คำถามนี้คุณพ่อคุณแม่คงเคยสงสัย เมื่อ ลูกเป็นไข้หวัด ถ้าไม่รับประทานยา แล้วลูกน้อยจะหายได้มั้ยนะ? เพราะยาถ้ารับประทานมากเกินไปก็อาจจะให้โทษมากกว่าส่งผลดีได้เช่นกัน ยาบางอย่างจำเป็นต้องรับประทานต่อเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น เช่น ยาลดไข้ รับประทานเมื่อมีไข้
1.ยาลดไข้ แก้ปวด เช่น พาราเซตามอล รับประทานเฉพาะเมื่อเป็นไข้หรือปวดศีรษะ ถ้าไม่มีไข้ ไม่ปวดหัว ไม่ต้องรับประทาน ห้ามใช้แอสไพรินในเด็กที่เป็นไข้หวัดอย่างเด็ดขาด เพราะอาจเกิดการแทรกซ้อนรุนแรง
3.ยาปฏิชีวนะ มักเรียกผิดว่าเป็นยาแก้อักเสบ ยาปฏิชีวนะเป็นยาอันตราย และมีการใช้อย่างผิดๆ โดยเฉพาะในโรคหวัดเจ็บคอ เช่น เพนนิซิลลิน อะม็อกซีซิลลิน
อ่านต่อ “ยาแก้อักเสบ กับยาปฏิชีวนะ เหมือนกันหรือไม่?” คลิกหน้า 2
ยาแก้อักเสบ กับยาปฏิชีวนะ เหมือนกันหรือไม่?
- ยาแก้อักเสบ คือ ยาต้านการอักเสบ มีฤทธิ์ลดไข้ แก้ปวด ลดบวมอักเสบ ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน
- ยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่มีฤทธิ์แก้อักเสบโดยตรง เช่น เพนนิซิลลิน อะม็อกซีซิลลิน
อ่านต่อ “เมื่อเป็นไข้หวัด จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะหรือไม่?” คลิกหน้า 3
เมื่อเป็นไข้หวัด เจ็บคอ จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะทุกครั้งหรือไม่?
1.เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ)
2.เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ)
เด็กที่เป็นหวัดเจ็บคอส่วนใหญ่เป็นเพราะติดเชื้อไวรัส การกินยาปฏิชีวนะจึงไม่ทำให้หายป่วย เพราะยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อไวรัสไม่ได้ และยังมีโอกาสเสี่ยงอันตรายจากผลข้างเคียงของยาต่อร่างกายด้วย
1.เจ็บคอจากการติดเชื้อ “แบคทีเรีย”
อาการ: ส่วนใหญ่ไม่มีอาการไอ และมักไม่มีน้ำมูก ลิ้นไก่บวมแดง มีจุดหนองที่ต่อมทอนซิล ทอนซิลบวมแดง คอแดง มีฝ้าสีเทาที่ลิ้นเป็นบริเวณกว้าง
วิธีรักษา: ปรึกษาเภสัชกรหรือไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าควรใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่
2.เจ็บคอจากการติดเชื้อ “ไวรัส”
อาการ: ส่วนใหญ่มักมีน้ำมูกและไอ อาจมีเสียงแหบ และเจ็บคอร่วมด้วย ทอนซิลบวมแดง คอแดง
วิธีรักษา: หายเองได้ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย การพักผ่อนและกลั้วคอด้วยน้ำเกลือจะช่วยให้หายเร็วขึ้น
อ่านต่อ “หวัดเจ็บคอจากเชื้อไวรัส หายเองได้จริงหรือ?” คลิกหน้า 4
หวัดเจ็บคอจากเชื้อไวรัส หายเองได้จริงหรือ?
ไม่ เพราะการมีน้ำมูกหรือเสมหะข้นและเป็นสีเหลืองหรือเขียว ไม่ได้แปลว่าเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย โรคหวัดในระยะใกล้หาย จะมีอาการดีขึ้น น้ำมูกจะลดลง อาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียวโดยเฉพาะในตอนเช้า ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นลักษณะอาการของโรคหวัดตามปกติ คนที่เป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มักจะไอนานเป็นสัปดาห์ และมีเสมหะสีเขียวเหลืองได้ จึงไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะทุกครั้งไป
อ่านต่อ “กินยาปฏิชีวนะ “เผื่อ” ไว้ก่อน ไม่ดีหรือ?” คลิกหน้า 5
กินยาปฏิชีวนะ “เผื่อ” ไว้ก่อน ไม่ดีหรือ?
ผู้ที่แพ้ยาอาจมีผื่นขึ้น ถ้าแพ้ยารุนแรงอาจทำให้หายใจไม่ออก ผิวหนังหลุดลอกทั่วตัว เม็ดเลือดแดงแตก ตับอักเสบ เป็นต้น กล่องยาปฏิชีวนะ จะเห็นคำเตือนว่าเป็น “ยาอันตราย” ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้ และอาจเป็นอันตรายถึงตายได้
1.ใช้ยาเท่าที่จำเป็น ไม่ใช้ยาอย่างพร่ำเพรื่อ
2.ถ้าเคยแพ้ยา ควรจำชื่อยานั้นให้ได้ หรือจดชื่อยาพกไว้กับตัว
3.บอกแพทย์หรือเภสัชกรว่าแพ้ยานี้ เมื่อไปรับการรักษาทุกครั้ง
4.ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาจะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแพ้ยาได้
เชื้อดื้อยา คืออะไร?
ทุกครั้งที่กินยาปฏิชีวนะ เชื้อแบคทีเรียที่อ่อนแอจะตายไป ส่วนที่เหลือก็จะมีการกลายพันธุ์ หรือทนต่อยาปฏิชีวนะ เรียกว่า เชื้อดื้อยา แปลว่ายาปฏิชีวนะชนิดนี้ใช้กับแบคทีเรียเหล่านี้ไม่ได้ผลอีกต่อไปแล้ว ทำให้เราต้องเปลี่ยนไปใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใหม่ มักมีอันตรายมากกว่าและมีราคาแพงกว่ายาเดิม คนที่กินยาปฏิชีวนะบ่อยเกินไป เชื้อโรคก็เริ่มปรับตัวสู้กับยา