จากเรื่องราวที่แชร์กันในกลุ่มสาธารณะบน Facebook แหล่งรวบรวมคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้(mom) เกี่ยวกับเด็กทารกชายแรกเกิดที่พึ่งผ่าคลอดเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2559 ที่ผ่านมา น้องป่วยเป็น โรคต่อมน้ำเหลืองในเด็ก จนต้องทำคีโม ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง
โรคต่อมน้ำเหลือง คือภาวะที่ต่อมน้ำเหลืองเกิดการอักเสบ บวม อาจเกิดจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ แล้วส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองเกิดการอักเสบ เช่น ฟันผุส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองที่คออักเสบ วัณโรคที่ต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น
ต่อมน้ำเหลือง มีลักษณะเป็นก้อนเล็กๆ รูปไข่ นุ่ม เคลื่อนที่ได้เล็กน้อย มีขนาดเล็กเป็นมิลลิเมตร ถ้าปกติจะคลำไม่พบ เพราะอยู่ปนกับเนื้อเยื่อไขมัน และเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นสมอง มีหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย โดยเฉพาะเชื้อโรค และสร้างภูมิต้านทานโรคให้ร่างกาย
ต่อมน้ำเหลืองอักเสบเป็นภาวะที่พบบ่อยมาก และพบได้ทุกวัย ตั้งแต่เด็กแรกเกิดถึงผู้สูงอายุ บริเวณที่มักเป็นคือ คอ รักแร้ ขาหนีบ
ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคต่อมน้ำเหลืองได้แก่ ผู้ที่มีแผล อักเสบ ติดเชื้อในอวัยวะต่างๆ มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เช่น เด็กทารก เด็กเล็ก หรือป่วยเป็นมะเร็ง
อ่านต่อ สาเหตุ และอาการของโรคต่อมน้ำเหลือง คลิกหน้า 2
สาเหตุของโรคต่อมน้ำเหลือง
1.เกิดจากการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะต่างๆ ส่งผลต่อต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้อวัยวะส่วนนั้น เช่น
- การอักเสบของช่องปาก และคอจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้มอักเสบ ฟันผุ ต่อมทอนซิลอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองที่อักเสบจะอยู่บริเวณคอ
- ติดเชื้อทางเดินระบบหายใจเพราะเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย เช่น โรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด หัดเยอรมัน ต่อมน้ำเหลืองที่โตคือ บริเวณคอ
- มีการอักเสบ หรือมีแผลที่มือ แขน หน้าอก เต้านม ส่งผลต่อการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้
- โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือมีแผลที่อักเสบของเท้า ขา อวัยวะเพศ ทำให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ
2.เกิดจากการติดเชื้อของต่อมน้ำเหลืองเอง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อรุนแรงต่อเนื่องจนลุกลามมาที่ต่อมน้ำเหลือง มีลักษณะ บวม แดง เจ็บ เป็นหนอง มีการอักเสบ โต เช่น วัณโรคต่อมน้ำเหลือง โรคเอดส์
3.โรคต่อมน้ำเหลืองได้ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ เช่น มะเร็ง ผลข้างเคียงจากยา แพ้ยาบางชนิด ได้แก่ ยากันชัก ยารักษาความดันโลหิตสูง ยาลดกรดยูริคในเลือด ยารักษาโรคเกาต์
อาการของโรคต่อมน้ำเหลือง
1.ต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 1 เซนติเมตร ไม่เจ็บ และโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มักเป็นอาการจากโรคมะเร็ง
2.ต่อมน้ำเหลืองโตหลายต่อม 1-2 เซนติเมตร คล้ายลูกประคำ เป็นอาการจาก วัณโรค โรคเอดส์ เป็นต้น
3.มีแผล หรืออักเสบอวัยวะใกล้เคียง เช่น โรคเหงือก ฟันผุ มีไข้ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอ มีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหวัด โรคหัด ต่อมน้ำเหลืองจะโต บวม แดง เจ็บ เป็นหนอง
อ่านต่อ “การรักษา ดูแล และป้องกันโรคต่อมน้ำเหลือง” คลิกหน้า 3
การรักษาโรคต่อมน้ำเหลือง
การรักษาจะรักษาจากสาเหตุ เช่น หยุดยาที่ทำให้เกิดโรค การรักษาฟันผุ การรักษาแผลต่างๆ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรักษาเชื้อวัณโรค การรักษาโรคมะเร็ง และการรักษาประคับประคองอาการ เช่น ให้ทานยาแก้ปวด ถ้าต่อมน้ำเหลืองอักเสบเป็นหนอง ควรได้รับการผ่าตัด และติดตามการรักษาโดยการดูแลของแพทย์
ยาที่ใช้ในการรักษาชื่อ Diethylcarbamazine citrate (DEC) เป็นยารักษาโรคเท้าช้างมานานกว่า 40 ปี
ผลข้างเคียงของยาคือ อาจทำให้อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ ง่วงนอน เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
ผู้ที่ห้ามกินยานี้ ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน คุณแม่ตั้งครรภ์ และผู้ป่วยเรื้อรัง เช่น โรคตับอักเสบ ไตวาย
การดูแลเมื่อเป็นโรคต่อมน้ำเหลือง
1.รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ทำความสะอาดต่อมน้ำเหลืองส่วนนั้น ไม่คลำบ่อย ไม่เกา เพราะเพิ่มการติดเชื้อ
2.รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และออกกำลังอายตามสมควร ตัดเล็บมือ เล็กเท้าให้สะอาด
3.ดูแลตามสาเหตุของโรค ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ เรื่องการกินยาในเด็กทารก เด็กเล็ก แม่ท้อง
การป้องกันโรคต่อมน้ำเหลือง
1.ดูแลร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน
2.รักษาสุขภาพช่องปากและฟัน พบแพทย์ทุก 6 เดือน หรือตามที่นัด รักษาผิวหนังให้สะอาด ไม่ให้ติดเชื้อ
3.ตัดเล็บอยู่เสมอ และไม่ใช้ยาโดยไม่จำเป็น
เครดิต: แหล่งรวบรวมคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้(mom), หาหมอ.com, โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย
Save