โรคตาขี้เกียจ เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ?
1.เมื่อมีความผิดปกติ ดังนี้
- คลอดก่อนกำหนด
- ผิดปกติทางสมองและพัฒนาการ
- มีโรคประจำตัวที่สัมพันธ์กับตา
- มีความผิดปกติของตาที่สังเกตได้ เช่น มองไม่เห็น หนังตาตก ตาเหล่ ตาสั้น น้ำตาไหล ตาแดง มีจุดขาวกลางตาดำ
- สมาชิกในครอบครัวเคยมีความผิดปกติทางตา
2.เมื่อถึงอายุวัยที่ควรตรวจ ดังนี้
- ครั้งที่ 1 อายุ 3-6 เดือน คุณหมอจะตรวจสอบการตอบสนองทางการมองเห็นว่าปกติหรือไม่ กลอกตาผิดปกติหรือไม่ ตาเหล่หรือไม่ ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยในวัยนี้ ตรวจพบ และรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ดีกว่า
- ครั้งที่ 2 อายุ 3 ขวบ เด็กในวัยนี้สามารถวัดค่าการมองเห็นเป็นค่ามาตรฐานได้เป็นครั้งแรก โรคตาที่พบบ่อยในวัยนี้คือ ตาขี้เกียจ และตาเหล่
- ครั้งที่ 3 อายุ 5-6 ขวบ เด็กวัยนี้เริ่มใช้สายตาเพิ่มขึ้น ควรวัดสายตาว่าจำเป็นต้องใส่แว่นหรือไม่ รวมทั้งถ้าพบโรคตาขี้เกียจจะได้รีบรักษา
- ครั้งต่อๆ ไป ทุกๆ 1- 2 ปี ไปจนถึงอายุ 18 ปี ขึ้นอยู่กับอาการ และความผิดปกติ
องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ตรวจตาเพื่อทำการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นดังนี้
- เด็กคลอดก่อนกำหนด ควรตรวจโรคจอประสาทตาเสื่อม
- เด็กทารก ควรตรวจโรคต้อกระจก ต้อหิน ความผิดปกติส่วนหน้าของตา
- เด็ก 3-5 ขวบ ควรตรวจโรคตาขี้เกียจ ตาเข ภาวะสายตาที่มากและไม่เท่ากัน
- เด็ก 6 ขวบขึ้นไป ควรตรวจโรคสายตาผิดปกติ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่