ยาอมแก้เจ็บคอ และบรรเทาอาการไอที่ถูกจัดให้เป็นยาอันตราย
ยาอมแก้เจ็บคอ

ยาอมแก้เจ็บคอ และบรรเทาอาการไอที่ถูกจัดให้เป็นยาอันตราย

event
ยาอมแก้เจ็บคอ
ยาอมแก้เจ็บคอ

เมื่อคุณพ่อ คุณแม่และลูกน้อยมีอาการไอ หลายคนจะซื้อ ยาอมแก้เจ็บคอ มาบรรเทาอาการเจ็บคอ และไอร่วมด้วย ตามร้านขายยา ร้านค้าทั่วไป มักวางยาอมไว้ในที่ๆ สะดวกในการหยิบได้ตามใจชอบ คุณพ่อ คุณแม่คงเคยลองอ่านฉลากยา แล้วรู้หรือไม่ว่ายาอมบางชนิดเป็นอันตราย

คนไทยเสียชีวิตจากการดื้อยาปีละกว่า 3 หมื่นคน เพราะใช้ยาต้านแบคทีเรียเกินจำเป็น และเด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงมากที่สุด เพราะพ่อแม่ใช้เพื่อการรักษาผิดประเภท

ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า พบคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยา 88,000 คน และเสียชีวิตอย่างน้อยปีละ 20,000-38,000 คน เพราะการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมตามท้องตลาด โดยพบว่ายาอมไม่ควรมีส่วนผสมของยาต้านเชื้อแบคทีเรีย เพราะ 80% ของการเจ็บคอไม่ได้เกิดจากเชื้อดังกล่าว อาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาในลำไส้

banner300x250

นพ.พิสนธ์ จงตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ยาอมแก้เจ็บคอมีการผสมสารปฏิชีวินะ 2 ประเภท คือ นีโอมัยซิน และเบซิทราซิน ในปริมาณไม่มาก ทำให้ไม่เพียงพอในการฆ่าเชื้อ แต่กลับทำให้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เกิดการต่อต้านและกลายพันธุ์เป็นแบคทีเรียดื้อยา ส่วนที่อมแล้วรู้สึกดีขึ้น เพราะมียาชา

ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า กำลังพิจารณาถอนทะเบียนยาที่มีมากกว่า 10 รายการ โดยอยู่ระหว่างการหาข้อมูลทางวิชาการมาประกอบการพิจารณาให้มากเพียงพอ ขณะนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์ก้าวหน้า ทำให้ทราบว่ายาอมมีความไม่เหมาะสม และทำให้มีโอกาสดื้อยา

รศ.พญ.ดร.วารุณี พรรณพานิช วานเดอพิทท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า เด็กเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อดื้อยาสูงสุด เพราะเด็กมีภูมิคุ้มกันที่พัฒนาได้ไม่เต็มที่ ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่พ่อแม่ไม่รู้วิธีรักษาเบื้องต้น จึงให้ยาเพราะความเข้าใจผิด

ยาอมแก้เจ็บคอ
บัญชียาอันตราย

อ่านต่อ “ส่วนประกอบของยาอม และวิธีใช้ยา” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up