AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

โรคหัดระบาด!! ตายแล้ว 23 ราย รีบพาลูกฉีดวัคซีน

โรคหัดระบาด

สถานการณ์ โรคหัดระบาด ในปี 2561 ที่ผ่านมา พบว่ามีการระบาดมากถึง 3,590 ราย เสียชีวิต 23 ราย ทำให้ในปีนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มวัคซีนป้องกันโรคหัดสำรองไว้กว่า 1.4 แสนโด๊ส เพื่อเตรียมตอบโต้หากเกิดการระบาดขึ้น โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง

โรคหัดระบาด!! ตายแล้ว 23 ราย รีบพาลูกฉีดวัคซีน

วันที่ 4 มี.ค. 2562 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึง กรณีที่มีรายงานข่าวว่าในปี 2561 ที่ผ่านมาพบผู้ป่วยโรคหัดเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ นั้น โดยในประเทศไทยพบว่าในปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันโรคหัดทั่วระเทศ 3,590 ราย และพบผู้เสียชีวิต 23 ราย ซึ่งตั้งแต่ปี 2527 ประเทศไทยได้บรรจุวัคซีนป้องกันโรคหัดเข้าเป็นวัคซีนบังคับที่จำเป็นต้องให้กับเด็กทุกคน เพื่อรองรับการระบาดของโรคหัดที่เกิดขึ้น โดยมีมาตรการเร่งรัดการกำจัดโรคหัด 5 มาตรการ ดังนี้

  1. เพิ่มและรักษาระดับความครอบคลุมการได้รับวัคซีน
  2. เร่งรัดการเฝ้าระวังโรคและการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการ
  3. เสริมสร้างความเข้มแข็งของการสอบสวนและควบคุมโรค
  4. รณรงค์ให้วัคซีนโรคหัด
  5. ตอบโต้การระบาดอย่างเต็มที่
วัคซีนป้องกันโรคหัด สามารถฉีดได้ตั้งแต่วัย 9-12 เดือน

นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า พบว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดการระบาดของโรคหัดในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กนักเรียนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัด ประกอบกับเด็กจำนวนมากมีภาวะทุพโภชนาการ ทำให้เด็กมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงเนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนี้ ยังพบผู้ป่วยในประชากรกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดอื่น ๆ เช่น เด็กต่างด้าวที่เข้ามาอาศัยอยู่ในจังหวัดที่ติดชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน และกลุ่มผู้ใหญ่ที่อยู่รวมกันเป็นคนหมู่มากตามสถานประกอบการ ค่ายทหาร เรือนจำ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อกำจัดโรคหัดให้ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในปี 2562 กรมควบคุมโรคได้เพิ่มจำนวนวัคซีนสำรองเพื่อตอบโต้การระบาดเป็น 141,200 โด๊ส เพื่อสนับสนุนพื้นที่ที่เกิดการระบาดโดยเร็ว และยังจัดสรรงบประมาณเพื่อรณรงค์ให้เด็กในวัย 1-12 ปี รับวัคซีนป้องกันโรคหัด

โรคหัด เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส ที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการให้บริการวัคซีนป้องกันโรคหัดแก่เด็ก จำนวน 2 ครั้ง เมื่ออายุ 9 เดือน และ 2 ปีครึ่ง ซึ่งผู้ปกครองสามารถพาบุตรหลานไปขอรับวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวได้ตามสถานบริการสาธารณสุขของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ขอบคุณข่าวจาก : https://workpointnews.com

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ โรคหัดระบาด ไม่ใช่เรื่องเล็ก!! พาลูกมารับวัคซีนป้องกันโรคหัดกันเถอะ!!

โรคหัดระบาด ไม่ใช่เรื่องเล็ก!! พาลูกมารับวัคซีนป้องกันโรคหัดกันเถอะ!!

วัคซีนโรคหัดคืออะไร?

วัคซีนโรคหัดเป็นวัคซีนที่ใช้เชื้อหัดที่ยังมีชีวิตอยู่แต่อ่อนแอลง และไม่ได้ทำจากหมู ซึ่งเจ้าเชื้อหัดนี้ สามารถแบ่งตัวในคนทั่วไปได้เหมือนเชื้อหัดปกติทั่วไป เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายแล้ว ร่างกายจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน ให้หลั่งภูมิคุ้มกันออกมาต่อสู้เชื้อที่อ่อนแอลงเหล่านี้ ซึ่งภูมิคุ้มกันที่หลั่งออกมานี้สามารถป้องกันการติดเชื้อหัดตัวเต็มได้หากมีการติดเชื้อในอนาคต โดยวัคซีนโรคหัดนี้ ถูกนำมารวมกับวัคซีนคางทูมและหัดเยอรมัน เกิดเป็นวัคซีน MMR (measles-mumps-rubella) วัคซีน MMR จะฉีดเข้าที่ไขมันใต้ผิวหนังจำนวน 2 ครั้ง การฉีดครั้งแรกสามารถกระตุ้นภูมิของหัดและหัดเยอรมันได้ในผู้ฉีดมากกว่า 95% และการฉีดครั้งที่ 2 จะช่วยให้ผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการฉีดครั้งแรกได้ดีพอ สามารถสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่ม และจะเป็นการช่วยส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ที่มีภูมิแล้ว

วัคซีนโรคหัด ควรฉีดเมื่อไหร่?

ควรฉีดเข็มแรก เมื่ออายุ 9-12 เดือน และควรฉีดครั้งที่สอง เมื่ออายุ 2 ขวบครึ่ง ในกรณีที่มีการระบาด สามารถฉีดเข็มแรกได้ในอายุ 6 เดือนขึ้นไป และหากได้รับวัคซีน MMR เข็มแรกก่อนอายุ 9 เดือนกรณีเข็มแรกได้ก่อน 9 เดือน ให้ฉีดเข็มสองที่อายุ 12 เดือน และเข็มสามอายุ 2.5-4 ปี

โรคหัดระบาด ป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

ผลข้างเคียงของวัคซีน

“ไม่มีหลักฐานที่แสดงว่าวัคซีน MMR จะทำให้เกิดภาวะออทิสติก”  โดยข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีน MMR มีดังต่อไปนี้

ผลข้างเคียงอื่นๆ จากวัคซีนที่พบได้น้อยมาก ๆ ประกอบด้วย

อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงเหล่านี้พบได้น้อยมากขนาดที่นักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าเกิดจากการได้รับวัคซีนจริงหรือไม่

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดนั้น สามารถป้องกันการเป็นโรคได้มากกว่า 95% และยังช่วยลดจำนวน โรคหัดระบาด ในประเทศไทยได้อีกด้วย สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กังวลว่าลูกจะแพ้วัคซีนนั้น ควรอยู่สังเกตอาการลูกที่โรงพยาบาลหรือสถานบริการสาธารณสุข หลังลูกฉีดวัคซีนอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง และคอยสังเกตอาการของลูกที่บ้าน หลังลูกฉีดวัคซีนภายใน 24 ชั่วโมง

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

หมอแนะ! หนาวนี้…หัดในเด็ก ระบาดหนัก พร้อมวิธีสังเกตอาการ

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์A รุนแรงและอันตรายกว่าทุกสายพันธุ์

ฉลาดซื้อชี้! อันตรายจากสาหร่าย ปนเปื้อนสารพิษเกินมาตรฐาน

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมควบคุมโรค, www.honestdocs.co

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids