โรคตาขี้เกียจ ในเด็ก (Lazy eye) คืออะไร? รักษาอย่างไร? - amarinbabyandkids
โรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจในเด็ก (Lazy eye) คืออะไร?

event
โรคตาขี้เกียจ
โรคตาขี้เกียจ

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นความผิดปกติของเจ้าตัวน้อย พบว่า ตาขวาไม่ขนานกับตาซ้าย ทำให้ลูกต้องเพ่งมองสิ่งต่างๆ มากเป็นพิเศษ นี่คืออาการของ โรคตาขี้เกียจ ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคไม่ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายขาด 100% แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษา อาจถึงขั้นตาบอด

โรคตาขี้เกียจ คืออะไร?

โรคตาขี้เกียจ หรือ Lazy eye หรือ Amblyopia พบได้ประมาณ 3-5 % เกิดจากปัจจัยที่ทำให้ตาข้างนั้นๆ มองเห็นไม่ชัด ช่วง 7 ขวบแรก ซึ่งเป็นช่วงที่มีพัฒนาการการมองเห็น ทำให้การรับภาพของตาข้างนั้นลดน้อยลง มีตั้งแต่ขั้นเล็กน้อยจนถึงรุนแรง เมื่อทราบว่าเป็นตาขี้เกียจควรรีบรักษาก่อนอายุ 7 ขวบ

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ

1.เกิดจากเด็กที่เป็นโรคตาเข ตาเหล่อยู่แล้ว เมื่อลูกมีอาการตาเข ตาเหล่ ก็จะเลือกมองภาพข้างเดียว เพื่อไม่ให้เห็นภาพซ้อน ทำให้ตาอีกข้างไม่ได้ใช้งานเกิดการมองเห็นน้อยลง มองไม่ชัดได้ในที่สุด

2.เกิดจากเด็กที่เป็นโรคสายตาสั้น ยาว เอียงที่มากเกินไป หรือไม่เท่ากันทั้ง 2 ข้าง ถ้าค่าสายตาห่างกันมากๆ จะยิ่งทำให้ตาขี้เกียจพัฒนาขึ้น เช่น ข้างสายสั้น 100 อีกข้างสั้น 800 ก็จะมองเห็นต่างกัน ส่งผลให้ต้องเลือกมองข้างเดียว อาการแบบนี้ควรรีบตัดแว่นตั้งแต่เริ่มเกิดอาการใหม่ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ตาขี้เกียจรุนแรง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

3.เกิดจากโรคตาที่ทำให้บดบังการมองเห็น เช่น โรคต้อกระจก หนังตาตก สาเหตุนี้มีความรุนแรงและอันตรายมากที่สุด เมื่อการมองเห็นแย่ลงจะถูกปิดกั้นการมองเห็นโดยสิ้นเชิง

4.เกิดจากโรคของจอประสาทตา และประสาทตา

อาการของโรคตาขี้เกียจ

อาการตาขี้เกียจผู้อื่นไม่สามารถสังเกตเห็นความผิดปกติในดวงตาได้ แต่จะเห็นได้จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เด็กที่เป็นโรคจะเพ่งมองสิ่งต่างๆ มากเป็นพิเศษ หรืออาจจะมองเห็นไม่ค่อยชัดในที่มืด คุณพ่อ คุณแม่สามารถสังเกต โรคตาขี้เกียจในเด็ก ได้จากการเรียนของลูก หรือลูกมีอาการเหม่อ ควรรีบพาไปพบแพทย์โรคตาขี้เกียจในเด็ก

อ่านต่อ “เมื่อไหร่ควรไปหาหมอ?” คลิกหน้า 2

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up