AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy eye) คืออะไร?

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติของเจ้าตัวน้อย พบว่า ตาขวาไม่ขนานกับตาซ้าย ทำให้ลูกต้องเพ่งมองสิ่งต่างๆ มากเป็นพิเศษ นี่คืออาการของ โรคตาขี้เกียจ ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคไม่ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายขาด 100% แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจถึงขั้นตาบอด

โรคตาขี้เกียจ คืออะไร?

โรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy eye หรือ Amblyopia พบได้ประมาณ 3-5 % เกิดจากปัจจัยที่ทำให้ตาข้างนั้นๆ มองเห็นไม่ชัด ช่วง 7 ขวบแรก ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการการมองเห็น ทำให้การรับภาพของตาข้างนั้นลดน้อยลง มีตั้งแต่ขั้นเล็กน้อยจนถึงรุนแรง เมื่อทราบว่าเป็นตาขี้เกียจควรรีบรักษาก่อนอายุ 7 ขวบ

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ

1.เกิดจากเด็กที่เป็นโรคตาเข ตาเหล่อยู่แล้ว เมื่อลูกมีอาการตาเข ตาเหล่ ก็จะเลือกมองภาพข้างเดียว เพื่อไม่ให้เห็นภาพซ้อน ทำให้ตาอีกข้างไม่ได้ใช้งานเกิดการมองเห็นน้อยลง มองไม่ชัดได้ในที่สุด

2.เกิดจากเด็กที่เป็นโรคสายตาสั้น ยาว เอียงที่มากเกินไป หรือไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ถ้าค่าสายตาห่างกันมากๆ จะยิ่งทำให้ตาขี้เกียจพัฒนาขึ้น เช่น ข้างสายสั้น 100 อีกข้างสั้น 800 ก็จะมองเห็นต่างกัน ส่งผลให้ต้องเลือกมองข้างเดียว อาการแบบนี้ควรรีบตัดแว่นตั้งแต่เริ่มเกิดอาการใหม่ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตาขี้เกียจรุนแรง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

3.เกิดจากโรคตาที่ทำให้บดบังการมองเห็น เช่น โรคต้อกระจก หนังตาตก สาเหตุนี้มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด เมื่อการมองเห็นแย่ลงจะถูกปิดกั้นการมองเห็นโดยสิ้นเชิง

4.เกิดจากโรคของจอประสาทตา และประสาทตา

อาการของโรคตาขี้เกียจ

อาการตาขี้เกียจผู้อื่นไม่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติในดวงตาได้ แต่จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เด็กที่เป็นโรคจะเพ่งมองสิ่งต่างๆ มากเป็นพิเศษ หรืออาจจะมองเห็นไม่ค่อยชัดในที่มืด คุณพ่อ คุณแม่สามารถสังเกต โรคตาขี้เกียจในเด็ก ได้จากการเรียนของลูก หรือลูกมีอาการเหม่อ ควรรีบพาไปพบแพทย์

อ่านต่อ “เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ?” คลิกหน้า 2

โรคตาขี้เกียจ เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ?

1.เมื่อมีความผิดปกติ ดังนี้

2.เมื่อถึงอายุวัยที่ควรตรวจ ดังนี้

องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ตรวจตาเพื่อทำการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นดังนี้

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อ” วิธีการรักษาโรคตาขี้เกียจ” คลิกหน้า 3

สำหรับภาวะสายตา สั้น ยาว เอียง นั้นพบบ่อยในวัย 6-18 ปี และจะมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี เนื่องจากหลายปัจจัย เช่น ร่างกายที่เติบโตขึ้น กรรมพันธุ์ สิ่งแวดล้อม และการใช้งาน การแก้ไขสายตาด้วยการใส่แว่นตานั้น ช่วยให้เด็กมีระดับการมองเห็นได้ดีขึ้น แต่อาจมีความจำเป็นมากสำหรับเด็กที่มีภาวะสายตาขี้เกียจ หรือป้องกันภาวะตาขี้เกียจที่อาจเกิดขึ้นได้

การมองเห็นที่ดีส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ของลูกน้อย ถ้าไม่รีบแก้ปัญหา อาจส่งผลให้มีอาการต่างๆ เช่น ปวดตา ปวดศีรษะ มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าสายตา การดูแลลูกน้อยเพื่อป้องกันโรคร้ายทางตาจึงเป็นสิ่งสำคัญ

วิธีการรักษาโรคตาขี้เกียจ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เมื่อตรวจพบว่าลูกเป็นโรคตาขี้เกียจให้รีบรักษาตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะยิ่งรักษาเร็วยิ่งหายเร็ว แต่ถ้ารักษาช้า อาจรักษาไม่หาย

1.สวมแว่นตา หรือใส่คอนแทคเลนส์ วิธีนี้ช่วยให้ตาข้างที่ผิดปกติได้รับการกระตุ้นการมองเห็นให้ใช้งานมากยิ่งขึ้น

2.ผ่าตัด ถ้าลูกมีความผิดปกติ เช่น ต้อกระจก หนังตาตก การผ่าตัดเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด ช่วยให้มองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องกระตุ้นดวงตาข้างที่มีปัญหาร่วมด้วย เพื่อให้ใช้งานได้ปกติมากที่สุด

3.กระตุ้นการใช้งานข้างที่เป็นด้วยตัวเอง เช่น ปิดตาข้างที่ดี ใช้เพียงตาขี้เกียจในการมอง หรือใช้ยาหยอดตาที่ทำให้ตาข้างปกติมัวชั่วคราว จะทำให้ลูกใช้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจมากขึ้น ถ้าลูกโตขึ้นมาหน่อยก็สามารถใช้วิธีบริหารดวงตาด้วยการปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองด้วยตาข้างที่มีปัญหาเป็นประจำ

อ่านต่อ” ออกู๊ด ลูกพ่อเปิ้ลนาคร ป่วยเป็นโรคตาขี้เกียจ” คลิกหน้า 4

จากกรณีลูกชายคนที่ 3 ของพ่อเปิ้ลนาคร “น้องออกู๊ด” ป่วยเป็น โรคตาขี้เกียจ มีค่าสายตายาวถึง 250 คุณหมอแนะนำให้น้องออกู๊ดปิดตามข้างซ้ายที่ปกติ เพื่อให้ตาขวาที่ขี้เกียจได้ขยับ ได้ใช้สายตาบ้าง ก่อนที่จะผ่าตัด เมื่อลูกชายอายุครบ 1 ขวบ คุณหมอยืนยันว่าจะหายได้ 100% 

จากข่าวอัพเดตล่าสุดของน้องออกู๊ด ลูกคนเล็กของพ่อเปิ้ล นาคร ที่เข้ารับการรักษา โรคตาขี้เกียจ โดยการผ่าตัดตาทั้ง 2 ข้าง คุณแม่อัพเดตอาการว่าเรียบร้อย และปลอดภัยดีทุกประการ และขอบคุณทุกกำลังใจที่ทุกคนมอบให้

 

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ปัญหาสายตาในเด็ก ที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

Tablet มือถือ คอมพิวเตอร์ อันตรายเสี่ยงลูกป่วยทางสายตา

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 


เครดิต: ple_nakorn, เดลินิวส์, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, kapok.com