai Winnie บน 17 ตุลาคม 2017

ทางทีมงาน Amarin Baby & Kids ได้สอบถามเพิ่มเติมไปทางคุณแม่ ได้คำตอบว่า น้องอายุ 5 ขวบ และใช้เวลาดูสมาร์ทโฟน ซึ่งจะดูใกล้ และดูบ่อยมาก ทำให้เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวตาอ่อนแรง

ซึ่งหลังจากทราบอาการจากโรงพยาบาลนั้น คุณหมอได้แจ้งว่าการรักษาทางเดียว คือ การผ่าตัดไม่มีทางอื่น เป็นการผ่าตัดเพื่อดึงกล้ามเนื้อหัวตาทั้งสอง อีกทั้งคุณแม่ ยังกล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของน้องจะเสี่ยงตาไม่ทำงาน ดวงตาจะเหล่ออกด้านนอกไปเรื่อยๆ และน้องอาจจะสูญเสียภาพ 3 มิติไปได้ในที่สุด

เด็กจ้องมือถือนานทำตาเขได้จริงหรือ?

เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุดมีรายงานว่า อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์จากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการโพสต์ชี้แจงถึงเรื่องดังกล่าวผ่านทางเพจ เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ระบุว่า โรคตาเขซ่อนเร้นออกนอก (Exophopia) มักจะเป็นมาตั้งแต่กำเนิด หรือจากสาเหตุอื่นบางประการ ที่ก็ไม่น่าจะใช่การจ้องจอมือถือ

หรือถ้าเกิดขึ้นภายหลัง ก็มักเกิดตามมากับปัญหาสายตาทั้งสองข้างนั้นยาวสั้นไม่เท่ากัน หรือเกิดจากการเป็นโรคอื่น ๆ เช่น มีชักกระตุก มีไข้สูง ตกใจอย่างรุนแรงในเด็ก โรคในจอตา การขุ่นฝ้าบริเวณเยื่อดำ บริเวณแก้วตา หรือมีเลือดออกในวุ้นลูกตา หรือในช่องระหว่างม่านตา

ซึ่งยังรวมไปถึงการให้ลูกไว้ทรงผมหน้าม้าหรือผมเป๋ที่ยาวมาปกปิดตาด้วย หรือการเกิดอุบัติเหตุรุนแรงจนทำให้กล้ามเนื้อตาฉีกขาด ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ได้เกี่ยวอะไรกับแสงจากโทรศัพท์เลย แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรจะให้บุตรหลานเล่นมือถือมากเกินไปในแต่ละวัน

"โรคตาเข ออกนอก เกิดจากการดูมือถือมากไป จริงเหรอ ? … ผมว่าไม่นะ"เรื่องนี้มีคนถามเข้ามาเยอะมาก และโพสต์ต้นทางนั้นก็ถู…

โพสต์โดย อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ บน 17 ตุลาคม 2017

ทั้งนี้ด้าน เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ก็ได้โพสต์ถึงเรื่องราวดังกล่าวเช่นกัน พร้อมทั้งบอกว่า ถ้าเด็กเป็นโรคตาเขเช่นนี้จริง ก็สามารถไปใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาทรักษาได้

ตอนนี้มีข่าวที่คนแชร์กันให้ฮึ่ม เกี่ยวกับคุณแม่ท่านนึงที่ลูกเขามีปัญหาตาเหล่จนสูญเสียการมองเห็นแบบสามมิติ ต้องไปผ่าตัดหม…

โพสต์โดย Drama-addict บน 17 ตุลาคม 2017

ตาสองข้างทำงานร่วมกันได้อย่างไร ? 

ในขณะที่ลูกมีการมองเห็นปกติ ตาทั้งสองข้างจะมองตรงไปยังจุดเดียวกัน หลังจากนั้นสมองก็จะรวมภาพจากตาทั้งสองข้างแปลเป็นภาพสามมิติ ซึ่งการที่มองเห็นเป็นสามมิตินี้เองที่ทำให้สามารถรู้สึกถึงความลึก แต่เมื่อตาข้างหนึ่งเข ภาพซึ่งแตกต่างกันจากตาทั้งสองข้างก็ส่งไปยังสมอง

แต่ในเด็กเล็ก ๆ สมองจะมีการปรับตัวโดยไม่สนใจภาพที่ส่งมาจากตาข้างที่เขนั้นเสีย และมองเห็นเพียงภาพจากตาข้างที่ตรง ทำให้เด็กสูญเสียความสามารถในการบอกความลึก หรือสูญเสียความสามารถในการมองเห็นสามมิตินั่นเอง ส่วนผู้ใหญ่ที่เพิ่งมาเกิดตาเข มักมีอาการเห็นภาพซ้อน เนื่องจากสมองเคยเรียนรู้ที่จะรับภาพจากตาทั้งสองข้าง และไม่สามารถกดภาพจากตาข้างเขได้แล้ว

การรักษาภาวะตาเขทำได้อย่างไร?

การรักษาภาวะตาเขในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเด็กมีเป้าหมายเพื่อ 1. รักษาสายตาให้มองเห็นชัดเป็นปกติ 2. ทำให้ตาตรง และ 3. ฟื้นฟูการใช้สายตาสองข้างร่วมกัน (เห็นภาพสามมิติ)

นอกจากนี้ในผู้ใหญ่ ยังช่วยแก้ไขอาการปวดล้าตา ขจัดภาพซ้อน และสร้างความมั่นใจกับตนเองในการเข้าสังคม เพิ่มโอกาสในการดำเนินชีวิต อาชีพการงาน ส่งผลให้เศรษฐฐานะของตนเองและครอบครัวดีขึ้น ซึ่งหลังจากที่ตรวจตาเสร็จสมบูรณ์แล้ว จักษุแพทย์จะแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยได้  วิธีรักษาแบ่งเป็นสามวิธีที่สำคัญคือ

1. สวมแว่นสายตา

2. ปิดตาเพื่อรักษาตาขี้เกียจ

3. ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา

ส่วนวิธีอื่น ๆ ได้แก่การสวมแว่นที่มีปริซึม หรือการฝึกกล้ามเนื้อตา เป็นต้น บางรายอาจต้องใช้มากกว่า 1 วิธีเพื่อการรักษาที่ดีที่สุด การเลือกวิธีการรักษา แพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

 

อ่านต่อ >> ปัญหาเกี่ยวกับดวงตาในเด็กที่มักเป็นกัน พร้อมวิธีรักษา” คลิกหน้า 3


ขอบคุฯข้อมูลจาก : www.med.cmu.ac.th , health.kapook.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

โรคตาในเด็กเล็ก ที่พ่อควรรู้!

สำหรับเด็กเล็กๆ ส่วนใหญ่มักเป็นโรคทางกล้ามเนื้อตา เช่น ตาเขเข้า โรคตาขี้เกียจ โดยสามารถพบได้ในวัยก่อนวัยเรียน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรใส่ใจ โดยก่อนอายุ 5 ปี ควรพาลูกไปพบจักษุแพทย์ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรมีแนวทางการดูแลสุขภาพตาของลูกด้วยตนเองไว้บ้าง

วิธีสังเกตสายตาสั้น โดยที่ลูกมองสิ่งของใกล้หรือหยิบของมาติดตา ดูโทรทัศน์ใกล้เกินไป การดูโทรทัศน์ใกล้ๆ ไม่ได้ทำให้สายตาสั้น แต่เป็นสัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าลูกอาจสายตาสั้น เวลาเขียนหนังสือ ลูกก้มลงชิดกระดาษ หรือหรี่ตาเมื่อมองดูอะไร สายตาสั้นหรือยาวสามารถทราบได้จากการพาลูกไปตรวจสายตาตั้งแต่เล็กๆ ไม่ต้องรอให้อ่านออกเขียนได้ และวิธีแก้ไขคือการสวมแว่นตาเพราะปลอดภัยที่สุดสำหรับเด็ก

การรักษาด้วยเลเซอร์ การรักษาความผิดปกติของตาด้วยแสงเลเซอร์ทำได้ในกรณีของการเป็นต้อกระจก สายตาสั้นมากๆ ต้อหินในบางราย แต่ทำได้กับผู้ใหญ่เท่านั้น ซึ่งในเด็กๆ ยังทำไม่ได้ เพราะรูปตาของเด็กยังไม่คงที่ ระดับสายตายังเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เช่น ตอนเล็กๆ อยู่ สายตาอาจยาวแต่อยู่ไปสายตาอาจสั้น การผ่าตัดชนิดนี้ทำได้เมื่อสายตาอยู่ในระดับที่คงที่แล้ว

ซึ่งพบได้ในวัยเด็ก 5-6 ขวบ สาเหตุเกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่สามารถทำงานประสานกันได้ อาจแก้ไขโดยการฝึกกล้ามเนื้อตา หรืออาจใช้แว่นตาช่วย ในบางกรณีอาจต้องใช้วิธีผ่าตัด การรักษาควรเริ่มทันทีที่ทราบว่ามีปัญหาเรื่องตาเหล่ โดยพาไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจเช็คสายตาและวางแผนการรักษาต่อไป

ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครองสังเกตเห็นว่า เด็กอาจมีความผิดปกติของสายตา เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กทั่วๆ ไป ควรจะพาเด็กไปพบจักษุแพทย์ การแก้ไขสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับสายตาแต่เนิ่น ๆ จะช่วยทำให้เด็กสามารถใช้สายตาได้เท่าเทียมกับเด็กอื่น ๆ ซึ่งมีความสำคัญทั้งในด้านสุขภาพทางกายและเกี่ยวกับจิตใจด้วย เนื่องจากมีผลกระทบเพราะความแตกต่างในการรับรู้ทางสายตาจากผู้อื่น

สายตาที่ดีเริ่มมีพัฒนาการขึ้นในวัยเด็ก เมื่อมีสภาพตาตรง การที่เด็กมีตาเขอาจทำให้เกิดสายตาแย่ลง  ที่เรียกว่า amblyopia ในตาข้างที่อ่อนแอกว่า  สมองจะรับรู้เฉพาะภาพที่มาจากตาข้างดี  และไม่สนใจภาพที่มาจากตาข้างที่อ่อนแอกว่า (ข้างที่มี amblyopia) ภาวะนี้เกิดได้ประมาณครึ่งหนึ่งของเด็กตาเข

การรักษาสายตาขี้เกียจ ทำได้โดยการปิดตาข้างที่ดี  เพื่อทำให้ตาข้างที่ขี้เกียจนั้นกลับมาใช้งานได้  หรือมองเห็นดีขึ้นได้  หากตรวจพบสายตาขี้เกียจตั้งแต่เด็กอายุ 2-3 ปี  มักจะรักษาแล้วได้ผลดี  การปิดตาเพื่อรักษาสายตาขี้เกียจจะประสบผลสำเร็จมากที่สุดเมื่อเด็กอยู่ในวัยก่อนเข้าเรียน  หากรักษาล่าช้า   สายตาขี้เกียจนั้นมักเป็นถาวร  ถือเป็นกฎว่า “ยิ่งรักษาสายตาขี้เกียจเร็วเท่าไร  สายตาก็จะกลับคืนมาดีมากเท่านั้น

วิธีสังเกตความผิดปกติของตาลูก

สถานที่พาลูกน้อยไปตรวจตา

สถานที่ตรวจตาสำหรับเด็กเล็กๆ ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐที่มีความชำนาญเรื่องกล้ามเนื้อตาและโรคตาเด็ก ถ้ามีออทอปติสซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกล้ามเนื้อตาก็จะได้รับการดูแลเฉพาะ ทางได้เป็นอย่างดี เช่น โรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย เช่น ศิริราช รามาธิบดี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ราชวิถี พระมงกุฎ จุฬาฯ มหาราช เชียงใหม่ โรงพยาบาลศูนย์นครราชสีมา สำหรับโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง ก็สามารถนำเด็กไปรักษาได้เช่นกัน

 อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ”


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.bangkokhealth.com